1. การขนส่งทางเรือเป็นอุตสาหกรรมระดับโลก จำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อจัดการกับปัญหาสภาพแวดล้อมในระดับนานาชาติเพื่อเป็นทางออกในการลดการปล่อยก๊าซจากเรือ โดยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO) กำหนดข้อบังคับเรื่องประสิทธิภาพพลังงานขั้นต่ำ (Energy Efficiency index) กับเรือใหม่ตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งการใช้มาตรการดังกล่าวยังคงไม่เพียงพอที่จะสร้างความมั่นใจว่ามีการลดการปล่อยก๊าซจากสาขาการขนส่งทางเรือได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น การหารือเกี่ยวกับมาตรการระดับโลกยังคงดำเนินต่อไปในระดับ IMO
2. สหภาพยุโรป (EU) ได้พิจารณาหลายทางเลือก โดยเฉพาะการนำกลไกตลาดเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Market-Basd Mechanisms: MBMs) ซึ่งจำเป็นต้องมีกระบวนการที่ง่าย ชัดเจน และเหมาะสมในการจัดตั้งระบบติดตาม รายงานและตรวจสอบการปล่อยก๊าซจากการใช้เชื้อเพลิงในระยะเริ่มต้น โดยจะมีส่วนช่วยให้เกิดความก้าวหน้าในระดับโลก คือสามารถแปลงไปสู่กระบวนการของ IMO ดังนั้น จึงเป็นเจตนา ร่วมที่ EU จะดำเนินการระบบการติดตาม รายงาน และตรวจสอบในช่วงต้นปี 2556 ในขณะเดียวกัน EU ยังคงดำเนินการพิจารณาร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับมาตรการที่เหมาะสมในการลดก๊าซเรือนกระจก
3. อุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือเป็นสาขาที่เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำในการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะลดต้นทุนและทำให้สาขานี้เหมาะสมสำหรับอนาคต โดยคณะกรรมาธิการพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการทั้งในระดับของ EU และ IMO
นายสุรศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า EU จะเริ่มใช้ระบบติดตาม รายงาน และตรวจสอบการปล่อยก๊าซในปี 2556 โดย EU จะกำหนดให้เรือขนาดใหญ่ที่เข้าและออกจากท่าของ EU จะต้องจัดส่งรายงานประจำปีเกี่ยวกับการใช้พลังงาน (fuel consumption)และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกับหน่วยงานผู้มีอำนาจรับผิดชอบ โดย EU จะกำหนดแนวทางและกรอบเกี่ยวกับวิธีการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซจากเชื้อเพลิง ที่ใช้แต่ละประเภท ซึ่งขณะนี้ EU กำลังอยู่ระหว่างพัฒนาระบบดังกล่าวโดยจะสรุปผลและประกาศในช่วงเดือนมีนาคม 2556 และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ประมาณปี 2558 ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://ec.europa.eu/clima/news/index_en.htm