ประกาศผลรางวัลประกวดวีดิทัศน์แอนิเมชั่น ที่ปรึกษาธุรกิจคู่คิดเอสเอ็มอี ประจำปี 2555 นักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง คว้ารางวัลชนะเลิศ

จันทร์ ๐๓ กันยายน ๒๐๑๒ ๑๘:๔๐
โชว์ฝีมือกันสุดเหวี่ยง ทั้งในประเภททีม และประเภทบุคคล ของเหล่าเยาวชนคนเก่ง ไอเดียเจ๋งจากหลากหลายสถาบันฯ ส่งผลงานสร้างสรรค์เข้าร่วมการประกวดวีดิทัศน์ ในรูปแบบแอนิเมชั่น ในหัวข้อ “ที่ปรึกษาธุรกิจคู่คิดเอสเอ็มอี” ซึ่งจัดโดย สำนักพัฒนาหน่วยบริการ-อุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มาถึงบทสรุปผลประกวดการตัดสินและมอบรางวัล ผู้ชนะกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างสรรค์ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ของไทย รวมถึงบุคคลและประชาชนทั่วไป ได้มีความความเข้าใจในบทบาทของที่ปรึกษาธุรกิจ และประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้บริการที่ปรึกษาธุรกิจ ต่อการพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่าในอนาคต

นายพสุ โลหารชุน อธิบดี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า “การจัดโครงการประกวดวีดิทัศน์แอนิเมชันนึ้ขึ้นมา ก็เท่ากับเป็นการพัฒนาด้านอุปสงค์ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้เล็งเห็นความสำคัญในการใช้บริการที่ปรึกษาธุรกิจ อย่างถูกต้อง และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อวิสาหกิจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรง กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทั้งหลาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกิดความเข้าใจในบทบาทของที่ปรึกษาธุรกิจ และได้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้บริการที่ปรึกษาธุรกิจ”

ผลงานวีดิทัศน์แอนิเมชันที่ชนะใจกรรมการตัดสิน รางวัลชนะเลิศ เป็นของ นายศิริพงษ์ สูงกลาง นักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย มาแบบศิลปินเดี่ยวรับทุนการศึกษา 20,000 บาทพร้อมโล่เกียรติคุณ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และ Popular Vote เป็นของ นายอนุชา จูมงคล และเพื่อนๆ อีก 4 คน ได้แก่ นายวัฒนา เทพาลัย นายณัฐพงศ์ อาจศรี นายยุทธนา ไชย์ยนต์ และนายสิรวิทย์ สินธุวงศานนท์ นักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา ในนามกลุ่มศิวาลัย รับเงินรางวัล 6,000 บาทพร้อมโล่ และ Popular Vote อีก 5,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เป็นของ นายธีระวงศ์ สายนาโก ประเภทบุคคล กรุงเทพฯ รับเงินรางวัล 5,000 บาทพร้อมโล่

ทั้งนี้ ทางโครงการฯ ได้คณะกรรมการจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในด้านการผลิตวีดิทัศน์และแอนิเมชัน จำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย รศ. รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม อาจารย์ประจำภาควิชาภาพยนตร์และภาพนิ่ง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอนันต์ จันทร์วาววาม กรรมการผู้จัดการ บริษัท มีคุณอนันต์ จำกัด ในเครือกันตนา และนายธัญลักษณ์ เตชศรีสุธี บรรณาธิการ นิตยสาร Let’s Comic มาเป็นเกียรติร่วมให้คะแนนการตัดสิน จากเยาวชนและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการกว่า 100 ราย ทั่วประเทศ

หลักเกณฑ์การตัดสิน ให้คะแนนจากความสมบูรณ์ในการสื่อความหมาย กระชับ ชัดเจน ครบถ้วนตรงประเด็นเข้าใจและจดจำง่าย ความสามารถในการสร้างอารมณ์ร่วม คล้อยตามกับสิ่งที่สื่อเปลี่ยนทัศนคติของผู้ชมได้ตามที่คาดหวัง ความสามารถในการสร้างความบันเทิง ดึงดูดความสนใจ ความสมบูรณ์ทางเทคนิค คุณภาพของภาพและเสียง และศักยภาพในการเป็น Viral content ถูกนำไปบอกต่อส่งต่อจนเป็นที่กล่าวขาน

ไอเดียการสร้างสรรค์ของเยาวชนไทยวันนี้ เรียกได้ว่า มีความเก่งกาจเฉพาะตัว ไม่แพ้มืออาชีพ ทั้งเข้าถึงและเข้าใจบทบาทที่ปรึกษาธุรกิจ ได้ดีเป็นที่น่าพอใจและหวังว่าประชาชนทั่วไปจะเข้าใจถึงบทบาทของสำนักฯและที่ปรึกษาธุรกิจในการพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมากขึ้น

เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ โดย สำนักพัฒนาหน่วยบริการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

โดยมี บริษัท กู๊ด เน็ตเวิร์ค จำกัด เป็นตัวแทนที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณภาวินี ชนะพลชัย โทร 02-946-8470-2

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ