นาย ปิตุภูมิ หิรัณยพิชญ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เท็ดดี้ เฮ้าส์ จำกัด ผู้ผลิตตุ๊กตาหมีสัญชาติไทย เผยการเตรียมความพร้อมสำหรับAECว่า “เท็ดดี้ เฮ้าส์ เริ่มเข้าตลาดอาเซียนมา 3-4 ปีแล้ว ตั้งแต่ตลาดยุโรปมีปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและเศรษฐกิจไม่ดี ยุโรปเลยไม่ได้เป็นเป้าหมายหลักอีกต่อไป เป้าหมายสำคัญตอนนี้คือ เอเชีย ปัจจุบันเรามี 13 สาขา ใน 3 ประเทศ คือ เวียตนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย ทั้งหมดเป็นรูปแบบ Franchise ส่วนทางสิงคโปร์เป็นแบบ ตัวแทนจำหน่าย ตอนนี้เรากำลังเตรียมความพร้อมเรื่องคน ภาษา ความสามารถ และความคิดเป็นเรื่องสำคัญที่พนักงานในส่วนที่เกี่ยวข้องต้องปรับตัว นอกเหนือจากนั้น สามารถกล่าวได้ว่าเราค่อนข้างพร้อมสำหรับ AEC เพราะเรื่องใหญ่ๆอย่างการจดทะเบียนตราสินค้า เราได้ทำเสร็จไปหมดแล้ว ต่อจากนี้เราคงมองไปที่เรื่องของการลงทุนเปิดบริษัทร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่ อินโดนีเซีย พร้อมกับการขยายสาขาเพิ่มในประเทศคู่ค้าเดิม และกำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะเปิดตลาดในมาเลเซียและเกาหลีต่อไป
จุดแข็งของเราอยู่ที่ สินค้าและแบรนด์ แต่กว่าแบรนด์จะได้รับการยอบรับก็ใช้เวลาหลายปีและเราก็ทำได้ดีตลอดเวลาที่ผ่านมา เห็นได้จากฟี๊ดแบคใน facebook ซึ่งมีการ active อยู่ตลอดเวลา มีแฟนเพจเกือบ 150,000คน สินค้าก็เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เราได้รับการยอมรับเพราะเรามีสินค้าระดับ พรีเมียม มีคอนเซ็ปต์ที่แตกต่างอย่างชัดเจน มีดีไซด์ที่เป็นเอกลักณ์ของเรา นอกจากนั้นเรามีโรงงานผลิตเป็นของเราเอง และต้องยอมรับว่าลูกค้ากลุ่มยุโรปของเราที่ผ่านมา ให้ประสบการณ์กับเราไว้เยอะมาก ทั้งเรื่องการควบคุมคุณภาพและดีใซน์
ใน ปัจจุบันสัดส่วนการตลาดของเท็ดดี้ เฮ้าส์ ทั้งในและต่างประเทศ คือ 60/40 โดย 60% จะเป็นตลาดในประเทศที่มีสาขาอยู่ตามห้างCentral 9 สาขา และ stand alone ที่ สยามสแควร์ซอย 11 Central พระราม 9 และCentral World ,งามวงศ์วาน และต่างจังหวัดอีก 10 จังหวัด 14 สาขา รวม 29 สาขา ส่วนอีก 40% จะเน้นตลาดในแถบอาเซียน
สิ่งหนึ่งที่ทางเท็ด ดี้ เฮ้าส์คาดหวังจากการเปิด AEC ในครั้งนี้คือเรื่องของ”ภาษี” เนื่องจากเท็ดดี้ เฮ้าส์มีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศและมี Franchisee ในต่างประเทศทำให้ ต้องเสียภาษีนำเข้า จึงมีผลทำให้ต้นทุนสินค้าค่อนข้างสูง จึงคาดหวังว่าการเปิด AEC จะมีผลทำให้ภาษีลดต่ำลง ถึงแม้ค่าแรงพนักงานจะสูงขึ้นแต่เท็ดดี้ เฮ้าส์ ก็ยังยืนยันที่จะตั้งฐานการผลิตอยู่ในเมืองไทย เพราะมั่นใจในฝีมือของคนไทย เราเชื่อว่าคนไทยทำได้ดีที่สุด เราเป็นแบรนด์คนไทย เราก็อยากสนับสนุนคนไทยได้มีงานทำ เราภูมิใจตรงนี้
สิ่งที่เป็นกังวลกับการเปิด AEC คือ เรื่อง "การถูกละเมิดสิทธิและเรื่องเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศ" เราอยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยสนับสนุนแบรนด์คนไทยอย่างเต็มที่ เช่น การมีเจ้าหน้าที่ประจำที่ดูแลเรื่องนี้เพราะหากแต่ละแบรนด์ต้องดำเนินการเอง จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เพราะการให้คำแนะนำอย่างเดียวไม่เพียงพอ ภาครัฐจำเป็นต้องเข้ามาช่วยดำเนินการอย่างเต็มที่
และสิ่งที่อยากจะฝากถึงแบรนด์คนไทยที่กำลังเตรียมความพร้อมสำหรับ AEC คือ "หากผู้ประกอบการมีเครื่องหมายการค้า ของตนเองแล้ว แนะนำให้ดำเนินการจดทะเบียนในประเทศที่คุณวางแผนจะทำธุรกิจไว้แต่เนิ่นๆ ไม่ต้องรอให้ไปขายก่อนแล้วค่อยทำ"