ฟรอสต์ฯเผย ไม่มีใครสามารถ ‘ควบคุม’ อินเตอร์เน็ต ได้อย่างแท้จริง

พุธ ๓๑ ตุลาคม ๒๐๑๒ ๑๓:๕๑
ฟรอสต์แอนด์ ซัลลิแวน เผย ข้อเสนอของ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ในการควบคุมอินเตอร์เน็ต จะมีทั้งการต่อต้านและสนับสนุนจากนานาประเทศเนื่องจากที่ผ่านมาเนื้อหาในอินเตอร์เน็ตไม่ได้มีการควบคุมดูแลเท่าที่ควร

ดร. มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับกรณีข้อเสนอของงสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) จะพิจารณาหาข้อสรุปการกำกับดูแลการบริการอินเทอร์เน็ตตามบทบัญญัติว่าด้วยสนธิสัญญาการบริหารโทรคมนาคม (ITRs) และมีผู้เสนอให้นำอินเทอร์เน็ต และ IP Networks and Services เข้าอยู่ภายใต้กรอบดังกล่าวด้วย จึงอาจส่งผลกระทบต่อการบริการอินเทอร์เน็ตเชิงธุรกิจและผู้ใช้ต้องจ่ายเงินเสียค่าบริการทุกครั้งที่คลิกก็ได้ ใน การประชุมว่าด้วยการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (World Conference on International Telecommunications :WCIT) ที่จะมีขึ้น ณ ประเทศดูไบ ในวันที่ 3-14 ธ.ค.2555ที่จะถึงนี้ว่า

ในการควบคุมอินเตอร์เน็ต ครั้งนี้ จะมีทั้งการต่อต้านและสนับสนุนจากนานาประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมา เนื้อหาในอินเตอร์เน็ตไม่ได้มีการควบคุมดูแลเท่าที่ควร จึงไม่แปลกที่ ประเทศที่มาจากระบอบสังคมนิยมอย่างจีน รัสเซีย และอาหรับ จะสนับสนุนการเข้าควบคุมอินเตอร์เน็ตโดยหน่วยงานกลางอย่าง ITU ในขณะเดียวกัน ประเทศที่มาจากระบอบเสรีอย่างสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาประกาศจุดยืนในการต่อต้านการควบคุมทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งในความเป็นจริง ทางเทคนิคแล้ว ไม่มีใครสามารถ ‘ควบคุม’ อินเตอร์เน็ต ได้อย่างแท้จริง เพราะ โครงสร้างที่เป็นระบบเปิด และไม่มีจุดศูนย์กลาง (decentralized) สิ่งที่ ITU ทำได้คือเข้ามา จัดระเบียบ และเก็บกวาด เท่านั้น ซึ่งตอนนี้วิธีการว่าจะดำเนินการอย่างไรยังไม่ออกมาชัดเจน จึงทำให้เป็นประเด็นขัดแย้ง ถ้ามีรายละเอียดออกมาชัดเจนขึ้น น่าจะได้รับการสนับสนุนมากกว่าต่อต้าน

ส่วนประเด็นเรื่องของการเก็บเงินในการใช้บริการนั้น อาจกระทบต่อ ผู้ให้บริการเนื้อหาบางรายที่ไม่แสวงผลกำไร เช่นในด้านการศึกษา และ public service ในขณะที่หลักการนี้เอื้อต่อผู้ให้บริการเนื้อหาในเชิงธุรกิจ แต่อย่างไรก็ดี การจ่ายค่าเชื่อมโยงโครงข่ายไม่ใช่เรื่องใหม่ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับที่ใช้กับระบบสื่อสารโทรคมนาคมอื่นๆ และเป็นโมเดลทางธุรกิจที่สามารถช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มช่องทางทางธุรกิจในอินเตอร์เน็ตได้อย่างแท้จริง แต่ต้องเป็นการชาร์จเงินที่สมเหตุสมผล ซึ่งต้องว่ากันเรื่องรายละเอียดในขั้นต่อไป จึงจะสามารถประเมินผลกระทบได้มากกว่านี้ แต่ที่สำคัญที่ทุกฝ่ายต้องเห็นด้วยกับหลักการว่า อินเตอร์เน็ตไม่ควรเป็นตัวขยายช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ในทางกลับกัน ควรเป็นตัวเชื่อมช่องว่างเหล่านี้ที่ดีที่สุด

ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์

ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน (ประเทศไทย)

Email: [email protected]

Tel: 02 637 7414

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๑ องค์การอนามัยโลกจับมือประเทศไทย และ 194 ประเทศ เร่งสร้างฉันทมติดันความเสมอภาคสุขภาพช่องปากเป็นวาระโลก
๑๖:๔๔ กรมอนามัยลงพื้นที่จังหวัดสงขลา มอบรางวัลเชิดชูเกียรติเมืองสุขภาพดีระดับประเทศ และรางวัลเครือข่ายเมืองสุขภาพดีระดับภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก
๑๖:๐๑ EPG มั่นใจยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นในครึ่งหลังของปีบัญชี 67/68 (ต.ค.67 - มี.ค.68) เติบโตดีตามเป้าหมาย เตรียมจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 6 สตางค์ 9
๒๖ พ.ย. 51Talk ส่งเด็กไทยเข้าร่วม COP29 การประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทพิสูจน์การสนับสนุนเยาวชนก้าวสู่เวทีระดับโลก
๒๖ พ.ย. ORN เผยโค้งสุดท้ายปี 67 ฟอร์มดี โตต่อเนื่อง ลุยเปิด 3 โครงการใหม่บ้าน-คอนโดฯ มูลค่ารวม 3,070 ล้านบาท
๒๖ พ.ย. Dog's Dream คอมมูนิตี้สนามสัตว์เลี้ยงสีเขียว ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
๒๖ พ.ย. ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ชูกลยุทธ์ Make a Leap to the New Stage ตอกย้ำพันธกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
๒๖ พ.ย. กรุงศรี ขับเคลื่อนกลยุทธ์ GO ASEAN with krungsri ผสานความแข็งแกร่งและร่วมมือในเครือกรุงศรี MUFG และพันธมิตร
๒๖ พ.ย. เผยสีสันแห่งการเฉลิมฉลองช่วงสิ้นปี ผ่านกระเช้าของขวัญจากโรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ
๒๖ พ.ย. Netflix ส่งหนังไทยคว้าชัยระดับโลก! ออกแบบ-ชุติมณฑน์ คว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม บนเวที International Emmy Awards ครั้งที่ 52 จากผลงานเรื่อง HUNGER คนหิว