อินเทลนำเสนอ “ห้องเรียนแห่งอนาคต”

อังคาร ๑๘ ธันวาคม ๒๐๑๒ ๑๕:๐๖
ประเด็นข่าว:

โมเดลห้องเรียนแห่งอนาคตเป็นโซลูชั่นประกอบการเรียนการสอน ในรูปแบบของ อี-เลิร์นนิ่ง ซึ่งนักเรียนทุกคนได้ใช้คอมพิวเตอร์คนละเครื่องในห้องเรียน (1:1 eLearning) ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2555 นี้เป็นต้นไป อินเทลได้จัดทำโครงการนำร่องครั้งที่สอง ภายใต้แนวคิด “ห้องเรียนแห่งอนาคต” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนทวีธาภิเศก และโรงเรียนวัดราชาธิวาส เพื่อสนับสนุนนโยบายแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา (One Tablet Per Child) ของรัฐบาล โดยสิ่งที่อินเทลให้ การสนับสนุน ได้แก่

ติดตั้งระบบไอซีทีพื้นฐาน เพื่อแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและการเข้าถึงคอนเท้นท์ ประกอบด้วย ระบบการกระจายคอนเท้นท์ ไฟร์วอลล์ ระบบรับคอนเทนท์ และระบบบริหารจัดการในห้องเรียน (Content Distribution Network, Firewall, Content Caching, Classroom Management)

จัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรครู ควบคู่กับการอบรมผ่านโปรแกรม อินเทล ทีช และ อินเทล เลิร์นนิ่ง ซีรี่ส์ 1:1 เป็นต้น

โมเดลห้องเรียนแห่งอนาคตที่โรงเรียนทวีธาภิเศก และโรงเรียนวัดราชาธิวาส

1. อินเทลจัดหาแท็บเล็ตขนาดหน้าจอ 10 นิ้ว ที่ ให้กับโรงเรียนเพื่อใช้ในการ ศึกษาสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในช่วงระหว่างการดำเนินงานโครงการนำร่อง โดยเริ่ม ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2555

โรงเรียนวัดราชาธิวาส 1 ชั้นเรียน และนักเรียนพิเศษ 1 ชั้นเรียน

โรงเรียนทวีธาภิเศก 1 ชั้นเรียน

2. แท็บเล็ตที่ใช้ในโรงเรียนติดตั้งโปรแกรมบริหารจัดการในห้องเรียน (classroom management software) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ผู้สอนสามารถควบคุมกิจกรรม (บนแท็บเล็ต) ในระหว่างการเรียนในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. การจัดหาอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ (Server Appliances) และโซลูชั่นการกระจายคอนเท้นท์ (Content Distribution Solution) ให้แก่โรงเรียน

เซิร์ฟเวอร์โรงเรียนและโซลูชั่นการกระจายคอนเท้นท์ ตอบโจทย์ความท้าทายหลักๆ สองประการ

a. นักเรียนจะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนมากบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร หากประสิทธิภาพการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีขีดจำกัด

b. ครูจะค้นหาและได้รับข้อมูลที่ถูกต้องโดยที่ไม่เป็นการเพิ่มภาระได้อย่างไร

การใช้โซลูชั่นการเข้าถึงคอนเท้นท์ ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนทั้งคัดสรรและสร้างสรรค์ คอนเท้นท์ที่เหมาะสม คอนเท้นท์จะถูกส่งจากเซิร์ฟเวอร์ส่วนกลาง กระจายไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ ติดตั้งอยู่ในแต่ละโรงเรียน นักเรียนและครูสามารถเข้าถึงคอนเท้นท์ผ่านเครือข่าย Wi-Fi ในพื้นที่ ท้องถิ่น ได้อย่างเร็วและเชื่อถือได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของโรงเรียน

อุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ที่พร้อมด้วยระบบ firewall protection รวมทั้ง caching ที่มีหน้าที่ในการเก็บ ข้อมูลและสามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และบริการด้านเน็ตเวิร์คต่างๆ ที่โรงเรียนต้องการ เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ต้องการการตั้งค่าคุณสมบัติเพียงครั้งเดียว (one-time configuration) และไม่ต้องการการดูแลเพิ่มเติมในการใช้งานอย่างต่อเนื่อง และหากมีปัญหาเกิดขึ้น เซิร์ฟเวอร์ สามารถควบคุมและเข้าถึงได้จากระยะไกล

4. นักเรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลการเรียนรู้จากสำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน และคอนเท้นท์ที่อินเทลจัดหาให้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น Skoool, Wikipedia, Khan Academy ผ่านทางอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ ของโรงเรียน

5. การจัดหาโปรแกรมพัฒนาบุคลกรผู้เชี่ยวชาญ (Professional Development Program) สำหรับ Intel Learning Series 1:1 e-Learning การอบรมพิเศษเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ได้คัดเลือกมาเพื่อมอบความรู้ อย่างละเอียดในแง่การใช้งาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อมอบประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้รับได้

(คุณครู ? นักเรียน)

โครงการนำร่องครั้งที่ 1 แท็บเล็ต Intel Learning Series - การประเมินผลงาน

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 อินเทลจัดหาแท็บเล็ต Intel Learning Series เพื่อโครงการนำร่องสำหรับ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ของโรงเรียนสามแห่งในกรุงเทพฯ ซึ่งได้แก่ โรงเรียนอนุบาลสามเสน โรงเรียนประชานิเวศน์ และโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย

ผลการดำเนินโครงการ - คุณครูยังคงเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการปฏิรูปการศึกษา

จากโครงการนำร่องโครงการแรกการพัฒนาบุคลากรครูเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการสร้างพื้นฐานอันแข็ง แกร่ง และการนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติในห้องเรียน เมื่อมีแรงบันดาลใจและทราบถึงวิธีการใช้เทคโนโลยีในห้องเรียน อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว คณะครูก็สามารถ “สร้างสรรค์” และ “ชักชวนนักเรียนให้มีส่วนร่วม” กับการเรียนรู้ได้

การใช้งานเท็บเล็ตพีซี อินเทล อะตอม ในห้องเรียน ทำให้เกิดการโต้ตอบอย่างกระตือรือร้นระหว่าง คุณครูและนักเรียนนักเรียนเพลิดเพลินกับการเรียนผ่านทางแอพพลิเคชั่นมากกว่าการเรียนแบบปกติ

นักเรียนแสดงออกถึงความสนใจที่เพิ่มมากขึ้น และเกิดแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมกับบทเรียน นักเรียน สนุกกับการใช้แท็บเล็ตพีซีในการค้นคว้าวิจัยการส่งการบ้านและการทำกิจกรรม กลุ่มร่วมกับเพื่อนๆ

โปรแกรม classroom management software เป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์มากสำหรับคุณครูประจำ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่ได้เรียนการใช้แท็บเล็ตมาก่อนแล้ว การควบ คุม การใช้งานแท็บเล็ตอย่างใกล้ชิดในห้องเรียนจึงเป็นสิ่งจำเป็น

คณะครูใช้เทคโนโลยีในการทำงานต่างๆ อย่างหลากหลาย เช่น การทำงานวิจัย การพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน การสอนบทเรียน การนำเสนอสื่อมัลติมีเดีย และการคุมสอบ ทั้งนี้ วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เป็นวิชาที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากโมเดลอี-เลิร์นนิ่ง (เนื่องจากครู สามารถนำบทเรียนมาประยุกต์กับแอพพลิเคชั่นและเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ ได้)

คณะครูต้องการให้มีการอบรมเพิ่มเติมและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในด้านการพัฒนาหลักสูตร การเรียน และวิธีการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมวิธีการสอนและการพัฒนาบุคลากร

สิ่งที่ต้องการเพื่อการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ดีขึ้นได้แก่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงและ ปลั๊กไฟเพิ่มเติม

ติดต่อ:

สุภารัตน์ โพธิวิจิตร คุณอรวรรณ ชื่นวิรัชสกุล บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ โทรศัพท์: (66 2) 648-6022 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501

e-Mail: [email protected] e-Mail: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ