สถาบันโรคทรวงอกนำเทคโนโลยีเลาะเส้นเลือดด้วยกล้องวีดิทัศน์ผ่าตัดบายพาสหัวใจ

พฤหัส ๒๗ กันยายน ๒๐๑๒ ๑๘:๓๓
แพทย์คาดการณ์ว่าอีก 10 ปีข้างหน้า คนไทยจะป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเป็นอันดับ 1 ของประเทศ โดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เชิญชวนประชาชนใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดอาหารหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสุรา บุหรี่

แพทย์หญิงวิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่งที่คร่าชีวิตคนไทย จากสถิติพบว่าในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคดังกล่าวรายใหม่เกิดขึ้น 21,700 ราย ต่อปี อัตราเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 12.6 ซึ่งมากกว่าในต่างประเทศถึง 2 เท่า ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ผู้ที่มีโรคประจำตัวป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ อาการที่สามารถสังเกตได้คือ เจ็บแน่นหน้าอกตรงกลางเหมือนมีอะไรหนัก ๆ มากดทับ จนทนไม่ไหว เจ็บร้าวไปบริเวณแขนซ้าย คอ ไหล่ มีเหงื่อออกทั่วร่างกาย ผู้ป่วยต้องรีบไปโรงพยาบาลและได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์พร้อมให้บริการผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมงด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

นายแพทย์เกรียงไกร นามไธสง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานศัลยกรรม สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวว่า การรักษาผู้ป่วยเส้นเลือดหัวใจตีบ จะต้องทำการผ่าตัด-ตัดต่อเส้นเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass graft , CABG) หรือการผ่าตัดบายพาสหัวใจ การรักษาด้วยวิธีบายพาสหัวใจนี้ต้องนำเส้นเลือดดำ ที่ขา หรือ เส้นเลือดแดงที่แขน มาตัดต่อเส้นเลือดหัวใจแทนเส้นเดิม โดยกระบวนการผ่าตัดแบบเดิมต้องเลาะเส้นเลือดและเปิดผิวหนังเป็นแผลยาวตามแนวเส้นเลือดที่ขาประมาณ 60 เซนติเมตรหรือตามความยาวของขา ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดอาจเกิดผลแทรกซ้อน เช่นการติดเชื้อหลังการผ่าตัด เกิดรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ยาวตามขนาดการผ่าตัดเลาะเส้นเลือด สถาบันโรคทรวงอกได้ทำการพัฒนาวิธีการเลาะเส้นเลือดและเปิดผิวหนัง ด้วยการผ่าตัดเลาะเส้นเลือดด้วยกล้องวีดิทัศน์และเครื่องมือพิเศษ วิธีนี้ผู้ป่วยจะมีแผลจากการเลาะเส้นเลือดเท่ากับขนาดของกล้องวีดิทัศน์ โดยจะเปิดแผลประมาณ 2 - 3เซนติเมตร ที่ขาบริเวณใต้เข่าหรือที่แขนบริเวณข้อมือ แล้วสอดเครื่องมือพิเศษพร้อมกล้องเข้าไปเลาะแยกเส้นเลือดออกจากเนื้อเยื่อรอบๆ โดยใส่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปภายในช่องที่ต้องการเลาะเส้นเลือด ก่อให้เกิดแรงดันและโพรงรอบๆเส้นเลือด จากนั้นใช้เครื่องมือตัดเส้นเลือดแขนงและจี้หยุดเลือดตามแนวเส้นเลือดจนหมด จึงตัดและดึงเส้นเลือดออกมาได้ทันที หลังการผ่าตัดเลาะเส้นเลือดด้วยกล้องวีดิทัศน์ ผู้ป่วยจะมีบาดแผลเพียงตำแหน่งที่ใส่กล้องขนาด 2-3 เซนติเมตร และตำแหน่งที่ตัดเส้นเลือดอีก 2-3 มิลลิเมตร เท่านั้น การผ่าตัดเลาะเส้นเลือดด้วยกล้องวีดิทัศน์นี้สามารถทำพร้อมกับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ และใช้วิธีการนี้ได้กับผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจได้ทุกราย โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่บาดแผลรักษาหายยาก เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน การเลาะเส้นเลือดด้วยกล้องวีดิทัศน์นี้ ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจได้รับความปลอดภัยสูง ลดผลการแทรกซ้อนจากแผลเลาะเส้นเลือด แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กรักษาหายเร็ว สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหัวใจให้กลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุข การผ่าตัดวิธีนี้ต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่มีราคาสูงและศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญ ผู้สนใจต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สถาบันโรคทรวงอก นนทบุรี โทรศัพท์ 0-2580-3423 หรือ www.cdi.thaigov.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย
๑๕:๓๘ MediaTek เปิดตัว Dimensity 8400 ชิป All Big Core รุ่นแรกสำหรับสมาร์ทโฟนพรีเมียม
๑๕:๕๔ เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย
๑๕:๒๕ สุรพงษ์ ส่งมอบความสุข ขยายเวลาให้บริการสายสีแดง ถึง ตี 2 ในคืนเคานต์ดาวน์ เป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน
๑๕:๐๗ เอ็นไอเอคัด 8 ผู้ประกอบการไทยสายการแพทย์ - สุขภาพ คว้าโอกาสบุกตลาดเยอรมนี - ยุโรป พร้อมโชว์จุดแข็งในงาน Medica 2024 ตอกย้ำไทย
๑๕:๒๖ EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AA ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
๑๕:๕๖ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ แมกซ์ โซลูชัน ส่งมอบความสุขและความอุ่นใจ ต้อนรับเทศกาลปีใหม่แก่สมาชิก Max Card ผ่าน กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
๑๕:๔๘ แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย
๑๕:๓๒ ซีเอ็มเอ็มยู มุ่งผลิตบุคลากรชั้นนำผ่านนวัตกรรมการศึกษาและงานวิจัยระดับโลก พร้อมจุดประกายภาคเศรษฐกิจ - สังคม เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้สู่ พาร์ทเนอร์การเรียนรู้