สถาปนิกฟันธงอนาคตสถาปัตยกรรมไทย 10 ปีข้างหน้าเปลี่ยนแปลงแน่

พฤหัส ๒๙ พฤศจิกายน ๒๐๑๒ ๑๖:๕๓
บริษัท เอสซีจี เอ็กซ์พีเรียนซ์ จำกัด จัดงานเสวนาประจำปี ณ คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์ (CDC) ในหัวข้อ SHAPE OF THE FUTURE: Architecture in Thailand 2022 ซึ่งเป็นการเสวนาวิเคราะห์ทิศทางสถาปัตยกรรมประเทศไทยในอีก 10 ปี ข้างหน้า โดยมีสถาปนิก สื่อมวลชน นิสิตนักศึกษา สนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

คุณชัชวาลย์ เศรษฐบุตร กรรมการผู้จัดการ (Chief Experience Maximizer) บริษัท เอสซีจี เอ็กซ์พีเรียนซ์ จำกัด กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า "เป็นกิจกรรมเสวนาเพื่อลูกค้ากลุ่มสถาปนิกประจำปีของเอสซีจี เอ็กซ์พีเรียนซ์ (SCG Experience) นี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ต่อจากปีที่แล้ว เพื่อเป็นการต่อยอดทาง ความคิด และตั้งประเด็นเพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมในอนาคตโดยมีพัฒนาการของเทคโนโลยี วัสดุก่อสร้าง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ที่เป็นตัวแปร ส่งผลต่อทิศทางของสถาปัตยกรรมในบ้านเราในอีกหนึ่งทศวรรษข้างหน้า”

สถาปนิกรุ่นใหม่ไฟแรง และมีผลงานระดับโลก ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นถึงงานด้านสถาปัตยกรรมในอีก 10 ปีข้างหน้า มีความเห็นตรงกันว่าภัยธรรมชาติมีส่วนให้สถาปัตยกรรมเปลี่ยนให้คนอยู่และปรับตัวเข้ากับธรรมชาติมากขึ้น และมีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้

คุณสุรชัย เอกภพโยธิน จาก OFFICE [AT] “ต่อไปสถาปัตยกรรมจะมีฟอร์มที่แปลกไปมีความน่าสนใจดึงดูดใจให้มาเยี่ยมชม และมีการนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นจึงทำให้มีรูปทรงซับซ้อนขึ้น สามารถออกแบบวัสดุขึ้นมาเฉพาะอาคารหรือบ้านแต่ละหลังที่แตกต่างกันได้ มีการออกแบบวัสดุให้มีลวดลายได้เองตามต้องการ และวัสดุสำเร็จรูปจะมีบทบาทมากขึ้นเพื่อทดแทนแรงงานที่เริ่มน้อยลง ต่อไปแนวโน้มคนเมืองส่วนใหญ่จะอยู่อาศัยในคอนโดที่มีขนาดเล็ก เกิดพื้นที่ฟังก์ชั่นต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น ที่รับฝากของ ห้องสมุด มีที่จอดจักรยาน ที่อาบน้ำ เป็นต้น”

คุณวสุ วิรัชศิลป์ จาก VaSLab “กรุงเทพฯ ในอนาคตจะเป็นการผสมผสานของ Civilization กับ Underground มีตึกสูง โรงแรมหรู แต่ยังคงเสน่ห์ความมีชีวิตชีวาของเมืองไทย ต้องดูบริบทของเมืองในการออกแบบที่อยู่อาศัยด้วย มีวิธีการดูแลบ้านเองได้ เช่นมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีป้องกันอาชญากรรมได้”

คุณอรรถพร คบคงสันติ จาก T.R.O.P “งานภูมิสถาปัตย์ต้องคำนึงถึงการปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติให้ได้ โดยใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด เนื่องจากที่ผ่านมาเราใช้ทรัพยากรธรรมชาติมามาก ต่อไปต้องคำนึงถึงคนรุ่นลูกรุ่นหลานให้มีทรัพยากรไว้ใช้ต่อไป และอยากเห็น 4-5 ชั้นแรกของอาคารสูงเป็นพื้นที่สีเขียว”

พร้อมข้อคิดเตือนใจว่าสถาปัตยกรรมไม่ใช่แฟชั่น แต่เป็นการสร้างสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่างดงาม ตอบสนองการใช้งานได้จริง และควรคิดถึงปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ