เชียงใหม่โชว์ปลาไหลผี-ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์สู้จระเข้ได้

พฤหัส ๐๔ ตุลาคม ๒๐๑๒ ๑๖:๑๑
นายนิพนธ์ วิชัยรัตน์ ผู้ช่วยผอ.สวนสัตว์เชียงใหม่ นายโรจน์ธุวนลิน ประธานเชียงใหม่ ซู อควาเรียม นายนฤทัต เจริญเศรษฐศิลป์ รองประธานเชียใหม่ ซู อควาเรียม ได้ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวปลาไหลผี หรือปลาไหล อะบาอะบา , ปลาดุกไฟฟ้า และ ปลาไหลไฟฟ้า ที่สามารถสู้กับจระเข้ได้อย่างสบาย โดยได้นำปลาทั้ง 3 ชนิดนำมาจัดแสดงโชว์ จุดส่วนจัดแสดงตู้ปลานานาชนิดชั้นสองของอควาเรียม เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชมวิถีชีวิตของสัตว์น้ำ หรือปลาที่มีความดุร้าย และกิน เนื้อเป็นอาหาร ของประเภทน้ำจืด

นายโรจน์ ธุวนลิน ประธานเชียงใหม่ ซู อควาเรียม และนายนฤทัต เจริญเศรษฐศิลป์ รอง ประธาน เปิดเผยว่า ทางเชียงใหม่ ซู อควาเรียมได้สรรหาสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ที่มีความสวย ความแปลก และความดุร้ายน่ารัก มาจัดแสดง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชม กัน ล่าสุดเราได้นำปลาไหลผี หรือปลาไหล อะบาอะบาเพิ่งได้มาล่าสุดมาจัดแสดงควบคู่กับปลาไหลไฟฟ้า ที่สู้กับจระเข้ และปลาดุกไฟฟ้า มาอยู่ในตู้ส่วนจัดแสดงปลา ชั้นสองของอาคาร นักท่องเที่ยวสามารถมาเที่ยวชมได้ ปลาทั้ง 3 ชนิดที่นำมาโชว์ ครั้งนี้เป็นปลาน้ำจืด มีฤทธิ์ กินเนื้อเป็นอาหาร มีความดุร้าย และมีไฟฟ้าเพื่อไว้ล่าเหยื่อและป้องกันตัวเอง โดยเราจะแยกไว้ต่างหาก ก็สามารถมาชมได้ทุกวัน

ด้านนายนฤทัต เจริญเศรษฐศิลป์ รองประธานเชียงใหม่ ซู อควาเรียม ได้เปิดเผยว่า ไหลผีอะบาอะบา(Aba aba) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gymnarchus niloticus ในอันดับปลาลิ้นกระดูก(Osteoglossiformes) อยู่ในวงศ์ Gymnarchidae ซึ่งมีอยู่เพียงชนิดเดียวเท่านั้น เป็นปลาขนาดใหญ่สามารถยาวได้ถึง 1-1.5 เมตร มีรูปร่างยาวเรียวคล้ายปลาไหล ส่วนหัวมีขนาดเล็ก ตาเล็ก มีครีบพริ้วไหวตลอดลำตัวด้านบน พื้นลำตัวสีเทา ส่วนท้องสีขาว ปลายหางเล็กและเรียวยาว เกล็ดมีขนาดเล็กมาก มีการแพร่กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำของทวีปแอฟริกาแถบตะวันตก ในลุ่มแม่น้ำแกมเบีย โดยอาศัยใน ความลึกประมาณ 1-1.5 เมตร เป็นปลาที่สามารถอาศัยในแหล่งน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้เป็นอย่างดี ด้วยสามารถฮุบอากาศได้เอง สายตาไม่ดี หาอาหารด้วยการนำทางโดยการสร้างกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน ๆ กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กชนิดอื่นเป็นอาหาร เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ราคาไม่แพง จัดเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมากชนิดหนึ่ง แต่ว่าเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้ายมาก ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้เลย

ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์ ปลาชนิดนี้ราคาสูงมาก ทางเชียงใหม่อะควาเรีรยมก็ได้นำมาให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสยลโฉมกันเต็มๆ มีชื่อว่า ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์Malapterurus microstoma ปลาชนิดนี้มีชื่อสามัญว่า Smallmouth electric catfish ซึ่งแปลว่า ปลาดุกไฟฟ้าปากเล็ก แต่ชื่อสามัญและชื่อทางการค้าในไทย จะนิยมเรียกชื่อปลาชนิดนี้ว่า ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์ กันเป็นส่วนใหญ่ หรือไม่ก็เรียกทับศัทพ์ชื่อชนิดไปเลย ปลาดุกไฟฟ้านั้น เป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง หรือไหลเอื่อยๆครับ ชอบอาศัยอยู่พื้นท้องน้ำ หรือบางทีก็กลางน้ำ โดยจะหลบอาศัยตามโพรงหิน โพรงไม้ และตามรากไม้จมน้ำต่างๆ สภาพน้ำเป็นน้ำ ขุ่น แสงส่องผ่านได้น้อย หรือเป็นน้ำหมัก (Black water) ที่มีการสะสมของสารอินทรีย์เช่นใบไม้เป็น จำนวนมากครับ อุณหภูมิประมาณ 23-28 องศาเซลเซียส เท่าๆบ้านเรานี่เอง ลักษณะรูปร่าง นิสัย อาหารปลาดุกไฟฟ้ายักษ์ มีรูปร่างกลมยาว มองดูคล้ายๆไส้กรอกสีเทาขนาดใหญ่ ส่วนหัวมีลักษณะเรียวแหลม มีช่องปากขนาดเล็ก อันเป็นที่มาของชื่อชนิด microstoma ซึ่งแปลตรงตัว ว่า "ปากเล็ก" (Smallmouth electric catfish) นั่นเอง มีหนวดอยู่สามคู่รอบๆปากใช้รับสัมผัส

ส่วนปลาไหลไฟฟ้า อะเมซอน ที่สู้กับจระเข้ มาแล้วและจระเข้ ถึงกับต้องเสียชีวิตเพียงไม่กี่นาทีเลยทีเดียว โดยมีภาพปรากฏ ให้เห็น ในยูทูป โดยปลาไหลไฟฟ้าอะเมซอน ที่ทางเรานำมาจัดแสดงนั้น มีขนาด ปานกลาง สีดำและมีกระแสไฟฟ้าในตัวสูงมาก ซึ่งทางเราก็ได้นำมาจัดแสดงให้กับประชาชนได้ชมเช่นกัน ในโซน ปลาน้ำจืดชั้นสองอาคารแสดงเชียงใหม่ ซู อควาเรียม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ