เกมส์ร้ายละครแรงหมอชี้7พฤติกรรมคนยุคใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม

ศุกร์ ๐๙ พฤศจิกายน ๒๐๑๒ ๑๘:๒๑
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS)โดยศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ห่วงใยในพฤติกรรมการแสดงออกของเยาวชนที่เข้าถึงบทบาทในเกมส์ ละคร แล้วลอกเลียนแบบ ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตตนเองและผู้อื่น นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า จากภาพข่าวสะเทือนขวัญที่ปรากฏในสังคม สะท้อนพฤติก รรมรุนแรงที่ได้ตัวอย่างมาจากละคร เกมส์ หรือรายการโชว์ในฟรีทีวี เป็นปรากฏการณ์ที่สมองของมนุษย์สร้างรูปแบบการจดจำ จากงานวิจัยทางวิชาการ สามารถอธิบายได้เป็น 7 ปรากฏการณ์คือ

1. ปรากฏการณ์กระจกเงา (Mirror neuron) คือการเรียนรู้ของสมองโดยการจำลองภาพขึ้นมา เพื่อการจดจำที่แม่นยำขึ้น แต่ในขณะเดียวกันภาพที่สร้างขึ้นสมจริงและถูกปลูกฝังบ่อยๆ การแยกแยะออกจากความเป็นจริงจะทำได้ยาก โดยเฉพาะให้เด็ก 2. ปรากฏการณ์จิตวิทยาหมู่ (Mast phychology) เมื่อใดที่มนุษย์อยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ โดยมีผู้นำหรือผู้ชักนำกลุ่ม จะทำให้คนในกลุ่มมีพฤติกรร มเลียนแบบผู้นำโดยผู้นำจะมีอำนาจชักจูงในบุคคลในกลุ่มปฏิบัติตาม ดังนั้น ในการดูละครหรือโฆษณาจำเป็นต้องมีภาพที่ดีออกมาบ้าง เพื่อเป็นการนำกระแสสังคม เพราะข้อดีของจิตวิทยาหมู่คือ ถ้ามีผู้นำที่ดีก็จะสร้างให้เป็นพลังช่วยเหลือสังคมที่สำคัญได้

3. ปรากฏการณ์ติดสังคมออนไลน์ไม่อยู่ในโลกความเป็นจริง เป็นปัญหาที่ทำให้คนยุคใหม่ด้อยมนุษย์สัมพันธ์ไปส่วนหนึ่ง เพราะอยู่ติดกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทำให้การปฏิสัมพันธ์โดยตรงเช่นการสัมผัส การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง กับคนอื่นน้อยลง โดยมีการศึกษาจากประเทศไต้หวันในปี 2009 พบว่า คนที่หมกมุ่นกับคอมพิวเตอร์มากจนเกินไปจะทำให้มีปัญ หาเรื่องการคบคน หรือมีนิสัยก้าวร้าวได้

4. ไม่ค่อยอ่านหนังสือ การอ่านช่วยแก้ปัญหาความก้าวร้าวและติดจอได้มาก เพราะการอ่านทำให้สมองได้คิด ฝึกจิตให้ใช้จินตนาการในการสร้างภาพ ส่งเสริมทั้งปัญญาและสมาธิ 5. บ้านไม่อบอุ่น ความรักเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆของคนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักเพราะคนที่เกิดมาในครอบครัวที่ไม่อบอุ่นแต่เรียนรู้ที่จะคบเพื่อน เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิต ก็เป็ นคนดีอยู่มาก ข้อนี้อยากเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลกันอย่างใกล้ชิด ไม่ใช้โทรทัศน์เลี้ยงลูก หรือปล่อยให้เด็กดูโทรทัศน์โดยไม่ได้รับคำแนะนำ เป็นผลให้เด็กเลียนแบบกับเพื่อนหรือกับตัวเองหรือปล่อยให้เด็กอยู่แต่ในร้านเกมส์

6. สนใจแต่วัตถุภายนอก พ่อแม่บางคนตอบสนองความต้องการของลูกด้วยการหาวัตถุมาให้ ส่งลูกเรียนพิเศษจนเวลาที่อยู่บ้านน้อยมาก พ่อแม่คอยป้อนวัตถุและสั่งสอนให้เป็นคนดีแต่ที่ให้ไม่ได้คือเวลา ผลลัพท์คือได้เด็กที่ไอคิวสูง แต่อีคิวต่ำ ก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนที่หาได้ง่ายในปัจจุบัน ที่สำคัญคือเงิน ทองและสิ่งของนั้นจะไร้ค่าและไร้ความหมายหายไม่มีความรักเข้ามาด้วย

7. บอกรักออนไลน์ เป็นโรคของคนรุ่นใหม่ที่ใช้สมาร์ทโฟนสื่อความรู้สึก ทั้งการส่งข้อความ แชท เฟสบุ๊ค จนลืมมานั่งดูหน้าจ้องตากันด้วยความรัก ทำให้ความสัมพันธ์จางลงได้ เพราะลึกๆแล้วในความใกล้ชิดกันในโลกออนไลน์มันก่อให้เกิดความห่างเหินกันในโลกความเป็นจริง วิธีแก้คือแบ่งเวลาอยู่ร่วมกันเพื่อให้ชีวิตได้มี “นาทีทอง” ร่วมกัน

ทั้ง 7 ข้อคือปรากฏการณ์ใหม่ของสังคมที่เข้ามากระทบกับชีวิตของเราอย่างมาก ปัญหาเด็กผูกคอตายเลียนแบบละคร หรือกลายเป็นฆาตกรรมโหดจากการเล่นเกมส์โดยขาดความยับยั้งชั่งใจ นั้นไม่ได้ไกลตัวเราเลย เพราะความก้าวร้าวรุนแรงในสังคมสะท้อนออกมาตามสื่อที่หาดูได้ง่ายทำให้เด็กจำและสะสมในเซลล์ประสาทกระจกเงา (Mirror neuron) ทำงานและเกิดพฤติกรรมดังกล่าวโดยไม่รู้ตัว

ติดต่อ:

www.tcels.or.th, 02-6445499

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ