ผศ. นพ. มานพชัย กล่าวว่า “ทุกวันนี้คนไทยเรามีปัญหาสุขภาพเรื่องอาการไอกันมาก เพราะอากาศที่แปรปรวน และมลภาวะทางอากาศที่เลวร้ายลงทุกทีๆ รวมถึงการใช้ชีวิตที่สมบุกสมบันของด้านหน้าที่การงาน อาการไอนี้นอกจากจะบั่นทอนสุขภาพอนามัยที่ดีแล้ว หากปล่อยให้เป็นๆ หายๆ หรือเรื้อรังอยู่ ก็จะเสียบุคลิกภาพ ความมั่นใจ อีกทั้งเสียงไอและการมีเสมะหะเป็นสิ่งรบกวนและเป็นที่รังเกียจของคนรอบข้าง สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรค์ท้าทายอย่างมากต่อหนุ่มสาววัยทำงานที่มุ่งมั่นที่จะทยานสู่ความเจริญก้าวหน้าตั้งแต่ต้นปี ดังนั้นเราควรจะเริ่มต้นกันที่การเรียนรู้เข้าใจสาเหตุและกลไกการไอ และทำการรักษาดูแลตนเองอย่างถูกวิธีกันโดยด่วน เพื่อต้อนรับการเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ซาบซ่าสดใสกว่า”
“อาการไออาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีลักษณะที่หลากหลาย จึงมีความจำเป็นต้องฉลาดเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับอาการ มิฉะนั้นก็จะไม่หายเสียที หรือกลายเป็นอาการเรื้อรัง ลักษณะของการไอบางครั้งก็ช่วยบอกสาเหตุได้เช่น แบบไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ มักเกิดจากสารระคายเคืองมลภาวะต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ ฝุ่นละออง แบบที่สองคือไอและแน่นหน้าอก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย มักพบในผู้ป่วยในโรคหอบหืดมักต้องใช้ยาขยายหลอดลมโดยช่วยให้กล้ามเนื้อหลอดลมคลายตัว และแบบที่พบบ่อยมากคือ ไอมีเสลตหรือเสมหะ ลักษณะเสมหะจะช่วยในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้เช่น ถ้าเสมหะสีเหลืองเขียวข้น มักเกิดจากการติดเชื้อ ถ้าเป็นสีขาวใสมักเป็นอาการไอจากภุมิแพ้หรือหอบหืด”
ผศ.นพ. มานพชัย ได้กล่าวเสริมความรู้เรื่องการใช้ยาแก้ไอว่า “สำหรับคนที่ไอและมีเสมหะร่วมด้วยควรได้รับยากลุ่มละลายเสมหะ เช่น กลุ่มคาโบซิสเตอีน 500 มิลลิกรัม หรือ กลุ่มบรอมเฮกซีน 8 มิลลิกรัม เพื่อลดความเหนียวข้นของเสมหะ ทำให้เสมหะถูกละลายและขับออกมา และจะบรรเทารักษาอาการไอดีขึ้น
ผู้ป่วยซึ่งมีอาการไอแบบมีเสมหะ ไม่ควรเลือกรับระทานยากลุ่มที่ระงับหรือกดอาการไออย่างที่คนมีอาการไอแบบแห้งๆ “แห้ง” ใช้ เพราะยาเหล่านี้แม้จะทำให้ไอรู้สึกว่าน้อยลง แต่ไม่ได้ช่วยให้เสมหะลดลง ในทางตรงข้ามจะยิ่งสะสมมากขึ้นในหลอดลม อาจทำให้เกิดหลอดลมอุดตันและเกิดการติดเชื้อจนกลายเป็นโรคปอดอักเสบรุนแรงได้”
“ตามปกติแล้วหากรับประทานยาที่ถูกกับโรคและอาการ รวมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยแวดล้อมที่กระตุ้นการไอ และดูแลสุขภาพ นอนหลับพักผ่อน ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ เสมหะจะลดลงภายใน 3-5 วัน อาการไอจะหายไปภายใน 5-7 วัน ทำให้คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่อย่างสดใสส่องประกายเป็นดาวเด่น และประสบความสำเร็จอย่างมั่นใจไร้ปัญหาสุขภาพได้ไม่ยาก” ผศ.นพ. มานพชัย กล่าวปิดท้าย