ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซม (ช่วงเช้า)

อังคาร ๑๖ ตุลาคม ๒๐๑๒ ๐๙:๐๐
รัฐมนตรีคลังเอเชียและยุโรปได้หารือประเด็นเกี่ยวกับแนวโน้มทางเศรษฐกิจและการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเงินของเอเชียและยุโรปใน 2 หัวข้อ ประกอบด้วย (1) พัฒนาการด้านเศรษฐกิจการเงินและแนวโน้มของเอเชียและยุโรป และ (2) บทบาทของการบริหารจัดการด้านการเงินในภูมิภาคเอเชียและยุโรปเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของภูมิภาค

(1) พัฒนาการด้านเศรษฐกิจการเงินและแนวโน้มของเอเชียและยุโรป รัฐมนตรีคลังจากประเทศต่างๆ ในเอเชียและยุโรป รองผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (นายนาโอยูกิ ชิโนฮาร่า) ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ) รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปและกรรมาธิการยุโรปด้านเศรษฐกิจ การเงิน และยูโร (นายออลลิ เรห์น) และกรรมการบริหารธนาคารกลางยุโรป (นายเบอนัวต์ เกอร์เฮร์) ได้แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินล่าสุดของเอเชียและยุโรป โดยคาดว่าเศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มจะฟื้นตัวจากวิกฤติอย่างค่อยเป็นค่อยไป อีกทั้งเห็นว่าเศรษฐกิจยุโรปจำเป็นต้องดำเนินการปรับโครงสร้างทางการคลังที่เอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนใช้นโยบายกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และมีการปฎิรูปเชิงโครงสร้างเพิ่มเติม

ทั้งนี้ จากการที่เศรษฐกิจเอเชียและยุโรปมีความเชื่อมโยงกัน ที่ประชุมได้แสดงความกังวลต่อความเสี่ยงที่เกิดจากความเชื่อมโยงทางการค้า ตลอดจนความผันผวนในตลาดการเงินและตลาดโภคภัณฑ์ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงบทบาทของเศรษฐกิจเกิดใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกด้วยการกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชนพร้อมทั้งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนอุปสงค์ภายในประเทศและการขยายตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เน้นย้ำความสำคัญของการเร่งสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนและผู้บริโภค การแยกภาระที่เกิดขึ้นในระบบสถาบันการเงินออกจากภาระหนี้ภาครัฐ ตลอดจนการสร้างงานในระบบ โดยปัจจัยเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

(2) บทบาทของกลไกแก้ไขและป้องกันวิกฤตการณ์ด้านการเงินในภูมิภาคเอเชียและยุโรปเพื่อเสถียรภาพทางการเงินของภูมิภาค ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารจัดการกลไกด้านการเงินในภูมิภาคเอเชียและยุโรป ประกอบด้วย มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุพาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM) กองทุนถาวรเพื่อรักษาเสถียรภาพยุโรป (European Stability Mechanism: ESM) และกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (European Financial Stability Facility: EFSF) และได้เน้นว่ากลไกดังกล่าวมีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการจัดการกับวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาค

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับวิกฤตในเอเชียและยุโรป รวมถึงบทบาทของหน่วยงานที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังและเตือนภัยเกี่ยวกับวิกฤตในอนาคต ซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญได้แก่ การมีข้อมูลที่ทันสมัย และการแยกความเสี่ยงในภาคธนาคารออกจากความเสี่ยงด้านเครดิตของประเทศ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือถึงความสำคัญในการดำเนินมาตรการในระยะปานกลางของประเทศสมาชิกในยุโรป เพื่อลดความผันผวนของตลาดการเงินซึ่งรวมถึงการปฏิรูปภาคการเงิน และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการกำกับดูแลภาคธนาคาร เช่น การดำเนินการตามมาตรฐานบาเซิล 3 และการจัดตั้งหน่วยงานกลางทำหน้าที่กำกับดูแลภาคการเงิน (Single Supervisory Body) และได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาตลาดทุนซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาภาคธนาคารในการระดมทุนของเอกชน

สำนักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

โทร. 02 273 9020

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม