มธ โชว์ศักยภาพความเป็นหนึ่งด้านการวิจัย จัดงานประชุมเครือข่ายวิชาการบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (GS-NETT 2012)

พฤหัส ๑๓ ธันวาคม ๒๐๑๒ ๑๗:๑๕
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โชว์ความเป็นหนึ่งด้านการวิจัย ก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย (Research University) พร้อมสนับสนุน ส่งเสริม พัฒนาและสร้างโอกาสให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

รศ. พรชัย ตระกูลวรานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึง การจัดงาน “การประชุมเครือข่ายวิชาการบัณฑิตศึกษา แห่งชาติ ครั้งที่ 1 (GS-NETT 2012)” ว่า โลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องให้ความสำคัญเพื่อรองรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นและมีการวางแผนที่ดีเพื่อเตรียมพร้อมในทุกๆ ด้านในการก้าวไปสู่การสร้างโอกาสให้ประเทศไทยมีความมั่นคงก่อนก้าวสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะภาคส่วนด้านการศึกษา โดยจะเห็นได้จากการที่มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศ ต่างก็สนใจที่จะผนึกกำลังในการสร้างความร่วมมือร่วมใจกัน เพื่อให้มีพื้นที่ในการนำเสนอผลงานวิจัยเรื่องต่างๆ นำไปใช้ประโยชน์และสามารถนำไปต่อยอดได้

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายชัดเจนที่จะมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย(Research University)ด้วยการสนับสนุน ส่งเสริม พัฒนาและสร้างคุณภาพผลงานวิจัยไปสู่องค์ความรู้และวิทยาการใหม่ๆในด้านวิชาการ งานวิจัยของไทยในอนาคต ฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย จึงกำหนดงาน “การประชุมเครือข่ายวิชาการบัณฑิตศึกษา แห่งชาติ ครั้งที่ 1 หรือ “GS-NETT 2012” ขึ้น เพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่ผลงานวิจัยและการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาเอก และนักศึกษาระดับปริญญาโท (แผน ก. และแผน ข.)ในสาขาต่างๆ จำนวน ๔ กลุ่มสาขา ได้แก่ สาขาสังคมศาสตร์ สาขามนุษยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อเป็นการสนับสนุน ส่งเสริมและเผยแพร่งานวิจัยที่มีคุณภาพและมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้ประโยชน์สูงสุดกับผู้เข้าร่วมโครงการตลอดจน ผู้ที่สนใจทั่วไป

การประชุมเครือข่ายวิชาการบัณฑิตศึกษา แห่งชาติ ครั้งที่ 1 จะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2555 ณ.ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยจะมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 200 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิจัยและนักวิชาการ ผู้สนใจงานวิจัยทั่วไป มีการนำเสนอผลงานทางวิชาการ และการแสดงนิทรรศการผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่โดดเด่นใน 4 กลุ่มสาขาวิชา คือ สาขาสังคมศาสตร์ สาขามนุษยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมกว่า 100 ผลงาน

การจัดงานครั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งหวังให้นักศึกษาที่ได้รับรางวัลมีความภาคภูมิใจและเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและคุณค่า อีกทั้งยังเป็นเวทีในการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์ในการทำวิทยานิพนธ์ ของนักศึกษารุ่นหลังต่อไป รศ. พรชัย กล่าวในตอนท้าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์

นันทพร บุญ-หลง,สมฤทัย ผลพละ

บริษัท สยาม พีอาร์ คอนซัลแทนท์ จำกัด

โทร. 0-2693-7835-8 ต่อ 20,21

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ