สพฉ. เตือนกลุ่มเสี่ยง “เด็ก-ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง” รับมือภาวะอากาศหนาว ชี้อุณหภูมิลดมีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจและระบบความดันโลหิต

พุธ ๑๙ ธันวาคม ๒๐๑๒ ๐๘:๑๓
สพฉ. เตือนกลุ่มเสี่ยง “เด็ก-ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง” รับมือภาวะอากาศหนาว ชี้อุณหภูมิลดมีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจและระบบความดันโลหิต แนะการช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อพบผู้ป่วย เร่งทำร่างกายให้อบอุ่น ย้ำห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ระมัดระวังการผิดไฟแก้หนาว

นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวถึง สถานการณ์ภัยหนาวในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ว่าขณะนี้อุณหภูมิในแต่ละพื้นที่เริ่มลดต่ำลงซึ่งอาจทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลงกว่าปกติด้วย ดังนั้นขอแนะนำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เตรียมพร้อมรับมือ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง คือ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพาต เพราะอากาศที่หนาวเย็นอาจส่งผลให้สมองและประสาทส่วนกลางทำงานผิดปกติรวมถึงทำให้อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติด้วย

นอกจากนี้สภาพอากาศที่หนาวเย็นยังทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มมากขึ้นและระบบความดันโลหิตจะเพิ่มสูงขึ้นด้วย ดังนั้นกลุ่มผู้ป่วยที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือด เพราะจะมีระดับความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นจึงควรเตรียมยาประจำตัวให้พร้อม และรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ แต่ทั้งนี้หากพบผู้ป่วยฉุกเฉินควรรีบแจ้งขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ที่สายด่วน 1669 โดยการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในเบื้องต้นนั้น จะต้องรีบทำให้ร่างกายผู้ป่วยอบอุ่น กรณีที่อยู่กลางแจ้ง ควรหาผ้าคลุมถึงหน้าและศีรษะ เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน จัดที่ให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ ในท่านอนหงายบนพื้นที่อบอุ่นหรือมีผ้าหนาๆ ปูรอง และหากผู้ป่วยรู้สึกตัวให้ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มอุ่นๆ ห้ามดื่มแอลกอฮอล์เด็ดขาด เพราะเป็นความเชื่อที่ผิดรวมทั้งจะเป็นการเร่งให้ร่างกายสูญเสียความร้อนมากขึ้นด้วย

สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อากาศหนาวจะต้องระมัดระวังวิธีช่วยให้ร่างกายอบอุ่นด้วย เช่น การผิงไฟแก้หนาวเพราะมีความเสี่ยงอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ ไฟลวก และขาดอากาศหายใจ เนื่องจากสำลักควันได้ ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ ทั้งนี้หากเป็นหวัด ถ้าออกนอกบ้านให้สวมผ้าปิดปากป้องกันการติดเชื้อสู่คนรอบข้าง และหากร่างกายเปียกน้ำให้รีบเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า เพื่อป้องกันภาวะปอดบวม

นพ.ชาตรี กล่าวต่อว่า นอกจากอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินแล้ว อุบัติเหตุเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่มีสถิติผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตมาก ด้วยเพราะทัศนวิสัยที่ไม่เอื้ออำนวย ดังนั้นผู้ที่ขับขี่ควรเพิ่มความระมัดระวัง ซึ่งหากต้องขับรถผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาให้เปิดสัญญาณไฟหน้ารถและไฟตัดหมอก เพื่อให้มองเห็นเส้นทางได้ชัดเจนขึ้น ห้ามเปิดใช้สัญญาณไฟสูง เพราะแสงไฟจะสะท้อนเข้าตาผู้ขับขี่รายอื่น ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ที่สำคัญควรเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าให้มากกว่าปกติ ไม่แซง ไม่เปลี่ยนช่องทางหรือหยุดรถกะทันหัน และกรณีมีละอองฝ้าเกาะกระจกรถ ให้เปิดที่ปัดน้ำฝน พร้อมทั้งใช้ผ้าแห้งเช็ดกระจก ปรับลดอุณหภูมิในรถให้ต่ำกว่านอกรถ ลดระดับกระจกหน้าต่างลง จะช่วยไล่ละอองน้ำที่เกาะตามกระจากรถให้จางหายไปเร็วขึ้น อย่างไรก็ตามหากพบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถโทรแจ้งได้ที่สายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ และขอคำแนะนำได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ