กรมการแพทย์เผยหออภิบาลผู้ป่วยมะเร็งลดทุนเพิ่มคุณภาพชีวิต

ศุกร์ ๑๙ ตุลาคม ๒๐๑๒ ๑๖:๔๒
กรมการแพทย์เผยแนวทางดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในหออภิบาลคุณภาพชีวิตช่วยให้ผู้ป่วย ใช้ชีวิตเสมือน อยู่บ้าน พร้อมระบุช่วยลดต้นทุน ได้ 25 %

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555 ที่โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี แพทย์หญิงวิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยหลังเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม “World Hospice & Palliative Care Day” ว่า จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2553 โรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของประเทศไทย คิดเป็น 91.17 ต่อประชากรแสนคน กรมการแพทย์ในฐานะที่มีบทบาทในการดูแลและรักษาผู้ป่วยมะเร็ง โดยมีหน่วยงานที่ให้บริการรักษาผู้ป่วยมะเร็งทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรีเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้บริการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โดยมีการตั้งหออภิบาลคุณภาพชีวิต ภายในหอผู้ป่วยตกแต่งให้มีลักษณะคล้ายบ้าน มีห้องหรือมุมต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ห้องประกอบกิจกรรมทางศาสนา มุมศิลปะบำบัด มุมพักผ่อน มุมนั่งเล่น เป็นต้น โดยมีรูปแบบการดูแลแบบองค์รวม ลดความทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บปวดต่างๆ มีการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพชีวิตที่ดี จากการศึกษาต้นทุนของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่หอดังกล่าว พบว่า มีต้นทุนการดูแลรักษาลดลง เมื่อเปรียบเทียบ กับการดูแลรักษาแบบเดิม จาก 1,660.26 บาท ลดลงเหลือ 1,245.69 บาท คิดเป็น ร้อยละ 25

นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มีโครงการที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ได้แก่ โครงการ Pet Therapy (สัตว์เลี้ยงบำบัด) เป็นการบำบัดโดยการนำสุนัขมาเล่นกับผู้ป่วย เนื่องจากสุนัขเป็นสัตว์ที่มีความเป็นมิตร ซื่อสัตย์ และเชื่อใจได้ การบำบัดดังกล่าว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการฝึกเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมือและข้อ และการบำบัดจิตใจเพื่อให้ผู้ป่วยคลายเครียด เพลิดเพลิน รู้สึกหายเหงา ส่งผลให้มีจิตใจที่อ่อนโยน และละเอียดอ่อนมากขึ้น

อีกทั้งโครงการLast Wish (คำขอครั้งสุดท้าย) เป็นการดูแลผู้ป่วยมะเร็งในระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง คือ การดูแลรักษาผู้ป่วยขณะที่มีชีวิต ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งจะต้องมีการดูแลคุณภาพชีวิตให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านจิตวิญญาณ ซึ่งในบางครั้งผู้ป่วยแต่ละรายอาจจะ มีความต้องการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งก่อนที่จะเสียชีวิต ซึ่งอาจจะเป็นโอกาสหรือครั้งสุดท้ายของผู้ป่วย เช่น การจัดงานวันเกิด การไปทำบุญไหว้พระ การไปเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ ที่ไม่เคยไป เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการในวาระสุดท้ายของผู้ป่วยรวมทั้งผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายให้มีความรู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด ดังนั้น จะเห็นได้ว่าหออภิบาลคุณภาพชีวิตมีการพัฒนาแนวทางและวิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

ติดต่อ:

ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมการแพทย์ 0 25918254

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ