สสวท.เสนอผลวิจัยผลิตครูคณิตศาสตร์ร่วมกับนานาชาติ TEDS-M เร่งไทยสร้างครูเก่ง

จันทร์ ๑๗ กันยายน ๒๐๑๒ ๑๖:๔๕
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนทล ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยว่า สสวท. ได้เข้าร่วมวิจัยกับสมาคม IEA (International Association for the Evaluation of Educational Achievement) เพื่อประเมินความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของนักศึกษาปีสุดท้ายของหลักสูตรผลิตครู ตามโครงการ TEDS-M (Teacher Educational Development Study-Mathematics) โดยมี 17 ประเทศที่เข้าร่วมวิจัย ได้แก่ บอสวานา แคนาดา ชิลี จีน-ไทเป จอร์เจีย เยอรมนี มาเลเซีย นอร์เวย์ โอมาน ฟิสิปปินส์ โปแลนด์ รัสเซีย สิงคโปร์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย และสหรัฐอเมริกา

การวิจัยในประเทศไทยได้เก็บข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2551 จากนักศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์ของหลักสูตร 5 ปี และหลักสูตร ป.บัณฑิต จำนวน 1,312 คน ในมหาวิทยาลัย 45 แห่งที่ผลิตครูคณิตศาสตร์

ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า หลักสูตรผลิตครูคณิตศาสตร์ของประเทศที่เข้าร่วมวิจัย แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ 1) หลักสูตรผลิตครูเพื่อสอนคณิตศาสตร์ได้ทุกชั้น เช่น หลักสูตรผลิตครูของประเทศไทย และ 2) หลักสูตรผลิตครูเพื่อสอนคณิตศาสตร์เฉพาะระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา เช่น หลักสูตรผลิตครูของจีน-ไทเป ซึ่งนักศึกษาของ จีน-ไทเป มีคะแนนเฉลี่ยทั้งสองด้านสูงเป็นอันดับหนึ่งทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

ผลการประเมินของประเทศไทยพบว่า 1) ในระดับประถมศึกษา นักศึกษาของหลักสูตรผลิตครูมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในเนื้อหาคณิตศาสตร์และความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ 2) ในระดับมัธยมศึกษา นักศึกษาของหลักสูตรผลิตครูมีคะแนนเฉลี่ยทั้งสองด้านต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ 3) นักศึกษาหลักสูตร ป.บัณฑิต มีคะแนนเฉลี่ยทั้งสองด้านสูงกว่านักศึกษาหลักสูตร 5 ปี ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 4) ผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาของนักศึกษามีผลโดยตรงต่อคะแนนเฉลี่ยทั้งสองด้าน

จากผลการประเมินชี้ให้เห็นว่า ควรใช้หลักสูตรป.บัณฑิตในการผลิตครูคณิตศาสตร์โดยให้นักศึกษาเรียนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (คณิตศาสตร์) 4 ปีและเรียนวิชาการสอนคณิตศาสตร์อีก 1 ปี นอกจากนี้ควรใช้หลักสูตรผลิตครูเพื่อสอนคณิตศาสตร์ที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจนระหว่างระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา เพื่อเตรียมครูให้เชี่ยวชาญทั้งด้านเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนของแต่ละระดับ และควรใช้ผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกนักเรียนที่เรียนดีเข้าเรียนในหลักสูตรผลิตครู

ผลการประเมิน TEDS-M สูงสุดสามอันดับแรก และของประเทศไทย (เทียบกับค่าเฉลี่ยนานาชาติที่ 500 คะแนน)

ระดับ คะแนนเฉลี่ยความรู้ในเนื้อหาคณิตศาสตร์ คะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

ประถมศึกษา จีน-ไทเป 623 สิงคโปร์ 604

โปแลนด์ 614 จีน-ไทเป 592

สิงคโปร์ 600 โปแลนด์ 575

ไทย 528 ไทย 506

มัธยมศึกษา จีน-ไทเป 667 จีน-ไทเป 649

รัสเซีย 594 เยอรมนี 586

สิงคโปร์ 587 รัสเซีย 566

ไทย 478 ไทย 476

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ