รมว.พม. ชี้แจงผลประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์(ปคม.) ครั้งที่ ๔/๒๕๕๕

จันทร์ ๒๔ ธันวาคม ๒๐๑๒ ๑๖:๒๑
เมื่อวันที่ ๑๗ ธ.ค.๕๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ที่ตึกบัญชา ๑ ชั้น ๓ ทำเนียบรัฐบาล ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) ครั้งที่๔/๒๕๕๕ พร้อมด้วย

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้าร่วมประชุม นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ ปคม. ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฏาคม ๒๕๕๕ มีมติเห็นชอบข้อเสนอ แนวทาง มาตรการการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในรูปแบบแรงงานประมง และแนวทางการจัดตั้งศูนย์ประสานแรงงานประมง โดยมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯนำเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ รวมทั้งเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อติดตามการดำเนินงาน ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ ลงมติเห็นชอบข้อเสนอฯ ดังกล่าว เพื่อสกัดกั้นและขจัดขบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี(ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง) ประธานกรรมการ ปคม.ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับและติดตามข้อเสนอ แนวทาง มาตรการการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในรูปแบบแรงงานประมง เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้ง มีการจัดตั้งศูนย์ประสานแรงงานประมงจังหวัด ซึ่งเป็นโครงการนำร่องจำนวน ๗ ศูนย์ ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ระยอง ตราด ชุมพร สงขลา ระนอง และสตูล เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นายจ้างที่ประสงค์จะใช้แรงงานทำการประมงได้ปฎิบัติตามกฏหมายและจรรยาบรรณ และเป็นช่องทางแรงงานเข้าสู่การทำงานในภาคประมงอย่างปลอดภัยจากการถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ

นายสันติ กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมครั้งนี้ ยังได้มีการเสนอปัญหาคนไทยตกทุกข์ได้ยากและการค้ามนุษย์ในมาเลเซีย โดยมีสถิติคนไทยที่เดินทางเข้าไปประกอบอาชีพในมาเลเซีย ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน/ปี ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ที่เข้าไปอย่างถูกกฏหมายประมาณ ๙,๐๐๐ คน ส่วนที่เหลือต้องอยู่อย่างผิดกฏหมายและตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ เช่น ขนยาเสพติด บังคับค้าประเวณี หลอกลวงให้ไปเป็นลูกเรือประมง เป็นต้น ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากคนไทยกลุ่มเสี่ยงนี้ไม่รู้ข้อเท็จจริง และปัญหาความยากจน ทำให้ต้องการไปประกอบอาชีพในต่างแดน โดยเข้าใจผิดคิดว่าเงินริงกิต(ค่าเงินของมาเลเซีย) มีค่ามากกว่าเงินบาทของไทย จึงเกิดปัญหาการหลอกลวงแรงงานง่ายขึ้น ทั้งนี้ สถานฑูตไทยประจำประเทศมาเลเซีย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติประจำสถานฑูตไทยในประเทศมาเลเซีย ได้ร่วมมือหาทางคลี่คลายปัญหา พร้อมให้คำแนะนำและตักเตือนคนไทยกลุ่มเสี่ยงนี้ แต่ยังมีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่ปฎิบัติตามคำแนะนำ ทำให้ปัญหานี้เพิ่มขึ้น และไม่หมดไป จากปัญหานี้ รัฐบาลได้มีแนวคิดบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง ให้เพิ่มการประชาสัมพันธ์เชิงป้องกัน เพื่อให้คนไทยที่ต้องการไปประกอบอาชีพในมาเลเซียไม่ตกเป็นเหยื่อในขบวนการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบอีกต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO