นายชาตรี กล่าวว่า “ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา การซื้อขายล่วงหน้า ใน AFET เป็นไปอย่างคึกคัก โดยการปรับตัวของราคาได้รับอิทธิพลจากการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือ QE3 ในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และมาตราการจำกัดปริมาณส่งออกยางพาราทุกชนิดในทุกบริษัทลง 10% โดยใช้ฐานการส่งออกปี 54 (ปริมาณการส่งออก3,414,717,344 ล้านตัน ) ทำให้มียอดสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามามาก ในขณะเดียวกันพ่อค้ายางเร่งรับซื้อผลผลิตจากชาวสวน หนุนให้ราคายางในตลาดจริงปรับตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบอนุมัติเงิน 3 หมื่นล้านบาท เพื่อแทรกแซงราคายางในโครงการพัฒนาสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และยังให้เงินกู้ดอกเบี้ยวต่ำแก่ผู้ประกอบการอีกถึง 1.5 ล้านบาท โดยจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ซึ่งผลของปัจจัยดังกล่าวทำให้ราคายางล่วงหน้าใน AFET ปรับตัวสูงขึ้นทันที ซึ่งสอดคล้องกับราคาในตลาดจริงที่น่าจะขยับตัวและคาดว่าในช่วงเวลานี้ปริมาณการซื้อขายยางจะมีการปรับตัวสอดรับกับปัจจัยในขณะนี้
นับจากนี้ คาดว่าการซื้อขายยาง จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี ตลาดมีแผนที่จะทำตลาดเชิงรุกให้กับนักลงทุนและผู้เกี่ยวข้องกับสินค้าให้เข้าถึงมากขึ้น เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสที่จะเข้ามาลงทุนในการสร้างผลตอบแทนอีกรูปแบบหนึ่ง” นายชาตรี กล่าวในที่สุด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณอิสราพร กิจไพฑูรย์
ฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET)
โทร 0-2263-9888, 0-2251-9535 หรือ www.afet.or.th