CTO ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ชี้แนวโน้มอุตสาหกรรมไอที 10 อับดับแรกในปี 2556

ศุกร์ ๒๘ ธันวาคม ๒๐๑๒ ๑๕:๕๙
นายฮิว โยชิดะ รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เผยถึงการคาดการณ์แนวโน้มอุตสาหกรรมไอที 10 อันดับแรกสำหรับปี พ.ศ. 2556 ว่าการขยายตัวอย่างมหาศาลของข้อมูลจะยังคงเป็นความกังวลสูงสุดสำหรับอุตสาหกรรมไอทีในปีที่กำลังจะมาถึงนี้ เนื่องจากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เริ่มมีบทบาทสำคัญ ซึ่งสร้างความท้าทาย และโอกาสให้กับอุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างมาก

โยชิดะได้เผยแพร่การคาดการณ์และมุมมองของตนเกี่ยวกับแนวโน้มที่สำคัญทุกๆ สิ้นปี สำหรับการคาดการณ์ของปี พ.ศ. 2556 นี้ ครอบคลุมตั้งแต่โมเดลการบริโภคไอทีและโครงสร้างต้นทุนไปจนถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีแฟลชและโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานแบบผสานรวม มุมมองของโยชิดะไม่ได้จำกัดเฉพาะการจัดการกับความท้าท้ายที่สร้างความกดดันให้กับองค์กรต่างๆ อยู่ในขณะนี้เท่านั้น แต่ยังนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับวิธีการเปลี่ยนข้อมูลขนาดใหญ่ให้กลายเป็นระบบอัจฉริยะที่ทรงคุณค่าเพื่อช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางธุรกิจขององค์กร

รายงานฉบับสมบูรณ์เกี่ยวกับการคาดการณ์อุตสาหกรรมด้านไอทีของโยชิดะมีอยู่ในเอกสารที่แนบมานี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมองของเขา สามารถดูได้ที่: http://blogs.hds.com/hu/

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้จัดเตรียมบริการโซลูชั่นและเทคโนโลยีสารสนเทศระดับดีเยี่ยมที่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ที่น่าสนใจแก่ลูกค้า อัตราผลต่อแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) ที่โดดเด่น และแสดงให้เห็นผลกระทบที่ธุรกิจจะได้รับอย่างชัดเจนด้วยมุมมองด้านไอทีเสมือนจริงแบบยั่งยืนอัตโนมัติและพร้อมใช้สำหรับระบบคลาวด์ โดยบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้นำเสนอโซลูชั่นที่สามารถปรับปรุงต้นทุนด้านไอทีและก่อให้เกิดความคล่องตัวในระดับสูง และด้วยพนักงานกว่า 5,900 รายทั่วโลกทำให้บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ สามารถดำเนินธุรกิจได้ในกว่า 100 ประเทศและภูมิภาคต่างๆ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์บริการและโซลูชั่นของบริษัท ฮิตาชิดาต้า ซิสเต็มส์ ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรชั้นนำทั่วโลก ซึ่งรวมถึงองค์กรกว่า 70% ของทำเนียบฟอร์จูน 100 และกว่า 80% ของทำเนียบฟอร์จูนโกลบอล100 ด้วย โดยบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เชื่อว่าข้อมูลจะเป็นตัวขับเคลื่อนโลกของเราและสารสนเทศคือกระแสใหม่ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ http://www.hds.com

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ จำกัด

บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 6501) มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำระดับโลกด้วยจำนวนพนักงานทั่วโลกประมาณ 320,000 ราย โดยในปีงบประมาณ 2554 (จนถึงวันที่ 31 มีนาคมพ.ศ. 2555) บริษัทฯ มียอดขายรวม 9,665 พันล้านเยน (117.8 พันล้านดอลลาร์) ทั้งนี้ บริษัทฮิตาชิจะให้ความสำคัญกับธุรกิจที่เน้นด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมมากกว่าที่เคย ซึ่งรวมถึงระบบสารสนเทศและโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้า สภาพแวดล้อม ระบบอุตสาหกรรม และการขนส่งระบบสังคมและเมือง รวมถึงวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ครอบคลุมในการสนับสนุนธุรกิจดังกล่าว สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทฮิตาชิ สามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ http://www.hitachi.com.

? Hitachi Data Systems Corporation 2012 สงวนลิขสิทธิ์ ฮิตาชิ เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด

ภาคผนวก: รายงานฉบับสมบูรณ์

แนวโน้มอุตสาหกรรมไอที 10 อันดับแรกสำหรับปี 2556

ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

เมื่อก้าวเข้าสู่ปี พ.ศ. 2556 ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จะยังคงเป็นเรื่องหลักที่สร้างความกังวลให้กับอุตสาหกรรมไอที ตัวอย่างเช่น หน่วยความจุระดับเอ็กซาไบต์จะถูกนำมาร่วมพิจารณาในการวางแผนด้านการจัดเก็บข้อมูล ในขณะที่หน่วยเพตาไบต์จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่สำหรับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ โดยส่วนใหญ่จะมุ่งความสนใจไปที่ข้อมูลสำรองที่ถูกสำเนาและการสำรองข้อมูล ทั้งนี้ ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) สำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงานจะลดลงขณะที่ต้นทุนการลงทุนจะเพิ่มมากขึ้น

แนวโน้มใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้สามารถสร้างความท้าทายและโอกาสให้กับองค์กรธุรกิจในปีพ.ศ. 2556 โดยผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีจะต้องจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ด้วยงบประมาณและเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด พร้อมๆ กับที่พวกเขาจะต้องสร้างมูลค่าทางธุรกิจจากข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อนำมาช่วยสนับสนุนให้องค์กรเกิดการขยายตัวและการพัฒนาในท้ายที่สุดด้วย

ฮิว โยชิดะ รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) ของ ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้เปิดเผยแนวโน้มอุตสาหกรรมด้านไอที 10 อันดับแรก สำหรับปี พ.ศ. 2556 โดยหวังว่าจะเป็นแนวทางในการดำเนินงานสำหรับองค์กร:

1. การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่สำหรับ OPEX และ CAPEX: ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ต้นทุนรวมของระบบจัดเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นประมาณ 7% ต่อปี สัดส่วนที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมาจากค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงาน (OPEX) เป็นหลัก ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านฮาร์ดแวร์ (ค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน: CAPEX) อยู่ในระดับคงที่ แต่ในปีพ.ศ. 2556 CAPEX มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและจะเป็นสัดส่วนที่มากขึ้นของต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ เนื่องจากฮาร์ดแวร์มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นและความต้องการพื้นที่ความจุของระบบจัดเก็บข้อมูลก็เพิ่มมากขึ้นด้วย

2. โมเดลการบริโภคแบบใหม่: แทนที่จะทุ่มซื้อระบบจัดเก็บข้อมูลเหมือนในปัจจุบันแล้วค่อยๆ เพิ่ม CAPEX ในอีก 4-5 ปีข้างหน้า แต่ต่อไปองค์กรจะเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่พวกเขาต้องการเมื่อมีความต้องการใช้จริงๆ และเพื่อให้บรรลุผลดังกล่าว พวกเขาจำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีและขีดความสามารถต่างๆ ของระบบจัดเก็บข้อมูล เช่น การจัดสรรระบบจัดเก็บข้อมูลอย่างอิสระ ระบบเสมือนจริง และการโยกย้ายข้อมูลโดยที่ไม่กระทบต่อการทำงานของระบบหลัก นอกจากนี้ ผู้จำหน่ายระบบจัดเก็บข้อมูลอาจจัดเตรียมบริการที่มีการจัดการสำหรับองค์กรเพื่อช่วยเปลี่ยน CAPEX ให้เป็น OPEX ได้อีกด้วย

3. การจัดการการเพิ่มจำนวนการทำสำเนาข้อมูล: การทำสำเนาข้อมูลเป็นการเพิ่มจำนวนข้อมูลและข้อมูลสำรองอย่างเห็นได้ชัด ด้วยเหตุนี้ การเลือกใช้การจัดเก็บข้อมูลแบบออบเจ็กต์จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ด้วยการลดการสำรองข้อมูลและทำสำเนาเฉพาะข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น

4. การถือกำเนิดของแฟลชคอนโทรลเลอร์สำหรับองค์กร: แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีแฟลช Solid State Drive (SSD) สมรรถนะสูงในองค์กรเป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากราคาสูงและมีความทนทานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ แต่ในปี พ.ศ. 2556 จะได้พบกับการเปิดตัวแฟลชคอนโทรลเลอร์ที่มีตัวประมวลผลขั้นสูง ซึ่งถูกสร้างขึ้นเป็นพิเศษสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลองค์กร อีกทั้งยังมีความทนทาน มีประสิทธิภาพ และมีความจุของหน่วยความจำแฟลชเพิ่มสูงขึ้นด้วย

5. ความต้องการใหม่ๆ ในระบบจัดเก็บข้อมูลขององค์กรขนาดใหญ่ระยะแรกเริ่ม: เนื่องจากการใช้ไฮเปอร์ไวเซอร์ที่เพิ่มขึ้น เช่น วีเอ็มแวร์ และแอพพลิเคชั่น เช่น VDI ได้เปลี่ยนความต้องการในระบบจัดเก็บข้อมูลขององค์กรขนาดกลาง ทำให้ช่องว่างระหว่างสถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลขององค์กรขนาดใหญ่และองค์กรขนาดกลางกำลังแคบลงเรื่อยๆ เนื่องจากอุตสาหกรรมเริ่มเกิดความต้องการระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ระดับแรกเริ่ม (Entry Enterprise) เนื่องจากระบบเหล่านี้สามารถปรับขยายได้เมื่อเวิร์กโหลดเพิ่มขึ้น ด้วยการเพิ่มตัวประมวลผล พอร์ต และแคช รวมถึงราคายังคงอยู่ในระดับตลาดขนาดกลางด้วย

6. ความต้องการระบบไฟล์แบบออบเจ็กต์: การขยายตัวของข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง จะต้องการระบบไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและสามารถปรับขยายได้มากขึ้น ทำให้ระบบไฟล์มาตรฐานต้องถูกแทนที่ด้วยระบบไฟล์แบบออบเจ็กต์เพื่อตอบสนองความต้องการที่กำลังขยายตัวเช่นนี้ การจัดการข้อมูลระบบไฟล์และเมตาดาต้าแบบออบเจ็กต์จะช่วยให้การคืนค่าระบบไฟล์เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การเข้าถึงไฟล์มีประสิทธิภาพสูง และช่วยให้การจัดแบ่งระดับชั้นของไฟล์เป็นไปอย่างอัตโนมัติ

7. การเร่งการใช้แพลตฟอร์มเนื้อหาสำหรับที่เก็บถาวรข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูล: ระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริงจะช่วยให้แอพพลิเคชั่นสามารถแบ่งปันทรัพยากรระบบจัดเก็บข้อมูลได้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลแอพพลิเคชั่นจะยังคงถูกล็อกไว้ในคลังข้อมูลที่แยกต่างหาก ในปี พ.ศ. 2556 การปรับใช้แพลตฟอร์มเนื้อหาสำหรับเก็บข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูลจะมีความรวดเร็วยิ่งขึ้นเนื่องจากผู้ใช้พยายามที่จะเชื่อมโยงข้อมูลจากแอพพลิเคชั่นต่างๆ เข้าด้วยกัน

8. คอนโทรลเลอร์สนับสนุนฮาร์ดแวร์เพื่อตอบสนองเวิร์กโหลดที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น: คอนโทรลเลอร์ระบบจัดเก็บข้อมูล จะประกอบด้วย ตัวประมวลผลขั้นสูงและ ASIC ที่ช่วยสนับสนุนฮาร์ดแวร์ ช่วยให้จัดการเวิร์กโหลดที่ซับซ้อนและปริมาณงานที่เพิ่มสูงขึ้นได้

9. การสร้างแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยสำหรับการนำอุปกรณ์มือถือเข้ามาใช้งาน: แม้ว่าการนำอุปกรณ์มือถือเข้ามาใช้งานจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและนำไปสู่นวัตกรรมต่างๆ แต่ก็สามารถสร้างฝันร้ายให้กับศูนย์ข้อมูลองค์กรได้เช่นกัน ในปี พ.ศ. 2556 เราจะได้เห็นการถือกำเนิดของแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยสำหรับการแบ่งปันข้อมูลที่จะช่วยลดจำนวนภัยคุกคามความปลอดภัยของอุปกรณ์มือถือและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานที่ทำงานนอกสำนักงานได้

10. โซลูชั่นแบบผสานรวมที่แนบแน่นมากขึ้น: โซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานแบบผสานรวมที่ได้รับการรับรองและมีการกำหนดค่าและการทดสอบล่วงหน้ากำลังได้รับการสนับสนุนมากขึ้น ซึ่งในปี พ.ศ. 2556 เราจะได้เห็นการยอมรับที่เพิ่มขึ้นสำหรับแพลตฟอร์มการประมวลผลแบบรวมศูนย์ ซึ่งการจัดการและการจัดระเบียบเซิร์ฟเวอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล และทรัพยากรเครือข่ายจะได้รับการดำเนินการผ่านหน้าต่างควบคุมเดียว

ฮิว โยชิดะ เป็นผู้กำหนดทิศทางด้านเทคนิคสำหรับ ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ และเป็นผู้นำในการกำหนด กลยุทธ์ด้านไอทีให้สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจ เขาเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในแวดวงไอที อีกทั้งยังเป็นวิทยากรที่มีชื่อเสียงและมีผู้ติดตามอย่างมากทาง Twitter (@HuYoshida) โดยบล็อกของเขามีอิทธิพลในของอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูล และเพื่อให้สามารถรับรู้ถึงปัญหาและแนวโน้มด้านไอทีที่ทันสมัย โยชิดะจึงได้เดินทางไปทั่วโลกเพื่อพบปะกับลูกค้าและคู่ค้าอย่างทั่วถึง

ในฐานะผู้นำทางความคิดที่มีชื่อเสียง โยชิดะได้เขียนรายงานหลายฉบับเกี่ยวกับ SAN (Storage Area Network), Fibre Channel, SAN แบบหลายโปรโตคอล และเทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือน รวมทั้งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาในบริษัทด้านเทคโนโลยีหลายแห่ง และเป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของสถาบันระบบจัดเก็บข้อมูลแห่งรัฐบาลสิงคโปร์ (Data Storage Institute of the government of Singapore) ด้วย

ทั้งนี้ โยชิดะได้เปิดเผยถึงการคาดการ์ และมุมมองของเขาเกี่ยวกับแนวโน้มสำคัญต่างๆ ในช่วงต้นปีของทุกๆ ปี โดยการคาดการณ์ในแต่ละปีของเขานั้นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในแวดวงอุตสาหกรรม สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดดูที่: http://blogs.hds.com/hu/

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๒๙ โครงการ มูลนิธิยาเพื่อนยาก ครั้งที่ 17 สัญจรสู่พื้นที่ห่างไกล จ.น่าน มอบสิ่งของและเงินสนับสนุนสำหรับโรงเรียนบ่อเกลือ
๑๓:๒๐ ทำความเข้าใจ DNSSEC เสริมความปลอดภัยให้กับอินเทอร์เน็ต
๑๓:๕๘ ดูโฮม ผนึกกำลัง กฟผ. ส่งความสุขส่งท้ายปีเพื่อคนไทย มอบส่วนลดเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 ผ่านแคมเปญ ฉลากเบอร์ 5 ด้วยรัก(ษ์)
๑๓:๕๔ จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ คาร์บอนเครดิตในประเทศไทย
๑๓:๓๕ สุดป่วน! เต๋อ-เต้ย-ชาย-เอิร์ธ สวมบทแก๊งแป๊ะยิ้ม เชิดเงินแจก ในละคร มือปราบกระทะรั่ว
๑๓:๕๑ กทม. เข้มจัดระเบียบขอทาน-คนไร้บ้านในกรุงเทพฯ ย้ำ หยุดให้ = หยุดขอทาน
๑๓:๐๒ กสิกรไทยครองตำแหน่งในดัชนี DJSI ต่อเนื่อง 9 ปีซ้อน แบงก์แรกของไทย
๑๑:๑๒ พราว กรุ๊ป จัดกิจกรรมยิ่งใหญ่ส่งท้ายปี 'Amazing Thailand Hua Hin Countdown 2025' พร้อมบิ๊กเซอร์ไพรส์คอนเสิร์ต คิม
๑๑:๐๑ ส่งท้ายปี 31 ธันวาคม 2567 ด้วยมื้ออาหารค่ำบุฟเฟ่ต์ New Year Eve นานาชาติ ณ โรงแรมเฮอริเทจ เชียงราย แอนด์
๑๑:๒๓ SMC เผยความสำเร็จในการผลักดันอุตสาหกรรมไทยก้าวสู่ 4.0 พร้อมเผยผลการสำรวจระดับความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทยปี