ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการแข่งขันหุ่นยนต์บีม (BEAM) “Pantip Robot Contest 2012” ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า บางกะปิ ซึ่งจัดโดย ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า สาขาบางกะปิ ร่วมกับยุวสมาคมแห่งประเทศไทย ธนบุรี (JCI) เพื่อให้นักเรียนได้ใช้ความรู้ความสามารถในการประดิษฐ์ ทั้งทางด้านโครงสร้าง วงจรอิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบ รวมถึงการทำงานร่วมกันเป็นทีม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้เกิดการฝึกคิดต่อยอดอย่างมีเป้าหมาย และเป็นการเปิดโอกาสให้กับโรงเรียนที่ขาดโอกาสในการจัดหาหุ่นยนต์และความรู้ได้เข้ามาร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ด้วย โดยมี นายวิษณุ หวังวิสุทธิ์ ผู้บริหารศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า และยุวสมาคมแห่งประเทศไทย ธนบุรี (JCI) ร่วมให้การต้อนรับโดยได้รับความสนใจจากนักเรียน นิสิตนักศึกษา บุคคลทั่วไป พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนเข้าร่วมชมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก
นายวิษณุ หวังวิสุทธิ์ ผู้บริหารศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า กล่าวว่า ในปัจจุบันการแข่งขันหุ่นยนต์มีอย่างแพร่หลาย ทั้งที่จัดองค์กรต่าง ๆ การแข่งขันมีหลายรูปแบบ มีทั้งการประดิษฐ์และซื้อหุ่นยนต์มาทาการแข่งขัน โดยจุดประสงค์หลัก ๆ ก็เพื่อให้นักเรียนได้ใช้ความรู้ความสามารถในการประดิษฐ์ ทั้งทางด้านโครงสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบ รวมถึงการทางานร่วมกันเป็นทีม อย่างไรก็ดีก็ยังมีบางโรงเรียนยังไม่ได้มีโอกาสที่จะได้ร่วมเข้าแข่งขันอันเนื่องมาจากการขาดโอกาสและข้อจำกัดเรื่องการเขียนโปรแกรม การขาดความรู้ในเรื่อง การออกแบบประกอบวงจร ดังนั้นเพื่อให้โรงเรียนที่มีความไม่พร้อมดังกล่าวได้มีโอกาสเข้ามาร่วมการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยสมาคมที่ไม่หวังผลกาไร เป็นการเปิดโอกาสให้กับโรงเรียนที่กล่าวมาได้เข้ามาร่วมการแข่งขัน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้เกิดการฝึกคิดต่อยอด นักเรียนมีเป้าหมาย มีความสัมพันธ์กันระหว่างโรงเรียนที่เข้ามาแข่งขัน และอาจจะเป็นโอกาสอันดีที่ทางสมาคมได้ช่วยเหลือในสิ่งที่โรงเรียนต่าง ๆ ที่ไม่พร้อมด้านการแข่งขันหุ่นยนต์ได้มีโอกาสมากขึ้น
สำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์บีม (BEAM) “Pantip Robot Contest 2012” แบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ระดับประถมศึกษา, ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แข่งขัน 2 รอบในแต่ละประเภท คือ รอบคัดเลือก(เช้า) รอบตัดสิน(บ่าย) ใช้แข่งขัน 2 สนาม แบ่งเป็น สนามทดสอบ 1 สนาม และ สนามแข่งสำหรับแข่งขัน 1 สนาม ซึ่งรางวัลในการแข่งขันแบ่งออกเป็น รางวัลชนะเลิศทั้ง 3 ระดับ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทั้ง 3 ระดับ รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ทั้ง 3 ระดับ และรางวัลความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้ง 3 ระดับ โดยทีมที่ชนะเลิศในรอบตัดสินรับทุนการศึกษาพร้อมโล่เกียรติยศ รวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 100,000 บาท
อนึ่ง การแข่งขันหุ่นยนต์บีม (BEAM) หมายถึง การนำวัสดุโดยไม่จากัดประเภทวัสดุมาประกอบเป็นหุ่นยนต์ เคลื่อนไหวด้วยสวิทซ์เปิด-ปิด และทางานแบบเคลื่อนที่ เคลื่อนไหว เพื่อควบคุมการทาภารกิจแบบอัตโนมัติโดยเชื่อมต่อกับมอเตอร์ ระหว่างการแข่งขันห้ามใช้อุปกรณ์ควบคุมใดๆ ทั้งแบบมีสาย ไร้สาย หรือแบบสัญญาณวิทยุ ในการส่งสัญญาณไปยังหุ่นยนต์ ห้ามเขียนโปรแกรม โดยไม่ต้องมีการให้เขียนโปรแกรมบังคับ แต่ให้หุ่นยนต์บีม (BEAM) ทางานด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบมาโดยหุ่นยนต์จะต้องทาการเกาะเส้นทางเข้าเส้นชัย
สำหรับเกณฑ์การตัดสินที่ผู้เข้าประกวดจะต้องนำวัสดุโดยไม่จำกัดประเภทวัสดุมาประกอบเป็นหุ่นยนต์ เคลื่อนไหวด้วยสวิทซ์เปิด-ปิด และควบคุมการทำภารกิจแบบอัตโนมัติโดยเชื่อมต่อกับมอเตอร์ ระหว่างการแข่งขันห้ามใช้อุปกรณ์ควบคุมใดๆ ทั้งแบบมีสาย ไร้สาย หรือแบบสัญญาณวิทยุ ในการส่งสัญญาณไปยังหุ่นยนต์ ห้ามเขียนโปรแกรม บังคับ แต่ให้หุ่นยนต์บีม(BEAM) ทำงานด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบมาโดยหุ่นยนต์จะต้องทำการเกาะเส้นทางเข้าเส้นชัย