กรมการแพทย์เตือนพ่อแม่..ระวังการใช้ยาลดไข้ในเด็ก

จันทร์ ๒๔ กันยายน ๒๐๑๒ ๑๖:๒๗
อากาศเปลี่ยนแปลงอาจเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยในเด็กเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นไข้ ตัวร้อน ซึ่งพ่อแม่และผู้ปกครองส่วนใหญ่มักจะให้ลูกหลานกินยาลดไข้เอง ดังนั้น จึงควรศึกษาข้อมูลเพื่อสามารถเลือกใช้สูตรยาลดไข้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

แพทย์หญิงวิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่าโดยปกติร่างกายของคนเราจะมีอุณหภูมิ 37.5 องศาเซลเซียส เมื่อเด็กมีไข้อุณหภูมิในร่างกายจะสูงกว่าปกติ ควรใช้ปรอทในการวัดไข้ ไม่ควรซื้อยาให้เด็กกินเองเนื่องจากยาลดไข้สำหรับเด็กมีหลากหลายยี่ห้อและหลากหลายชนิด สิ่งที่ควรระวังคือยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ซึ่งอาจให้ผลในช่วงแรกว่าอาการไข้ดีขึ้น แต่ผลเสียคือสเตียรอยด์จะกดภูมิต้านทานของร่างกายทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อราได้ง่าย นอกจากนี้อาจบดบังอาการแสดงของโรคติดเชื้อ เมื่อตรวจพบโรคอาจมีอาการรุนแรง และเป็นสาเหตุทำให้อาการทรุดหนัก จนอาจเสียชีวิตได้ ผู้ปกครองควรสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด เนื่องจากปัจจุบันมีหลายโรคที่เป็นอันตรายและมีอาการแสดงที่คล้ายกัน เช่น โรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก หากผู้ป่วยด้วยโรคในกลุ่มนี้ได้รับสเตียรอยด์หรือแอสไพริน ตัวยาจะไปกระตุ้นให้เด็กเป็นอันตรายมากขึ้น ในกรณีเด็กมีไข้สูงมากกว่า 2 วันร่วมกับอาเจียน หรือหอบ เหนื่อย ซึม กระตุก ควรรีบพาไปพบแพทย์

การเลือกใช้ยาลดไข้ในเด็กควรเลือกตัวยาที่ไม่มีอันตรายและมีผลข้างเคียงน้อยที่สุดเช่น ยาพาราเซตามอลซึ่งมีหลายรูปแบบ คือ ยาน้ำเชื่อมทั่วไปจะมีปริมาณของตัวยาเท่ากับ 120 มิลลิกรัม ต่อ 5 ซีซี หรือ 1 ช้อนชา หรือแบบน้ำเชื่อมชนิดแขวนตะกอนจะมีปริมาณของตัวยาเท่ากับ 120 มิลลิกรัม และ 160 มิลลิกรัมต่อ 5 ซีซี หรือ 1 ช้อนชา ยาน้ำเชื่อมชนิดเข้มข้นประกอบด้วยตัวยาพาราเซตามอล 250 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา ยาน้ำเชื่อมแบบหยดมีปริมาณตัวยาเท่ากับ 10 มิลลิกรัม ต่อ 0.1 ซีซี ยาเม็ดสำหรับเด็กในหนึ่งเม็ดมีปริมาณตัวยาเท่ากับ 325 มิลลิกรัม ขนาดของยาที่ใช้ในเด็กมีความสำคัญมากข้อควรคำนึง 2 ประการคือ อายุ และน้ำหนักตัวเด็ก วิธีที่เหมาะสมและสามารถลดไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ ควรให้เด็กได้รับยาในปริมาณ 10 - 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตัวอย่างคือ เด็กมีน้ำหนัก 10 กิโลกรัมต้องได้รับยาปริมาณ 100 - 150 มิลลิกรัม หากไม่ทราบน้ำหนักควรใช้การคำนวณขนาดยาตามอายุของเด็กเช่น เด็กอายุ 1 — 6 ปีให้ยาพาราเซตามอลแบบน้ำเชื่อม 120 มิลลิกรัม หรือในปริมาณ 1 — 2 ช้อนชาในเด็กโตอาจให้ยาในปริมาณ 500 มิลลิกรัม โดยอาจให้ยาเพียงครึ่งหรือหนึ่งเม็ดคิดตามน้ำหนักและอายุสำหรับเวลาในการให้ยาที่ถูกต้องปลอดภัยคือทุก 4 — 6 ชั่วโมง และภายใน 1 วันไม่ควรให้ยาเกิน 5 ครั้งเพราะจะเป็นอันตรายต่อตับและไต ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กเสียชีวิตได้

พาราเซตามอลเป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้ค่อนข้างช้า อาการไข้จะลดลงภายหลังทานยาประมาณครึ่งชั่วโมง ในช่วงนี้ควรระวังไม่ให้ไข้ขึ้นสูงเพราะอาจเกิดอาการชักได้ จึงควรเช็ดตัวเด็กด้วยน้ำเย็นหรือน้ำธรรมดาโดยเช็ดตามข้อพับและซอกต่าง ๆของร่างกาย เพื่อช่วยระบายความร้อนและลดไข้ หากให้ยาและเช็ดตัวแล้วอาการไข้ยังไม่ลดควรรีบพาไปพบแพทย์

ติดต่อ:

ประชาสัมพันธ์กรมการแพทย์ โทร. 0 25918254

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม