สพฉ.เดินหน้าวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุช่วงปีใหม่ ประสานชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นรายงานสาเหตุเพิ่ม

พฤหัส ๐๓ มกราคม ๒๐๑๓ ๑๔:๔๒
สพฉ.เดินหน้าวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุช่วงปีใหม่ ประสานชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นรายงานสาเหตุเพิ่ม หวังลดอุบัติเหตุและอัตราการบาดเจ็บ-เสียชีวิต เผยผู้ป่วยฉุกเฉินที่ได้รับการช่วยเหลือด้วยทีมกู้ชีพที่ถูกวิธีผ่านสายด่วน 1669 มีอัตรารอดชีวิตถึงร้อยละ 96.76

นายแพทย์ประจักษวิช เล็บนาค รักษาการเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวถึงกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมอบให้ สพฉ. ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติวิเคราะห์ข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมาเพื่อนำมาปรับปรุงการป้องกันและลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิต ว่า สพฉ. ได้จัดประชุมเพื่อหาแนวทาง ในการจัดเก็บข้อมูลเชิงสถิติจากที่เกิดเหตุแล้ว โดยเบื้องต้นได้ประสานให้ทีมปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (FR) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัครมูลนิธิ หรือทีมกู้ชีพจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยเก็บข้อมูล เนื่องจากเป็นทีมกู้ชีพที่เข้าไปถึงที่เกิดเหตุเป็นทีมแรก ประกอบกับจะนำข้อมูลที่ได้จากศูนย์สื่อสารและสั่งการ 1669 มาวิเคราะห์ร่วมด้วย เพื่อให้มีครอบคลุมมากขึ้น ทั้งในประเด็นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ เมาสุรา หลับใน หรือปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาทิ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่สวมหมวกกันน็อค การนั่งท้ายรถกระบะ หรือปัญหาถุงลมนิรภัย เป็นต้น

นพ.ประจักษวิช กล่าวต่อว่า สำหรับข้อมูลและสาเหตุเบื้องต้นที่ได้สรุปจากศูนย์สื่อสารและสั่งการในแต่ละจังหวัด พบว่าสาเหตุที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ถึงร้อยละ 79.2 รถกะบะร้อยละ 6.7 และรถยนต์ร้อยละ 2.7 นอกจากนี้ยังพบว่า เกิดจากไม่สวมหมวกกันน็อคร้อยละ 47.1 ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยร้อยละ 5.9 และดื่มสุราร้อยละ 34.6 นอกจากนี้พื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือถนนในเขนบทมากถึงร้อยละ 51.3 อย่างไรก็ตามแม้จำนวนอุบัติเหตุ ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิต จะลดลงจากปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่ลดลงตามเป้าที่เราต้องการ โดยเฉพาะในวันที่ 1 ม.ค. เป็นช่วงที่มีการเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บ และเสียชีวิต เพิ่มเป็นเท่าตัว ดังนั้นเราจะต้องหาแนวทางพัฒนาในประเด็นนี้ต่อไป

“นอกจากนี้ยังมีสถิติที่น่าสนใจคือเห็นได้ชัดว่าผู้ป่วยฉุกเฉิน ผู้บาดเจ็บที่ได้รับการช่วยเหลือจากการโทรแจ้งสายด่วน 1669 จะช่วยลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตได้มากถึงร้อยละ 96.76 เพราะการช่วยเหลือและเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บที่ถูกวิธี จะช่วยลดอัตราการบาดเจ็บที่รุนแรงขึ้น หรือช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ ส่วนผู้ป่วยที่เสียชีวิตนั้น ส่วนหนึ่งเสียชีวิตในที่เกิดเหตุร้อยละ 53.50 ดังนั้นยุทธศาสตร์ของ สพฉ. ที่จะต้องเร่งดำเนินการต่อจากนี้คือเร่งรณรงค์ให้ประชาชนใช้บริการจากสายด่วน 1669” นพ.ประจักษวิชกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ