WWF ร่วมเรียกร้องทุกฝ่ายต่อต้านการค้าสัตว์ป่า ในโอกาสวันคุ้มครองสัตว์ป่าของสหรัฐฯ

อังคาร ๑๑ ธันวาคม ๒๐๑๒ ๑๓:๓๐
ขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่า กำลังคุกคามความมั่นคงและมั่งคั่งของผู้คนทั่วโลก และเป็นเครือข่ายอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่มีมูลค่ามหาศาลบนกองเลือดและความสูญเสียของสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ มีรายงานช้างถูกฆ่าเอางาปีละ 12,000 ตัว WWF ประเทศไทย ร่วมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายตระหนักรู้และมีส่วนร่วมกับนักอนุรักษ์ในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่า ซึ่งก่อนหน้านี้ นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้กล่าวปราศรัยมีใจความสำคัญในโอกาสวันคุ้มครองสัตว์ป่าของสหรัฐฯ 4 ธันวาคม 2555 ว่า การค้าสัตว์ป่า เป็นอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ และไม่ใช่เป็นแค่ปัญหาของประเทศโพ้นทะเล แต่เป็นความท้าทายของผู้คนทั่วโลก

การต่อต้านขบวนการค้าสัตว์ป่า ไม่ใช่เพียงเพราะ เราทุกคนรักและห่วงใย ช้าง แรด และเสือ แต่ผู้พิทักษ์ป่าที่อยู่แนวหน้าในการอนุรักษ์ถูกสังหาร ชุมชนท้องถิ่นที่การดำรงชีวิตและยังชีพด้วยธุรกิจการท่องเที่ยว กำลังถูกปล้นสดมภ์ การคอรัปชั่นและการคุกคามพยานบั่นทอนการพยายามบังคับใช้กฎหมาย การลักลอบค้าสัตว์ และชิ้นส่วนของสัตว์ยังเป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคระบาด ขณะที่ความมั่นคงในระดับภูมิภาคถูกแทรกแซงด้วยการติดสินบนกองกำลังติดอาวุธ ให้สร้างความไร้เสถียรภาพในภูมิภาค

รายงานของ WWF พบว่า มีแรดถูกล่าเอานอในอัฟริกาใต้เพิ่มขึ้นถึง 3,000 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปี 2007-2011 และมีการค้านอแรดมากกว่า 8 ตันในตลาดเอเชีย ขณะที่เสือถูกล่าเอาทุกชิ้นส่วนตั้งแต่หนวดถึงหาง ขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่าจึงกำลังคุกคามประชากรเสือซึ่งมีหลงเหลือทั่วโลกเพียง 3,200 ตัว และทุกปีมีรายงานช้างถูกฆ่าเอางา 12,000 ตัวโดยประมาณ

WWF ประเทศไทย รณรงค์ต่อต้านการค้าสัตว์ป่าและต่อต้านการค้างาช้าง เรียกร้องให้ทุกภาคส่วน ทั้งรัฐบาล เอกชน และประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมผลักดันรัฐบาลให้มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปกป้องคุ้มครองช้าง และสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ เป็นปากเสียงแทนผู้พิทักษ์ป่าที่ทำงานอย่างหนักอยู่แนวหน้าในการคุ้มครองสัตว์ป่า รวมทั้งลดและเลิกค้าและซื้อชิ้นส่วนสัตว์ป่าทุกชนิด ขณะที่ ประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ต้องปฎิบัติตามพันธกรณีและข้อกำหนดของอนุสัญญาฯ อย่างเคร่งครัด เพื่อคงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธ์แห่งบทบาทของอนุสัญญาฯ ในการคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชป่ามิให้สูญพันธุ์รวมทั้งควบคุมการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ให้เป็นไปอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประเทศภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (The Conference of the Parties to the Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora, CITES COP16) ระหว่างวันที่ 3-15 มีนาคม 2556

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ เพชร มโนปวิตร ผู้จัดการฝ่ายงานอนุรักษ์ WWF ประเทศไทย โทร.+ +662 619 8534-37 Ext 107, +66891811444, Email [email protected] เอื้อพันธ์ ชำนาญเอื้อ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร WWF ประเทศไทย โทร.+662 619 8534-37 Ext 106, +668 19282426, Email [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ