อาจารย์ชนะ รุ่งแสง นายกสภาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก มอบเกียรติบัตรและให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการ ICT for All ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕

พฤหัส ๑๓ ธันวาคม ๒๐๑๒ ๑๖:๒๙
เรื่อง “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับพระพุทธศาสนา”

อาจารย์ชนะ รุ่งแสง นายกสภาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก, กรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, ที่ปรึกษาสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ได้มอบเกียรติบัตรและให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมการประชุมทางวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกันประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เรื่อง “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับพระพุทธศาสนา” หรือ ICT for All Symposium 2012 on “ICT and Buddhism” เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๑๒.๓๐ —๑๘.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ชั้น ๕ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ถนนงามวงศ์วาน อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จัดโดย ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน (ICT for All Club -- www.ictforall.org) และภาคีองค์กรร่วมจัด ได้แก่ สภาองค์กรพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย สมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย สมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตย สภาพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง และสมาคมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ อาจารย์ชนะ รุ่งแสง ได้เมตตาบริจาคเงินสนับสนุนการจัดประชุมวิชาการดังกล่าวด้วย

ที่ประชุมวิชาการครั้งนี้ มีความเห็นร่วมกันว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าเข้าถึงและเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างขวางไปทั่วโลก ภายใต้บริบทและแนวโน้มของประชากรโลกที่จะใช้ชีวิตในโลกออนไลน์ หรืออินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผ่านเครื่องมือต่างๆ ทั้งเครืองคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดังนั้น ประเทศไทยควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก แต่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว ต้องเป็นไปอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ รวมทั้ง ไม่เป็นการบิดเบือนพระธรรม คำสอนของพระพุทธศาสนาตามพระไตรปิฏก

โดยมีข้อเสนอแนะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีดังนี้

๑. ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลกอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาเว็บไซต์ห้องสมุดพระพุทธศาสนาโลก (www.buddhist-elibrary.org) ให้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

๒. การฝึกอบรมแก่พระสงฆ์ สามเณร และผู้ที่สนใจโดยทั่วไป เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เพื่อการเข้าถึงและเผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมถึงกำหนดแนวปฏิบัติในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสม ถูกต้องตามพระธรรมวินัย สำหรับพระสงฆ์ สามเณร

๓. ส่งเสริมและสนับสนุนให้วัด สำนักสงฆ์ที่มีความพร้อมเป็นที่ตั้งของศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน และเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาผ่านระบบ e-Learning รวมถึงจัดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมด้วย

๔. พัฒนา Course Ware หรือแอพพลิเคชันที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมะ สำหรับแท็บเล็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ เผยแพร่ในทุกระดับชั้นการศึกษา และประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ

๕. สนับสนุนให้วัดต่างๆ ทั่วประเทศ มีเว็บไซต์ของวัด เพื่อเป็นการสื่อสารสองทางกับประชาชน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้คนมีความใกล้ชิดธรรมะมากขึ้น ทั้งนี้ โดยภาครัฐควรเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์และการเช่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของเว็บไซต์

๖. ควรมีองค์กรและผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานและตรวจสอบเนื้อหาของธรรมะที่เผยแพร่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะทางเว็บไซต์ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเนื้อหานั้น มีความถูกต้องตามพระไตรปิฎก

๗. สนับสนุนให้มีการแปลหนังสือธรรมะเป็นภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ แล้วนำขึ้นเผยแพร่ทางเว็บไซต์ หรือในรูปแบบ e-Book เพื่อให้ผู้ที่สนใจ โดยเฉพาะชาวต่างประเทศสามารถเข้ามาศึกษาได้

เมื่อดำเนินการได้ดังนี้แล้ว ก็เชื่อได้ว่าเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่กับมนุษยชาติสืบต่อไป ดังพระสัมโมทนียถา เจ้าพระ

คุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ความสำคัญตอนหนึ่งว่า

“...ปัจจุบัน แม้ว่าจะได้มีการแปลหลักธรรมคำสอนออกเป็นภาษาต่างๆ ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ และมีการเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ เป็นภาษาต่างๆ ทั่วโลก จนอาจกล่าวได้ว่ายุคนี้เป็นยุคที่ธรรมะไปไกล ไปถึงทุกประเทศทุกมุมโลก

แต่ทว่าความต้องการศึกษาค้นคว้าธรรมะ ยังไม่มีที่สิ้นสุด เห็นได้จากผลสำรวจของสมาคมบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตที่พบว่าตามโรงแรมและสถานพักผ่อนหย่อนใจแหล่งท่องเที่ยว สถานที่ติดต่อธุรกิจและการงานต่างๆ รวมถึงสถานที่สำคัญต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก และในประเทศไทยเองยังขาดแคลนสื่อธรรมะในการหลักธรรม เมื่อเทียบกับศาสนาอื่นๆ

ประเทศไทย ในฐานะเป็นประเทศชั้นนำที่เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเกิดการรวมตัวระหว่างเครือข่ายคณะสงฆ์และคฤหัสถ์เพื่อร่วมกันบริจาค ผลิตสื่อคำสอนและหลักธรรมคำสอนที่เข้าใจง่าย ไม่สลับซับซ้อนให้ปรากฏทุกหนทุกแห่งทั่วโลกอย่างเป็นรูปธรรม ถือเป็นภารกิจสำคัญที่จำเป็นเร่งด่วนที่สมควรผลักดันและสนับสนุนให้เป็นนโยบายของประเทศในการเป็นศูนย์กลางเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ทุกภาคส่วนของประชาคมโลก...”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version