กรมป่าไม้บูรณาการงานวิจัย นำร่องการศึกษาคาร์บอนเครดิต

อังคาร ๐๔ กันยายน ๒๐๑๒ ๑๑:๒๓
กรมป่าไม้บูรณาการงานวิจัย มอบนโยบายให้หน่วยป้องกันรักษาป่า เป็นผู้ช่วยนักวิจัยในการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นไม้ในป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาวิจัยคาร์บอนเครดิตในเนื้อไม้

นายสุวิทย์ รัตนมณี อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า กรมป่าไม้มีภารกิจในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่สำคัญใน 4 ด้าน คือ การป้องกันปราบปรามผู้กระทำผิดด้านกฎหมายป่าไม้ การฟื้นฟูดูแลทรัพยากรป่าไม้ในรูปแบบต่างๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และส่งเสริมพัฒนางานวิจัย เพื่อต่อยอดและใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการดำเนินงานต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จ

กรมป่าไม้บูรณาการในการดำเนินงานกับหน่วยงานต่างๆในสังกัดกรมฯร่วมกัน เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ ประหยัดเวลา และบุคลากร รวมทั้งช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กับเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่พิทักษ์ของสำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่าที่ปฎิบัติงานอยู่ที่หน่วยป้องกันรักษาป่าทั้ง 491 แห่งทั่วประเทศ จะได้การฝึกอบรมเกี่ยวกับการวัดการเจริญเติบโตของต้นไม้ การจดบันทึกข้อมูล รวมทั้งการศึกษาชนิดไม้ต่างๆ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่อยู่ในการดูแลของกรมป่าไม้ทั้ง 1,221 ป่า โดยทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนักวิจัย ให้กับนักวิชาการของสำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ ซึ่งจะนำข้อมูลในภาคสนามไปวิเคราะห์โดยใช้สมการแอลโลเมตริกที่เหมาะสม เพื่อใช้ประมาณผลผลิตของป่าแต่ละชนิดแต่ละแห่งต่อไป

การดำเนินงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการวัดการเจริญเติบโตของต้นไม้ในป่าสงวนแห่งชาติ ได้ดำเนินการที่หน่วยป้องกันรักษาป่า ที่ ชย. 3 จังหวัดชัยภูมิ เป็นแห่งแรก เพื่อเป็นการนำร่อง ทั้งนี้ สำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้ จะกำหนดเป็นแผนงานในการดำเนินการในปี 2556 โดยให้หน่วยป้องกันรักษาป่าทุกหน่วยได้มีโอกาสมาฝึกอบรมการสำรวจชนิดไม้ การศึกษาการเจริญเติบโต การบันทึกข้อมูล ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนักวิจัยให้กับนักวิชาการของกรมป่าไม้

คาร์บอนเครดิต คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดได้จากการดำเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด หรือ CDM (Clean Development Mechanism) ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นกลไกเพื่อประเทศที่พัฒนาแล้วจะประสบปัญหาในการลดปริมาณก๊าซ สามารถซื้อโควต้าคาร์บอนจากผู้ประกอบการในประเทศกำลังพัฒนาที่มีโครงการพัฒนาที่สะอาดที่เรียกว่า การค้าขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก

CDM และคาร์บอนเครดิต คืออะไร

กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism, CDM) เป็นหนึ่งในสามกลไกภายใต้พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol, KP) ซึ่งเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายระดับนานาชาติซึ่งมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ผลิตขึ้น โดยพิธีสารเกียวโตได้กำหนดกลไกยืดหยุ่นขึ้น 3 กลไกคือ 1. กลไกการทำโครงการร่วม (Joint Implementation: JI) 2. กลไกการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading: ET) 3. กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM)

มีการประเมินว่า สภาพผืนป่าที่สมบูรณ์ 1 เอเคอร์ ( ประมาณ 2.5 ไร่) ต้นไม้สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เก็บไว้ในรูป คาร์บอน ได้ราว 2 ตันคาร์บอน การใช้พลังงานแสงแดด ผลิตกระแสไฟฟ้า 1 หน่วยกิโลวัตต์ - ชั่วโมง แทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สามารถเทียบคำนวณมาเป็นคาร์บอนเครดิต ได้ 0.6 กิโลกรัม

กรมป่าไม้คาดว่าข้อมูลที่สำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า และสำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ ร่วมมือในการดำเนินงานนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลในการประมาณตารางปริมาตรไม้ในป่าธรรมชาติของประเทศ ทำให้สามารถคาดการณ์และวางแผนการดำเนินด้านต่าง ๆ ของกรมป่าไม้และประเทศไทยในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจคาร์บอนเครดิตด้วย อีกทั้งยังเป็นการช่วยในเรื่องการลดโลกร้อนต่อไปในอนาคตได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ