มรภ.สงขลา ชงแผนแก้ชายแดนใต้ เสนอรัฐผ่านงบ 280 ล. พัฒนาการศึกษา

อังคาร ๑๑ ธันวาคม ๒๐๑๒ ๑๑:๕๓
มรภ.สงขลา เสนอแผนงานแก้ปัญหาชายแดนใต้ มูลค่ากว่า 280 ล้าน ชง 7 โครงการ อาทิ อบรมภาษาอังกฤษ มลายู จีน ทำหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพิ่มทักษะบริการภาคธุรกิจโรงแรม หวังพัฒนาการศึกษารอบด้าน

ดร.แสนศักดิ์ ศิริพานิช รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและชุมชนสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการร่วมประชุมบูรณาการขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีงบประมาณ 2556-2557 ตามนโยบายและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี นำโดย นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และ นายทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ ห้องประชุม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อ.เมือง จ.ยะลา ซึ่ง มรภ.สงขลา ได้บรรจุแผนงานเสนอรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 7 โครงการ รวมงบประมาณ 280,800,000 บาท ประกอบด้วย โครงการก่อสร้าง มรภ.สงขลา วิทยาเขตสตูล ปีงบประมาณ 2556 45,900,000 บาท และปีงบประมาณ 2557 274,800,000 บาท โครงการอบรมมัคคุเทศก์ทั่วไปภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ/มลายู/จีน) ในพื้นที่ จ.สตูล-สงขลา 2,000,000 บาท โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนใต้ (จ.สตูล) 1,500,000 บาท โครงการสานสัมพันธ์ชายแดนใต้ผ่านค่ายวิชาการ (จ.สตูล-สงขลา) 1,000,000 บาท โครงการศึกษาและจัดทำหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (จ.สตูล) 500,000 บาท โครงการพัฒนาทักษะการให้บริการในภาคธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร (จ.สตูล-สงขลา) 500,000 บาท โครงการศึกษาอัตลักษณ์ทางภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรมในเขตจังหวัดชายแดนใต้ (จ.สตูล) 500,000 บาท

ดร.แสนศักดิ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการในครั้งนี้ เกิดจากการประชุมของนายกรัฐมนตรีในการติดตามความก้าวหน้าทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยระบบทางไกล หรือ Video Conference เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ที่ผ่านมา ซึ่งนายกรัฐมนตรีแสดงความห่วงใยต่อประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษา โดยให้ทุกหน่วยงานร่วมกันเร่งรัดจัดทำแผนงาน/โครงการให้แล้วเสร็จ เพื่อเสนอรัฐบาลโดยเร็ว โดยจัดทำแผนพัฒนาระบบหลักสูตรและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา เพิ่มค่าตอบแทนสวัสดิการครูทั้งสายสามัญและศาสนาควบคู่กัน ซึ่งจะต้องเน้นในเรื่องของภาษา เช่น ภาษาไทย ภาษามลายู และภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับการเปิดประตูสู่อาเซียน และทางรัฐบาลจะเพิ่มโควตาพิเศษสำหรับทุนการศึกษาของนักเรียน/นักศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เรียนระดับที่สูงขึ้นในต่างประเทศ เพื่อกลับมาสอนและพัฒนาบ้านเกิด พร้อมกันนี้อยากให้พัฒนาการศึกษาควบคู่กับการพัฒนาอาชีพ โดยดึงภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นจุดขาย เพื่อส่งออกสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งประชาชนที่มีความประสงค์จะทำธุรกิจ สามารถกู้ยืมเงินจากรัฐบาล เพื่อต่อยอดการทำธุรกิจท้องถิ่น ทั้งนี้จะเพิ่มศักยภาพความเท่าเทียมกันในบทบาทของชายและหญิงด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ