พม. พาแฟนคลับย้อนรอยสังคมไทยตามเส้นทางรอบเกาะรัตนโกสินทร์

พุธ ๒๖ กันยายน ๒๐๑๒ ๐๙:๓๖
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับสถานีวิทยุ อสมท. คลื่นข่าว F.M.๑๐๐.๕ News Network จัดกิจกรรม “พม. ๑๐๐.๕ พาย้อนรอยสังคมไทย ณ เกาะรัตนโกสินทร์” แก่ผู้ติดตามรับฟังรายการวิทยุของกระทรวงฯ จำนวน ๓๐ คน เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในวิถีชีวิต ความเชื่อ ความคิดสร้างสรรค์ และค่านิยมของคนในสังคมไทยแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีนายศุภฤกษ์ หงษ์ภักดี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดงาน ในวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๕ เวลา ๐๗.๔๕ น. ณ อาคาร ๖๐ ปี บริเวณสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี พญาไท กรุงเทพฯ

นายศุภฤกษ์ หงษ์ภักดี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า วิวัฒนาการของโลกและการเปลี่ยนแปลงของสังคมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และค่านิยมที่เหมาะสมก็เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกและสังคมในแต่ละยุคแต่ละสมัย การรู้จักรากเหง้าของสังคมไทยและสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงจะทำให้รอดพ้นจากสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควรได้ การสื่อสารประชาสัมพันธ์กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างค่านิยมที่เหมาะสมกับสังคมไทย การจัดระเบียบสังคม ตลอดจนสร้างความตระหนักและการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อมุ่งสู่ “สังคมคุณภาพ บนพื้นฐานความรับผิดชอบร่วมกัน” เป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่ง ดังนั้น กระทรวงฯจึงได้ร่วมกับบริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) ผลิตและเผยแพร่สปอตวิทยุ แบบอุทาหรณ์ จำนวน ๓ เรื่อง คือ ๑) เปี๊ยก นักเรียนนักเลง ๒) น้อย สาวไซด์ไลน์ และ๓) กลับตัวกลับใจ ช่วยกันดูแลสังคม ออกอากาศทางสถานีวิทยุ คลื่น F.M ๑๐๐.๕ MHz. มาตั้งแต่เดือนกรกฏาคม — กันยายน ๒๕๕๕ และเปิดช่องทางให้ประชาชนผู้รับฟังรายการวิทยุแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองและสังคมให้น่าอยู่ สวยงามทาง SMS และ social media และคัดเลือกผู้ฟังจำนวน ๓๐ ท่านเพื่อเข้าร่วมในกิจกรรมในวันนี้

นายศุภฤกษ์ กล่าวต่อว่า กิจกรรมตลอดทั้งวันนี้ จะพาผู้เข้าร่วมกิจกรรมไปย้อนรอยวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมแต่ยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เข้าใจวิวัฒนาการของสังคมไทย โดยเริ่มจากการไปเยี่ยมชมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระบรมมหาราชวัง ต่อจากนั้นจะย้อนรอยสังคมไทยตามเส้นทางรอบเกาะรัตนโกสินทร์ พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการแนวใหม่ที่มีระบบแสง สี เสียง และผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมได้ที่“มิวเซียมสยาม”ซึ่งตอนนี้มีนิทรรศการที่น่าสนใจ เช่น นิทรรศการ “กินของเน่า” นิทรรศการ“เรื่องหนักหัว”และ“นิทรรศน์รัตนโกสินทร์” ซึ่งเป็น นิทรรศการแนวใหม่ที่เล่าเรื่องราวความเป็นมาของเกาะรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

นายพัชระ สารพิมพา ผู้อำนวยการคลื่นข่าว F.M.๑๐๐.๕ News Network กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางสถานีคลื่นข่าว ได้ส่ง ๒ พิธีกรคู่ขวัญ คือ คุณสุวิช สุทธิประภา และคุณภรภัทร นีลพัธน์ มาพบปะแฟนรายการ เพื่อมอบความสุข ความสนุกสนานเพลิดเพลิน และความประทับใจ จากการย้อนรอยกับคณะ รวมทั้ง เป็นโอกาสอันดีที่ผู้บริหารของกระทรวง พม. และสถานีคลื่นข่าว จะได้พบปะพูดคุยรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างใกล้ชิดในช่วงพักเที่ยงที่ราชนาวีสโมสร

“ขอขอบคุณ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่อนุเคราะห์ให้คณะเข้าชม “มิวเซียมสยาม” และ “นิทรรศน์รัตนโกสินทร์” และขอบคุณแฟนคลับรายการวิทยุ พม. หวังว่าประสบการณ์ความรู้ที่ได้รับจะเป็นประโยชน์และนำไปบอกเล่าต่อกับคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวต่อไป และกระทรวงฯ คงจะมีโอกาสได้จัดกิจกรรมดีๆ เพื่อพี่น้องประชาชนจะได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมเช่นนี้อีกทางหนึ่ง” นายศุภฤกษ์ กล่าวท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ