รมว.ทส. ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งพื้นที่อีสานตอนบน พร้อมสั่งการให้เร่งจัดหาแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่ขาดแคลน

พฤหัส ๐๘ พฤศจิกายน ๒๐๑๒ ๐๘:๓๕
นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของหน่วยเจาะบ่อ น้ำบาดาลของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ซึ่งเตรียมพร้อมรับมือปัญหาภัยแล้งทั่วประเทศ และสั่งการเร่งระดมสรรพกำลัง เจ้าหน้าที่ อุปกรณ์และเครื่องจักรขนาดใหญ่ พร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร

วันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2555 นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยขณะเดินทางลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร อุดรธานี บึงกาฬ และจังหวัดหนองคาย ว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประกาศเป็นพื้นที่ภัยแล้ง ซึ่งมีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่ช่วงต้นเดือนตุลาคม 2555 ถึงปัจจุบัน มีจำนวน 9 จังหวัด 54 อำเภอ 371 ตำบล 3,828 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู มุกดาหาร มหาสารคาม สกลนคร อุดรธานี บึงกาฬ และจังหวัดหนองคาย และมีแนวโน้มจะขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ดังนั้นจึงได้สั่งการให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องจักรเพื่อช่วยเหลือ และบรรเทาปัญหาภัยแล้งให้แก่ประชาชน ประกอบด้วย ชุดเจาะบ่อน้ำบาดาล จำนวน 88 ชุด ชุดเป่าล้างทำความสะอาดบ่อน้ำบาดาล จำนวน 79 ชุด ชุดซ่อมระบบประปา-เครื่องสูบ จำนวน 64 ชุด เครื่องสูบน้ำบาดาลสำรอง 612 ชุด ชุดสำรวจธรณีฟิสิกส์ จำนวน 17 ชุด ชุดปรับปรุงคุณภาพน้ำเคลื่อนที่ จำนวน 18 ชุด รถบรรทุกน้ำ จำนวน 110 คัน นอกจากนี้ยังได้เตรียมบ่อน้ำบาดาลที่สามารถใช้บรรเทาปัญหาภัยแล้ง จำนวน 151,604 บ่อ ระบบประปาบาดาลทั่วประเทศ จำนวน 34,900 ระบบ จุดจ่ายน้ำถาวร จำนวน 100 แห่ง ระบบน้ำดื่มสะอาดในโรงเรียนทั่วประเทศ จำนวน 2,010 ระบบ โดยมีโรงเรียนในโครงการน้ำโรงเรียนที่พร้อมเป็นจุดจ่ายน้ำสะอาดให้ความช่วยเหลือทันทีเมื่อเกิดพิบัติภัย จำนวน 413 แห่ง พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งระดมสรรพกำลัง เจ้าหน้าที่ อุปกรณ์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ พร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร

สำหรับการเดินทางตรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้งครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและคณะมีกำหนดตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของหน่วยเจาะบ่อน้ำบาดาล ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จำนวน 6 จุด ที่กำลังเร่งเจาะน้ำบาดาลเตรียมพร้อมรับมือปัญหาภัยแล้ง ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่บ้านหนองคอนเตรียม ตำบลหลักเหลี่ยม อำเภอนามน จังหวัดสกลนคร ที่บ้านโพนแคใหญ่และบ้านดอนดู่ ตำบลนาตงวัฒนา อำเภอโพนนาแก้ว และบ้านใต้ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดอุดรธานี ที่บ้านเชียงกรม ตำบลนาม่วง อำเภอประจักษ์ศิลปาคม และบ้านหนองไผ่น้อย ตำบลหนองไผ่ อำเภอหนองหาน

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้ความสำคัญเรื่องการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการร่วมกับแหล่งน้ำผิวดิน และการเจาะหาแหล่งน้ำบาดาล โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้เตรียมความพร้อมตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เพื่อสำรวจว่าพื้นที่ทั้งหมดในประเทศไทยตรงไหนมีน้ำบาดาลปริมาณเพียงพอ ขณะนี้รอรับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) อีก 2,000 กว่าแห่ง เมื่อเจาะได้น้ำบาดาลแล้ว จะทำเป็นระบบเพื่อกระจายน้ำไปสู่ภาคการเกษตร และทำต่อเนื่องจากปี 2555-2557 จะทำให้ประชาชนไม่ขาดน้ำในการอุปโภคบริโภคอย่างแน่นอน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ