สศอ. ชงแผนอุตฯปิโตรเคมีสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

จันทร์ ๑๗ กันยายน ๒๐๑๒ ๑๔:๐๔
สศอ.เปิดยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เน้นจุดแข็ง เสริมจุดอ่อน พัฒนาระบบเทคโนโลยีการผลิต ยกระดับสู่การผลิตสินค้าที่มีคุณสมบัติพิเศษ ขยายการลงทุนสู่ประเทศเพื่อนบ้าน

นายโสภณ ผลประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวว่า สศอ. ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมาโดยตลอด เพราะถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญมากต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ในปี 2552 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่สามารถทำรายได้ให้กับประเทศไทยถึง 4.64 แสนล้านบาท หรือคิดเทียบเป็น 5.1% ของ GDP อีกทั้งยังถือเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆของประเทศ นับได้ว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็น “อุตสาหกรรมสนับสนุน” ที่ทำหน้าที่ผลิตวัสดุพื้นฐาน เช่น ผลิตเม็ดพลาสติก เส้นใยและยางสังเคราะห์ ฯลฯ เพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร วัสดุก่อสร้าง สิ่งทอ เกษตร เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น

โดยปัจจุบันผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยได้ขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 2 เท่าจาก 15.3 ล้านตันในปี 2546 เป็น 29 ล้านตัน ในปี 2554 และเพื่อให้การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยเป็นไปอย่างยั่งยืน ทั้งในแง่เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการที่ไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่เวทีประชาคมอาเซียน สศอ. จึงได้ศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศ โดยได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ออกมา 4 ประเด็น คือ 1. เพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ฐานการผลิตปิโตรเคมีไทยด้วยการสร้างสมดุลของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 2. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาและการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ตลาดในประเทศ เชื่อมโยงอุตสาหกรรมแปรรูปพลาสติก สนับสนุนการผลิตของอุตสาหกรรมผู้ใช้ปลายทาง และ 4. สนับสนุนการขยายการค้าและการลงทุนปิโตรเคมีไปต่างประเทศ

จากการศึกษาพบว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทยมีจุดแข็งในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ 1. การผลิตที่ครบวงจรตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นปลาย (Intergrated Complex) ก่อให้เกิดการบูรณาการในด้านการผลิตและส่งเสริมความสามารถทางการแข่งขันให้ดีขึ้น เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากการใช้และการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน โลจิสติกส์ และระบบสาธารณูปโภคร่วมกัน 2. มีขนาดการผลิตที่ใหญ่ ทำให้เกิดการประหยัดจากขนาดกำลังการผลิต (Economy of Scale) ทำให้มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ที่มีความได้เปรียบคู่แข่งขันต่างๆ ทั่วโลกและมีความเข้มแข็งในการผลิต 3. โรงงานมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย (Modern Technology) ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 4. ขนาดของตลาดภายในประเทศมีขนาดใหญ่พอที่จะรองรับปริมาณการผลิตจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในประเทศ 5. มีความเข้มแข็งทางการเงิน พร้อมสำหรับขยายการลงทุน เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนสูง ซึ่งบริษัทที่ดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีรายใหญ่เกือบทั้งหมดจะมีความพร้อมทางด้านเงินลงทุนสูงมาก พร้อมสำหรับการขยายการลงทุนในด้านต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรม และ 6. มีก๊าซธรรมชาติสำหรับผลิตปิโตรเคมีที่สามารถแข่งขัน (Competitive) ได้ในภูมิภาคอาเซียน

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยถือได้ว่ามีความได้เปรียบในเชิงของทำเลที่ตั้งซึ่งเป็นศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้สามารถวางตำแหน่งของการเป็นประตูการค้าสู่อินโดจีน และอาเซียนได้ พร้อมกับศักยภาพที่จะสามารถเติบโตไปสู่ตลาดใหญ่อย่างจีนได้ ที่สำคัญคือการขยายตัวของอุตสาหกรรมปลายทางภายในประเทศ ถือเป็นแหล่งรองรับเม็ดพลาสติกที่สำคัญที่นำไปใช้งานร่วมกับผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมปลายทางต่างๆ อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์การเกษตร ล้วนมีผลผลักดันให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี นอกจากนี้การให้ความสำคัญทางด้านการวิจัยและพัฒนาจะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงขึ้น ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต Specialty product รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมผู้ใช้ปลายทางและตลาดส่งออก ซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในระยะต่อไป รวมทั้งการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโรงงาน มุ่งเน้นการประหยัดพลังงาน ลดการปล่อยมลพิษและการรักษาสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนการผลิต สามารถสร้างความเชื่อมั่นและเป็นที่ยอมรับเพื่อให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยพัฒนาไปได้อย่างสมดุลย์ทั้งในแง่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

“บริบทสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน คือการพัฒนาอุตสาหกรรมควบคู่กับการดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อม นั่นหมายถึงการพัฒนาที่มีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน และจะทำให้การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมส่งผลถึงการเติบโตของชุมชนด้วย ทั้งนี้ ทุกฝ่ายต้องร่วมแรงร่วมใจกันพลิกฟื้นพื้นที่อุตสาหกรรมและชุมชนแวดล้อมให้เป็นพื้นที่ที่น่าอยู่ สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยมีการจัดสรรพื้นที่อุตสาหกรรมให้เป็นสัดส่วนอย่างเหมาะสม พัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เร่งฟื้นฟูสภาพแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคอุตสาหกรรมและชุมชนในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย การบริหารความเสี่ยง และการติดตามตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาไปสู่ความเจริญที่ยั่งยืนทั้งชุมชนและอุตสาหกรรม” นายโสภณกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version