ก.ไอซีที จับมือ กสทฯ เดินหน้าพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมร่วมกับETL รัฐวิสาหกิจผู้ให้บริการด้าน ICT ในสปป.ลาว

พุธ ๒๖ กันยายน ๒๐๑๒ ๑๖:๑๙
นายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเปิดเผยว่าคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) และหน่วยงานในสังกัด คือ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้เข้าพบและมีการหารือร่วมกับนายประดับเพ็ชร ไชยะโคตร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม (ICT)สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ สปป.ลาว อาทิโครงการความร่วมมือเชื่อมโยงโครงข่ายภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS)โครงการความร่วมมือติดตั้ง Internet Data Center (IDC) รองรับ Cloud Service เพื่อใช้งานทั้งในรูปแบบภาครัฐต่อภาครัฐ (G2G)ภาครัฐต่อภาคธุรกิจ (G2B) และภาคธุรกิจต่อภาคธุรกิจ(B2B) ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของทั้งสองประเทศไม่ว่าจะเป็นด้านการค้าระหว่างประเทศด้านการท่องเที่ยวกระบวนการทางศุลกากร และการเปิดให้ภาคธุรกิจอื่นๆ เข้ามาร่วมใช้บริการ โดยรวมไปถึงด้านเกษตรกรรมที่จะได้มีการนำเทคโนโลยี 2D Barcode ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบบริการตามสอบสินค้าเกษตรให้สามารถบันทึกและจัดเก็บข้อมูลการบริหารจัดการฟาร์มการตามสอบและเรียกคืนสินค้าเพื่อให้คู่ค้าและผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นโดยระบบนี้สามารถตรวจสอบผ่านโทรศัพท์มือถือSmart Phone ด้วยเทคโนโลยี 2D Barcode ได้

“โครงการความร่วมมือดังกล่าว ถือเป็นความพยายามร่วมกันในการเชื่อมโยงโครงข่ายภาคพื้นดินระหว่างประเทศไทยและสปป.ลาวที่จะช่วยพัฒนาให้ทั้งสองประเทศกลายเป็นศูนย์กลางการให้บริการด้านสื่อสารโทรคมนาคมในเขตภูมิภาคอินโดจีนที่มีศักยภาพและมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น โดยในปีที่ผ่านมามีการเชื่อมต่อโครงข่ายแล้ว 3 จุดคือหนองคาย-เวียงจันทน์ มุกดาหาร-สะหวันนะเขต และนครพนม-คำม่วน ส่วนจุดเชื่อมต่อที่ 4คือ เชียงของ-ห้วยทราย อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งภายหลังการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 แล้วเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICTจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมาก เพราะหากมีการเชื่อมโยงการสื่อสารที่ดีก็จะทำให้ประเทศต่างๆ ใน AEC สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลรวมถึงเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้มากขึ้นโดยในอนาคตเราจะไม่ได้มีประชากรเฉพาะแค่ประเทศเดียวเท่านั้น การรวมกันเป็นAEC ทำให้เราต้องมองถึงภาพรวมของประชากรทั้งภูมิภาค ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการร่วมมือกันกระจายข้อมูล และช่องทางการสื่อสารให้กับทุกๆ คนในภูมิภาค ด้วยการยกระดับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดีขึ้นซึ่งในเร็วๆ นี้จะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงนามความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศเพิ่มเติมด้วย“นายณัฐพงศ์ กล่าว

นอกจากติดตามความคืบหน้าโครงการความร่วมมือต่างๆ แล้ว กระทรวงไอซีที และบมจ.กสทฯยังได้มีการร่วมลงนามในสนธิสัญญาความร่วมมือการพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมกับ Enterprise of Telecom Lao (ETL)รัฐวิสาหกิจผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมของสปป.ลาว เพื่อขยายการให้บริการด้านโทรคมนาคมร่วมกันให้มีความเข้มแข็ง ด้วยการใช้เทคโนโลยีมาสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างโอกาสการเจริญเติบโตทางธุรกิจโทรคมนาคมให้กับทั้งสองหน่วยงาน พร้อมกันนี้ ยังได้มีการจัดกิจกรรม CAT-ETL Network show case 2012 ขึ้น ณ นครเวียงจันทน์ สปป.ลาว เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และจัดแสดงศักยภาพของการให้บริการเพื่อสร้างความเข้าใจถึงประโยชน์ของบริการสื่อสารข้อมูลและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้า รวมทั้งผู้ประกอบการที่จะมาลงทุนใน สปป.ลาว

ด้าน น.ท.สมพงษ์โพธิเกษม ที่ปรึกษา รมว.ทก. และกรรมการบริหาร หรือบอร์ด กสทฯ กล่าวว่า ประเทศไทยและสปป.ลาวมีความสัมพันธ์ในฐานะมิตรประเทศกันมาอย่างยาวนาน การเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างประเทศจำเป็นต้องมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน จึงถือเป็นความได้เปรียบของทั้งไทย และสปป.ลาวที่เปรียบเสมือนประเทศคู่แฝดที่พัฒนาก้าวไปข้างหน้าด้วยกันตลอดเวลา

“ความร่วมมือดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านการใช้งานด้านข้อมูล (DATA) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ใช้งานอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์ในด้านข้อมูล มากกว่าการใช้โทรศัพท์ธรรมดา หากมีความร่วมมือดังกล่าวเกิดขึ้น ก็จะก่อให้เกิดการพัฒนาการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างมหาศาล เช่น การใช้งานในเชิงท่องเที่ยว คนจะต้องหาข้อมูลทั้งสถานที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว และแผนที่เส้นทางจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งทั้งไทยและสปป.ลาว ต่างเป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยว และประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจด้วยกันทั้งคู่ การพัฒนาโครงข่ายไปพร้อมๆ กันจะช่วยให้ประชาชนทั้งสองประเทศได้ประโยชน์จากการใช้งานด้านข้อมูลมากขึ้น ขณะที่ภาครัฐก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจึงมิได้มีเพียงแค่ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงภาคธุรกิจอื่นๆ ด้วย เพราะทุกๆ ภาคธุรกิจ ล้วนนำICT มาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ทั้งสิ้น”น.ท.สมพงษ์กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ