ผลสำรวจโดย IOF เผย . . . ภาวะการขาดวิตามิน ดี ในประชากรโลกถึงขั้นวิกฤต กลุ่มเสี่ยงสตรีและผู้สูงอายุไทยต้องควรระวัง

จันทร์ ๐๘ ตุลาคม ๒๐๑๒ ๐๙:๓๐
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในแถบทวีปเอเซียที่มีข้อมูลการสำรวจระดับวิตามิน ดี ของประชากร ทั่วไปที่ครบถ้วน

มูลนิธิกระดูกพรุนนานาชาติ ได้เผยถึงผลสำรวจของระดับวิตามิน ดี ในประชากรโลกในรูปแบบของ “แผนที่” ซึ่งแสดงถึงภาพรวมของระดับวิตามิน ดี ในร่างกายของประชากรในแต่ละประเทศ โดยมีข้อสรุปว่า ภาวะการขาดวิตามิน ดี อย่างรุนแรง เป็นปัญหาใหญ่ทางด้านสุขภาพในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศอุตสาหกรรม โดยประชากร กว่าหนึ่งในสาม จากการทำการศึกษา มีระดับวิตามิน ดี ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ โดยกลุ่มเสี่ยงคือสตรี รวมถึงสตรีวัยมีบุตร และผู้สูงอายุ ถึงแม้ว่าประชากรไทยโดยเฉี่ลยจะมีระดับวิตามิน ดี ที่ได้มาตราฐาน แต่ในกลุ่มสตรีและผู้สูงอายุ ยังจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ที่ควรระวัง จากการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง สตรีที่มีอายุระหว่าง 60-97 ปีมีระดับวิตามิน ดี ที่น่าเป็นห่วง โดยผลสำรวจมีข้อสรุปดังนี้

- จากผลสำรวจโดยรวม ประชากรโลกกว่าหนึ่งในสามประสบกับภาวะการขาดวิตามิน ดี อย่างรุนแรง

- ภาวะการขาดวิตามิน ดี พบได้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศอุตสาหกรรม

- ถึงแม้ว่าแหล่งผลิตวิตามิน ดี ที่ดีที่สุดจะมาจากแสงแดด ระดับวิตามิน ดี ในประชากรที่อยู่ในประเทศ ที่มีแสงแดดดี อย่างเช่นในแถบเอเซีย ยังมีระดับวิตามิน ดี ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอินเดีย ที่มีระดับวิตามิน ดี ต่ำกว่ามาตราฐาน

- อัตราความเสี่ยงของภาวะการขาดวิตามิน ดี ในประชากรหญิงสูงกว่าประชากรชาย

- ภาวะการขาดวิตามิน ดี อย่างรุนแรงในประชากรผู้ใหญ่ในแถบทวีปยุโรปสูงถึงประมาณ 50% ถึง 70%

- ในประเทศสหรัฐอเมริกา ภาวะการขาดวิตามิน ดี พบได้ในผู้ใหญ่ผิวขาวประมาณ 20% และในประชากร ผิวดำถึง 70%

- พบว่ากลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะการขาดวิตามิน ดี อย่างรุนแรง โดยเฉพาะหญิงชรามีความเสี่ยง เป็นโรคกระดูกพรุนสูง เนื่องจากอาศัยอยู่แต่ภายในบ้านพักหรือสถานพักฟื้นคนชราตลอดเวลา

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคเรื้อรังประเภทหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรโลกกว่าหนึ่งร้อยล้านคน การที่ได้ปริมาณวิตามิน ดี ที่พอเพียง สามารถเพิ่มความหนาแน่นในกระดูก และป้องกันไม่ให้กระดูกร้าว พร้อมเสริม ความแข็งแกร่ง ให้กับกล้ามเนื้อโดยรวมและขา รวมถึงทำให้การทรงตัวดีขึ้น และลดความเสี่ยงจาก การหกล้มและกระดูกร้าว โดยทั่วไปแล้ว ภาวะการขาดวิตามิน ดี มักเป็นสาเหตุหลักและมีความเชื่อมโยง สู่การเป็นโรคกระดูกพรุน

จากผลการศึกษา มีรายงานว่าระดับวิตามิน ดี ที่ได้มาตราฐานและเพียงพอ สามารถลดความเสี่ยง จากการหกล้ม และกระดูกร้าวได้ถึงประมาณ 30% ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศเยอรมัน การบริโภคอาหารเสริม ที่เป็นวิตามิน ดี เป็นประจำ สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ถึงประมาณ 585-778 เหรียญยูโร จูดี้ สแตนมาร์ค (Judy Stenmark) ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิกระดูกพรุนนานาชาติ ได้กล่าวว่า “ทางมูลนิธิฯ ขอแนะนำให้คนที่มีความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ควรหันมาใส่ใจในการบริโภคอาหารเสริมที่เป็นวิตามิน ดี อย่างน้อย 800-1,000 IU ต่อวัน เพื่อป้องกันการหกล้ม และกระดูกร้าวจากการเปิดเผยผลสำรวจในรูปแบบของ “แผนที่” ทางมูลนิธิฯ เรียกร้องให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพ ในแต่ประเทศหันมาเอาใจใส่การแก้ปัญหาภาวะการขาดวิตามิน ดี โดยวิธีง่ายๆ และประหยัด ซึ่งจะสามารถช่วยชีวิต และส่งผลให้ ประชากรของท่านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

ศ. ดร. ไอเก้ เอ. บิสชอฟฟ์-เฟอร์รารี (Heike A. Bischoff-Ferrari) จากมหาวิทยาลัยซูริค ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ได้กล่าวเสริมว่า “ความเป็นจริงแล้ว ในกลุ่มผู้สูงอายุ การรับวิตามิน ดี จากแสงแดด ธรรมชาติจะลดน้อยลงเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น และเรายังไม่สามารถรับปริมาณวิตามิน ดี ได้อย่างพอเพียงจาก การบริโภคอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ด้วยอาหารเสริมที่เป็นวิตามิน ดี จะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย ประหยัดและได้ผล อย่างดีเยี่ยม รวมถึง ยังสามารถลดความเสี่ยงจากการหกล้มกระดูกสะโพกหักได้ถึง 30% และส่งเสริมคุณภาพชีวิต ให้ดียิ่งขึ้น” ในปี ค.ศ. 2050 คาดว่าอัตราผู้สูงอายุในประเทศไทยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จะเพิ่มขึ้นประมาณ 30% ของประชากรทั้งหมด และการที่ได้รับปริมาณวิตามิน ดี ที่เหมาะสมจัดเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ดร. แมนเฟรด อีเกอร์โดร์เฟอร์ (Dr. Manfred Eggersdorfer) รองประธานฝ่าย Nutrition Science & Advocacy บริษัท DSM กล่าวว่า “แบบแผ่นที่ ที่ทางมูลนิธิฯได้จัดทำขึ้นจะเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการต่อสู้กับภาวะการขาดวิตามิน ดี ซึ่งเบื้องต้นเราทราบว่า ภาวะการขาดวิตามิน ดี เป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆ เช่นโรคกระดูกอ่อนในเด็ก และโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ แต่เรายังไม่ทราบถึงระดับความรุนแรง และปัญหาที่ตามมาภายหลัง ซึ่งตอนนี้ เราได้รับทราบและทำความเข้าใจถึงภาวะการขาดวิตามิน ดี พร้อมกับกล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวควรเป็นประเด็น ที่ทุกหน่วยงานทั่วโลกต้องหันมาเอาใจใส่มากขึ้น”

การทำการสำรวจในรูปแบบของ “แผนที่” นั้น จะสามารถเห็นภาพโดยรวมของภาวะการขาดวิตามิน ดี และยังสามารถชี้ถึงจุดที่จำเป็นต้องทำการศึกษาเพิ่มเติม ดร. อีเกอร์โดร์เฟอร์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ข้อมูลการสำรวจยังไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กและวัยรุ่น แผนที่นี้จะเป็นจุดเริ่มต้น ของการสำรวจ เพื่อให้ทราบถึงความรุนแรงของภาวะการขาดวิตามิน ดี”

ดีเอสเอ็ม พร้อมด้วยมูลนิธิกระดูกพรุนนานาชาติ เรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแล ในการร่างกฎหมายให้หันมาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับภาวะการขาดวิตามิน ดี อย่างจริงจัง พร้อมแนะนำการบริโภควิตามิน ดี ในระดับที่พอเพียงอย่างปลอดภัยและได้ผล ไม่ว่าจะเป็นการผสมวิตามิน ดี เข้าไปในอาหาร หรือการบริโภคอาหารเสริม หรือโดยการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว

ข้อมูลเกี่ยวกับแผนที่

การสำรวจในแบบ “แผนที่” นั้น ได้แบ่งระดับภาวะการของวิตามิน ดี ออกเป็นสี ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อมูลทาง วิทยาศาสตร์ที่ได้มา โดยสีเขียวจะหมายถึงประเทศที่มีระดับวิตามิน ดี ทีพอเพียง สีเหลืองหมายถึงประเทศ ที่มีปริมาณวิตามิน ดี ที่ต่ำกว่ามาตราฐาน ส่วนสีส้มนั้นหมายถึงปริมาณวิตามิน ดี ในเลือดต่ำกว่า 50 นาโนโมล (50nmol/l) ซึ่งถือว่าอยู่ในภาวะการขาดวิตามิน ดี และสีแดงหมายถึงภาวะการขาดวิตามิน ดี อย่างรุนแรง (ต่ำกว่า 25 นาโนโมล25nmol/l )แผนที่ดังกล่าวจะมีการ อัพเดทข้อมูลใหม่ๆ ทุกปี เพื่อให้นักวิจัย หมอ และหน่วยงานภาครัฐ ได้รับทราบถึงหนทาง การป้องกันและต่อสู่กับภาวะการขาดวิตามิน ดี อย่างถูกต้องในแต่ละประเทศ

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนที่การสำรวจได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธิกระดูกพรุนนานาชาติ www.iofbonehealth.org

สรุปผลสำรวจในแต่ละประเทศ

- ในประเทศเยอรมัน 57% ของประชากรชาย และ 58% ของประชากรหญิงมีระดับวิตามิน ดี ต่ำกว่ามาตราฐาน โดยตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเป็น 75% ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 65 ถึง 79

- ในประเทศอังกฤษ ในกลุ่มผู้สูงอายุผู้หญิงสองในสาม หรือประมาณ 57% และครึ่งหนึ่งของผู้ชาย หรือประมาณ 49% ไม่ได้รับปริมาณวิตามิน ดี ที่พอเพียง

- ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ครึ่งหนึ่งของผู้ที่เข้ารวมการสำรวจได้รับวิตามิน ดี ที่ต่ำกว่ามาตราฐาน

- ในประเทศสหรัฐอเมริกา 30% ของผู้ที่เข้ารวมการสำรวจได้รับวิตามิน ดี ไม่เพียงพอ โดย 70% เป็นคนผิวดำ

- โดยรวมแล้ว ระดับวิตามิน ดี ในประชากรในสหรัฐอเมริกามีปริมาณสูงกว่าภูมิภาคอื่น เนื่องจากผลิตภัณฑ์ อาหารที่บริโภคอยู่เป็นประจำ อาทิ นม น้ำผลไม้ และ cereal มีส่วนผสมของวิตามิน ดี

- ในแถบตะวันออกกลาง ระดับวิตามิน ดี ต่ำกว่าในทวีปยุโรป เนื่องจากเหตุผลทางวัฒนธรรม ได้แก่ การสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิดและวิธีการดำรงชีวิตทั่วไป

- ในทวีปเอเซีย ภาวะการขาดวิตามิน ดี แตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยประเทศไทย ไต้หวัน เวียดนาม มีระดับวิตามิน ดี ที่ได้มาตราฐาน

- ในบางภูมิภาคข้อมูลการสำรวจไม่ครบถ้วน แต่ในบางภูมิภาค ไม่สามารถหาข้อมูลได้ เช่น ในทวีปอเมริกากลาง อเมริกาใต้ (ยกเว้นประเทศบราซิล) และประเทศในแถบทวีปแอฟริกา

- ข้อมูลการสำรวจในกลุ่มประชากรเด็กเล็กและในกลุ่มเด็กวัยรุ่นยังไม่ครบถ้วน

ข้อมูลเกี่ยวกับ DSM

Royal DSM เป็นบริษัทผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และการบริการต่าง ๆ สำหรับวงการวิทยาศาสตร์ สุขภาพและวัสดุศาสตร์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยทางบริษัทฯ ให้ความสำคัญ กับการพัฒนาวัตถุดิบใหม่ๆ ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ยา เครื่องมือแพทย์ เครื่องมืออีเลคโทรนิค เครื่องไฟฟ้า พลังงานทางเลือก ฯลฯ DSM มีเจ้าหน้าที่และพนักงานอยู่ประมาณ 22,000 กระจายอยู่ทั่วโลก โดยมียอดขายประมาณ เก้าพันล้านยูโร และยังเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NYSEEuronext สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.dsm.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๑ องค์การอนามัยโลกจับมือประเทศไทย และ 194 ประเทศ เร่งสร้างฉันทมติดันความเสมอภาคสุขภาพช่องปากเป็นวาระโลก
๑๖:๔๔ กรมอนามัยลงพื้นที่จังหวัดสงขลา มอบรางวัลเชิดชูเกียรติเมืองสุขภาพดีระดับประเทศ และรางวัลเครือข่ายเมืองสุขภาพดีระดับภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก
๑๖:๐๑ EPG มั่นใจยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นในครึ่งหลังของปีบัญชี 67/68 (ต.ค.67 - มี.ค.68) เติบโตดีตามเป้าหมาย เตรียมจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 6 สตางค์ 9
๑๖:๒๔ 51Talk ส่งเด็กไทยเข้าร่วม COP29 การประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทพิสูจน์การสนับสนุนเยาวชนก้าวสู่เวทีระดับโลก
๑๖:๔๘ ORN เผยโค้งสุดท้ายปี 67 ฟอร์มดี โตต่อเนื่อง ลุยเปิด 3 โครงการใหม่บ้าน-คอนโดฯ มูลค่ารวม 3,070 ล้านบาท
๑๖:๓๓ Dog's Dream คอมมูนิตี้สนามสัตว์เลี้ยงสีเขียว ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
๑๖:๑๔ ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ชูกลยุทธ์ Make a Leap to the New Stage ตอกย้ำพันธกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
๑๕:๔๓ กรุงศรี ขับเคลื่อนกลยุทธ์ GO ASEAN with krungsri ผสานความแข็งแกร่งและร่วมมือในเครือกรุงศรี MUFG และพันธมิตร
๑๕:๓๔ เผยสีสันแห่งการเฉลิมฉลองช่วงสิ้นปี ผ่านกระเช้าของขวัญจากโรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ
๑๕:๔๗ Netflix ส่งหนังไทยคว้าชัยระดับโลก! ออกแบบ-ชุติมณฑน์ คว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม บนเวที International Emmy Awards ครั้งที่ 52 จากผลงานเรื่อง HUNGER คนหิว