มร. โจเซฟ เคซี โล กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไมเร็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัท ไมย์เออร์ กรุ๊ป หนึ่งในผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องครัวที่ใหญ่ที่สุดของโลก มีฐานการผลิตอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ประเทศอิตาลี จีน และประเทศไทย ซึ่งฐานการผลิตในประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของไมย์เออร์กรุ๊ป จากกำลังการผลิตของบริษัทกว่า 100 สายการผลิต ทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของบริษัท ซึ่งสายการผลิตในประเทศไทยเน้นผลิตเครื่องครัวอลูมิเนียมที่เคลือบสารที่ทำให้อาหารไม่ติดพื้นผิว ฮาร์ดอะโนไดซ์ และเครื่องครัวสแตนเลส โดยส่งออกไปยังต่างประเทศกว่า 30 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, แคนาดา, ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, จีน ฯลฯ
“บริษัทฯ ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องครัวเพื่อตอบสนองความต้องการของคนทุกกลุ่ม โดยเน้นคุณภาพมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก และใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยในประเทศไทยได้คัดเลือก 4 แบรนด์หลัก เพื่อเป็นหัวหอกในการบุกตลาด และสร้างยอดขายให้กับบริษัทผ่านดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ และไฮเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายในระดับ A — C+ ประกอบด้วย 1) Meyer เครื่องครัวคุณภาพในราคาสมเหตุสมผล เน้นประโยชน์ใช้สอยและประกอบอาหารครัวเรือนประจำวันสำหรับคนทั่วไป 2) Circulon เครื่องครัวคุณภาพที่โดดเด่นด้านดีไซน์พร้อมนวัตกรรม Hi-Low Wave Innovation เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ 3) Anolon เครื่องครัวสำหรับการสร้างสรรค์อาหารอย่างมืออาชีพ ด้วยคุณสมบัติของฮาร์ดอะโนไดซ์ พร้อมสารเคลือบที่มีคุณภาพสูงสุด Autograph 2 โดยได้รับการแนะนำและยอมรับจากเชฟระดับโลก และผู้เชี่ยวชาญอาหารจากองค์กรต่างๆ 4) Prestige แบรนด์ที่มีอุปกรณ์เครื่องครัวสแตนเลสครบครัน ประกอบด้วยเครื่องครัว, หม้ออัดแรงดัน, มีด รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งนอกจากนี้ภายใต้แบรนด์ต่างๆ ทางบริษัทฯ ยังได้แบ่งเครื่องครัวตามคุณภาพและราคาเป็น 3 ระดับคือ ระดับเครื่องครัวที่มีคุณภาพ, ระดับเครื่องครัวที่มีคุณภาพดีขึ้น และระดับเครื่องครัวที่มีคุณภาพดีที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการ และความพึงพอใจของลูกค้าให้ได้มากที่สุด
ฐานการผลิต บริษัท ไมย์เออร์ กรุ๊ป ในประเทศไทย ก่อตั้งในปี ค.ศ.1992 มีพื้นที่ใช้สอยกว่า 230,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยกลุ่มโรงงานของไมย์เออร์ เรามีตั้งแต่โรงงานวัตถุดิบอัดแผ่นอลูมิเนียม โรงงานประกอบขึ้นรูป จนถึงโรงงานบรรจุภัณฑ์ มีกำลังการผลิตได้ถึง 150,000 ใบต่อวัน และส่วนคลังสินค้าที่มีความสูง 11 ชั้นและมีพื้นที่ใช้สอยถึง 90,000 ตารางเมตร สำหรับเก็บวัตถุดิบและสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วเพื่อเตรียมส่งออก ซึ่งใช้งบประมาณการลงทุนสร้างฐานการผลิตในประเทศไทยกว่า 6,000 ล้านบาท ดำเนินการและความคุมการผลิตด้วยเทคโนโลยีและระบบปฏิบัติการที่มีมาตรฐานระดับโลก
ฐานการผลิตของบริษัทที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ได้ดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามที่ CMA (Cookware Manufacturers Association of the U.S. ) และ European กำหนดไว้ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์บางประเภทของบริษัทยังได้รับประกาศนียบัตร NSF (Non Profit Organization for Public Health and safety in U.S) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีพันธกิจในด้านสาธารณสุข และสนับสนุนให้ประชาชนดำเนินชีวิตด้วยความปลอดภัย ซึ่งสิ่งนี้ก็เป็นเครื่องยืนยันได้ถึงมาตรฐานการผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง
มร.โจเซฟ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดเครื่องครัวในประเทศไทยมีการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะในด้านราคา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเครื่องครัวที่มาจากประเทศจีน ที่มีราคาถูกกว่าและคุณภาพด้อยกว่าผลิตภัณฑ์ของเรา และอีกปัจจัยที่สำคัญคือพฤติกรรมการใช้เครื่องครัวของคนไทยมักเน้นใช้เครื่องครัว สแตนเลส และอลูมิเนียม ซึ่งของบริษัทมีความโดดเด่นในด้านเครื่องครัว non-stick ซึ่งตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องครัวและอุปกรณ์ ในครัวต่างๆ ในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยอาจจะแบ่งเป็นมูลค่าอุตสาหกรรมจากหม้อและกระทะประมาณร้อยละ 50 หรือคิดเป็นมูลค่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจากมูลค่าตลาดรวม โดยบริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 15
สำหรับในปี 2556 บริษัทตั้งเป้าการขาย 200 ล้านบาท อันเป็นผลมาจากการเปิดไมย์เออร์โชว์รูมแห่งใหม่ ณ อาคารเตียวฮง ถนนบางนา บูติกโชว์รูมที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ค้นพบประสบการณ์ใหม่ในการทำอาหาร โดยสามารถเลือกอุปกรณ์ครัวและเครื่องครัวต่างๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการ ด้วยการแนะนำของพนักงานที่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องครัวเป็นอย่างดี พร้อมห้องครัวสำหรับทดลองทำเมนูอาหารหรือเป็นสถานที่สำหรับ Workshop เฉพาะสำหรับลูกค้า นอกจากนี้ ยังมีการเปิดโชว์รูมในเชียงใหม่ เพื่อให้การกระจายสินค้าไปยังแถบจังหวัดภาคเหนือ สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น และขยายโอกาสในการเปิดตลาดใหม่ๆ ในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ พม่า ลาว เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั่วโลกไม่เพียงเท่านี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการทดลองใช้ของผู้บริโภค เราได้วางแผนการทำสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงลูกค้าทุกกลุ่ม เพื่อสร้างการรับรู้และความมั่นใจ อีกทั้ง ยังพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องครัวของบริษัทอย่างต่อเนื่อง ให้ตรงกับความต้องการตามไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ทันสมัยในปัจจุบันของผู้บริโภคไม่เพียงแต่ในกรุงเทพและจังหวัดหัวเมืองใหญ่ๆ แต่ยังรวมถึงในแต่ละภาคของประเทศอีกด้วย
สำหรับการประเด็นการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) น่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้เราสามารถขยายตลาดไปยังกลุ่มผู้บริโภคในอาเซียนได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้เรามุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องครัวของบริษัทมากขึ้น เนื่องจากผู้แข่งขันในตลาดก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทก็ได้รับผลกระทบจากน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 4-5 และค่าแรงงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามค่าแรงขั้นต่ำร้อยละ 10-15 อย่างต่อเนื่อง แต่บริษัทก็ยังคงมั่นใจในศักยภาพของแรงงานไทยและตลาดเครื่องครัวของประเทศไทย