คร.7 ชี้ “อัมพาต” ภัยใกล้ตัว

พุธ ๒๔ ตุลาคม ๒๐๑๒ ๑๖:๕๑
ในวันที่ 29 ตุลาคม ของทุกปี องค์การอัมพาตโลก (World Stroke Organization: WSO) ได้กำหนดให้เป็นวันอัมพาตโลกโดยมีประเด็นรณรงค์คือ “1 in 6 จะไม่ใช่คุณ” เพื่อกระตุ้นให้ประชากรทั่วโลกเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ซึ่งไม่ใช่แค่สร้างความตระหนักเท่านั้น แต่รวมถึงการดูแลที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยหลังเกิดอาการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี เผยว่า จากรายงานสถานการณ์โรคหลอดเลือดสมองขององค์การอัมพาตโลก พบว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของประชากรอายุมากกว่า 60 ปีทั่วโลกและเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับ 5 ของประชากรที่มีอายุ 15-59 ปี โดยในแต่ละปีมีคนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 6,000,000 คน โดยค่าเฉลี่ย ในทุก 6 วินาที จะมีคนเสียชีวิตอย่างน้อย 1 คน ซึ่งมากกว่าคนทั่วโลกที่เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์, วัณโรค และมาลาเรียรวมกัน ทั้งนี้องค์การอัมพาตโลก ยังคาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ.2015 คนทั่วโลกจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองถึง 6.5 ล้านคน สำหรับสถานการณ์โรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย สำนักนโยบายสุขภาพ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข รายงาน 10 ลำดับแรกของการตายในประชากรไทย ในปี 2552 พบว่า การตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองขึ้นนำมาอยู่ในลำดับ 1 ทั้งในประชากรเพศชายและเพศหญิง

ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง มี 8 ปัจจัย คือ 1. ภาวะความดันโลหิตสูง 2. โรคเบาหวาน 3. ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง 4. ประวัติญาติสายตรงเคยเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 5. ขาดการออกกำลังกาย 6. ภาวะน้ำหนักเกิน 7. สูบบุหรี่ 8. ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (Arial Fibrillation)

สัญญาณเตือน ของโรคหลอดเลือดสมองที่สำคัญ คือ มีอาการอ่อนแรงของหน้า แขน ขา อย่างทันทีทันใด ซึ่งจะเป็นซีกเดียวของร่างกาย สับสน ลำบากในการพูด พูดไม่รู้เรื่อง การมองเห็นลดลง อาจเป็นตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มึนงง สูญเสียความสมดุลของการเดินอย่างทันทีทันใด ถ้ามีอาการเหล่านี้ให้ไปโรงพยาบาลโดยด่วนภายใน 3 ชั่วโมง จะได้ช่วยรักษาชีวิตและฟื้นฟูให้มีสภาพปกติมากที่สุด มาตรการในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง คือการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ทั้ง 8 ปัจจัย โดยถ้ายังมีปัจจัยเสี่ยงอยู่ควรทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็น ดังนี้ 1. ลดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม และเพิ่มผักผลไม้ 2. การออกกำลังกายอย่างเพียงพอโดยออกกำลังกายวันละ 15-30 นาที ใน 3-5 วัน/สัปดาห์ 3. ควรงดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ 4. ลดความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ ถ้ามีปัญหาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานให้รีบปรึกษาแพทย์และรับการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่จะเกิดได้ในภายหลัง ซึ่งจะช่วยลดอัตราตาย และลดความพิการลงได้ โดยส่งผลให้ 1 ใน 6 จะไม่ใช่คุณ นพ.ศรายุธ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ เครือเฮอริเทจ คว้ารางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยและบุคลากรดีเด่นประจำปี 2567 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
๑๑:๒๘ สคร. 12 สงขลา แนะ ยึดหลัก สุก ร้อน สะอาด ป้องกัน เชื้อ โนโรไวรัส
๑๑:๓๔ ส่องหาปูนิ่ม ด้วย AI นวัตกรรมเพื่อผู้ผลิตปูนิ่ม
๑๑:๑๖ กรุงไทย-สยามโกลบอลเฮ้าส์ ยกระดับการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเชื่อมโยง ESG และเงินฝากสีเขียว ตอบโจทย์องค์กรยั่งยืน
๑๑:๒๐ ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการ ปี 2567 กำไร 48,598 ล้านบาท
๑๑:๕๙ ยอดขายทะลุเป้าสูงสุด 7.4 เท่า! สำหรับยอดขายวันแรกของ HONOR X9c Series พร้อมขอบคุณลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจ
๑๑:๕๙ 22 ม.ค.นี้ พบกับมรดกทางวัฒนธรรมไทยที่ไม่ควรพลาด PARADISE PARK KHON THE THEATER กับ การแสดงเบิกโรงเทวนิยาย ชุด ท้าวเวสสุวัณ @พาราไดซ์
๑๑:๐๐ เสาร์ 25 ม.ค. 2568 ปักหมุดอิ่มอร่อย มื้อนี้ K เลย ลดทั้งบิล 50%* กับบัตรเครดิตวีซ่ากสิกรไทย 27 ร้านดังที่สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์
๑๑:๐๐ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดงบกว่า 15.5 ล้านบาท ฟื้นฟูหลังน้ำลดผู้ประสบอุทกภัย แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค มอบเงินช่วยเหลือกรณีบ้านพังทั้งหลัง และช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิต 8
๑๐:๒๘ มทร.ธัญบุรี กางแผนรับนักศึกษาใหม่ ปี 68 กว่า 6 พันคน