เปิดใจ “สมบูรณ์ หอตระกูล” สถาบันไฟฟ้าฯ ปูทางประเทศไทย ก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมั่นคง

จันทร์ ๒๙ ตุลาคม ๒๐๑๒ ๑๕:๓๑
นายสมบูรณ์ หอตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปิดเผยว่า นอกเหนือจากการเป็นศูนย์ประสานการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยทำงานรวมกับภาครัฐ เอกชนและหน่วยงานต่าง ๆ ในการศึกษาจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย และการพัฒนาฐานข้อมูลที่จำเป็นของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แล้ว สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยังมีบทบาทภารกิจในการเป็นหน่วยงานสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไฟฟ้าฯ เพื่อยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนายกระดับศักยภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรมไฟฟ้าฯ การยกระดับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมไฟฟ้าฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการการผลิต และเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการเป็นหน่วยบริการทดสอบและตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตามข้อกำหนดมาตรฐานทั้งในประเทศและต่างประเทศ

“ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่จะเริ่มในปี 2558 ผมมอง 2 มุม คือ ด้านบวก ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะทำให้ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสขยายการส่งออกและเป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะหากมีมาตรการจูงใจที่ดีจะทำให้นักลงทุนต่างประเทศสนใจเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้น และผู้ประกอบการไทยมีขีดความสามารถในการผลิตที่สามารถแข่งขันได้ ส่วนด้านลบ ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะภาคการผลิตจะเผชิญกับสถานการณ์การแข่งขันรุนแรงมากขึ้นจากประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นคู่แข่งขันที่เป็นฐานการผลิตทั้งรายเดิมและรายใหม่ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม พม่า กัมพูชา ฯลฯ ทำให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีต้องเตรียมตัวที่จะเผชิญกับสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ หากอาเซียนเปิดระบบเศรษฐกิจเป็นฐานการผลิตและตลาดเดียวกันแล้ว หมายถึง การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต แรงงาน และทุนได้อย่างสะดวกมากขึ้น อาจจะมีการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตไปประเทศต่างๆ หากมีค่าแรงงานที่ถูกกว่าประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศคู่แข่งขันใหม่ยังมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการลงทุนค่อนข้างมาก”

สิ่งที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะต้องปรับตัว คือ ภาคอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ต้องมีการปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 2 ประการ ประการแรก ยกระดับกระบวนการผลิต โดยการลดการพึ่งพาแรงงานและให้ความสำคัญการใช้เทคโนโลยี เครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยมากขึ้น และประการที่สอง พัฒนามูลค่าเพิ่มในกระบวนการผลิตสินค้า โดยไม่เน้นต้นทุนต่ำเพียงอย่างเดียว ควรต้องยกระดับคุณภาพมาตรฐานให้สูงขึ้นถือเป็นหัวใจสำคัญของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าฯ ทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์ สินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคุณภาพมาตรฐานซึ่งเป็นประเด็นหลักไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายใต้กรอบความตกลงทางด้านมาตรฐานอาเซียน คือ “AHEEERR: ASEAN Harmonized Electrical and Electronic Equipment Regulatory Regime” ผู้ผลิตทุกประเทศในประชาคมอาเซียนต้องใช้มาตรฐานเดียวกันและผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมาตรฐานตามมาตรฐานดังกล่าว

“สถาบันฯ ได้รับงบประมาณสนับสนุนในโครงการต่างๆ จากกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ ในการพัฒนายกระดับขีดความสามารถในการผลิต ด้านเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ด้านการพัฒนาคุณภาพและมาตรมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การพัฒนายกระดับศักยภาพแรงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรองรับปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม เตรียมการรองรับการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น รวมทั้งการนำระบบเครื่องจักรเข้ามาใช้การผลิตมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการไทยให้มากขึ้น”

ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า แนวทางอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยต้องมีการปรับตัวในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาฐานการผลิต และการลงทุนจากนักลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมนี้ส่วนหนึ่งยังต้องอาศัยเงินทุนและพึ่งพาเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากต่างประเทศ

ในด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การแข่งขันใน AEC ต้องมีการแข่งขันสูงมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศคู่แข่งขันที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และมีแนวโน้มที่สำคัญอีก 5 ปี ประเทศพม่าจะสามารถพัฒนาศักยภาพขึ้นมาเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญของประเทศไทย เพราะประเทศพม่ามีทรัพยากรจำนวนแรงงานถูก ทำให้สามารถดึงดูดนักลงทุนได้เป็นอย่างดี และอุตสาหกรรมไฟฟ้าฯ ที่ไม่ซับซ้อนและไม่มีเทคโนโลยีสูงมาก อาจมีการย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศเหล่านี้

“การที่ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี2558 ผู้ประกอบการไทยภาคอุตสาหกรรมไทยจำเป็นต้องมีความเข้าใจ ศึกษาสภาวะการแข่งขัน รวมทั้งศึกษาแนวทางการปรับตัว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและลดข้อจำกัดที่อาจจะเกิดจากผลกระทบ จากการที่ประชาคมอาเซียน เป็นฐานการผลิตและตลาดเดียวกัน ซึ่งมีทั้งปัจจัยเชิงบวกและเชิงลบ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น สำหรับปัจจัยเชิงบวกผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมความพร้อม เพื่อขยายตลาดออกไปสู่ประชาคมอาเซียน รับมือการแข่งขันทางตลาดทุกรูปแบบ” นายสมบูรณ์ หอตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO