ดร.วนิดา พลเดช หัวหน้าศูนย์วิจัย ออคิด สลิงชอท กล่าวว่า แบบสำรวจศักยภาพและการเตรียม พร้อมด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กรไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2012 เป็นการ ดำเนินการสำรวจแบบออนไลน์ในช่วงไตรมาส 3 ถึง 4 ของปี 2555 โดยมีผู้ร่วมตอบแบบสำรวจทั้งสิ้นจาก 253 องค์กร ครอบคลุมทุกประเภทธุรกิจที่มีฐานการผลิตทั้งในประเทศไทย ในอาเซียนและประเทศอื่นๆ นอกอาเซียน ตลอดจนองค์กรที่ส่งออกสินค้า หรือบริการในอาเซียน และนอกอาเซียน โดยผู้ที่ให้ข้อมูลนั้นมีตั้งแต่เจ้าของกิจการ, ผู้บริหารระดับสูง, ผู้บริหารในหน่วยงานหลัก, ผู้บริหารฝ่ายบุคคล และ เจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นๆ ครอบคลุมทุก รุ่นอายุ ทุกกลุ่มเจนเนอเรชั่น
นายอภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา กรรมการบริหารบริษัท ออคิด สลิงชอท จำกัด กล่าวว่า แบบสำรวจ ศักยภาพและการเตรียมพร้อมด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กรไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (AEC) 2012 ของทางศูนย์วิจัย ออคิด สลิงชอท นั้นเผยให้เห็นชัดไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กหรือใหญ่ ล้วนขาดความ เข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการ และแนวทางปฏิบัติของ AEC
"ผมเห็นว่าเป็นสิ่งที่จะต้องช่วยกันเร่งแก้ไขเป็นอันดับแรกๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้อง เห็นชัด ว่าการรณรงค์ที่ภาครัฐหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายได้ทำผ่านมานั้น ยังไม่ได้ผลมากนัก และอาจส่งผลให้การ วางนโยบายและกลยุทธ์ขององค์กรไทยขาดประสิทธิภาพ” นายอภิวุฒิกล่าว
จากผลสำรวจยังพบว่าแหล่งข้อมูลความรู้ที่สำคัญที่สุดขององค์กรไทยและผู้ประกอบการทุกระดับเกี่ยว กับ AEC คือ สื่อมวลชน และรองลงมา คือ ข้อมูลความรู้จากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ตามลำดับ
“ภาครัฐควรมีการใช้ประโยชน์จากช่องทางต่างๆ ซึ่งนอกจากภาคสื่อมวลชนแล้วยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่ควรส่งเสริมให้มากขึ้นด้วย อาทิ สมาคมธุรกิจ หรือชมรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจต่างๆ เช่นสภาหอการค้า หรือสภาอุตสาหกรรมเป็นต้น รวมถึงภาคการศึกษา เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องนั้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลาย ช่องทาง เพราะในภาคธุรกิจเองยังเห็นว่าภาครัฐไม่ค่อยสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือเท่าที่ควร นอกจากนี้ ควรส่งเสริมให้องค์กรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SME เข้าเป็นสมาชิกของชมรม/สมาคม ซึ่งจะเป็นจุดหนึ่งที่จะช่วย ให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ผมเห็นว่าหน่วยงานอื่น เช่น หน่วยงานภาคการศึกษาก็สามารถ เป็นช่องทางในการให้ความรู้เกี่ยวกับ AEC ได้เช่นกัน” นายอภิวุฒิ กล่าว
ออคิด สลิงชอท มองว่าอีกหนึ่งความท้าทายและเป็นปัญหาขององค์กรไทยในการรับมือกับ AEC คือ เรื่องของ "คน" โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรและผู้บริหาร ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ไปสู่ ความสำเร็จ นอกจากนี้ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าการหาผู้สืบทอดธุรกิจ (Succession Plan) เป็นสิ่งที่ยังทำได้ไม่ดีนัก ประเด็นเหล่านี้จึงกลายเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญในการพัฒนา “คน” ภายในองค์กรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
ด้านนายวศิน อรดีดลเชษฐ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออคิด สลิงชอท แสดงทัศนะว่าผลสำรวจบ่งชี้ว่า กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer) มองเห็น AEC เป็นโอกาสมากกว่ากลุ่มเจนเนอเรชั่นอื่นๆ เพราะส่วนใหญ่ เป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการซึ่งมีความเข้าใจ AEC มากกว่าบุคลากรกลุ่มอื่น ขณะที่พนักงานเจนเนอเรชั่น เอ็กซ์ (Gen X) ซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุดขององค์กร กลับมีแนวโน้มที่ต้องการไปทำงานในต่างประเทศน้อยที่สุด จุดนี้องค์กรจะต้องตระหนักและบริหารจัดการให้ดี เพราะที่ผ่านมามีหลายองค์กรที่ประสบปัญหาขาดแคลน ผู้บริหารในระดับกลางที่มีประสบการณ์ หรือทายาทที่จะสืบทอด
“ด้านการมองเห็นโอกาส มีนัยยะที่สำคัญว่า หากยิ่งมีความเข้าใจมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมองเห็น AEC เป็น โอกาสมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นองค์กรจึงควรส่งเสริมในการให้ความรู้ความเข้าใจแก่พนักงานให้มากขึ้น "
“การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร ทั้งด้านการบริหารจัดการ การพัฒนาฝีมือแรงงาน ความรู้ ทางด้านเทคนิค รวมถึงความสามารถในด้านภาษาโดยเฉพาะภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เป็นสิ่งที่ทุกองค์กร ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะคุณภาพของบุคลากรคือหัวใจแห่งความสำเร็จในการเพิ่มขีดความสามารถ สำหรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น และที่สำคัญนอกจากพัฒนาแล้วองค์กรต้องเรียนรู้ที่จะรักษาบุคลากรเหล่านั้น ไว้ให้ได้ด้วย” นายวศินกล่าวทิ้งท้าย
เกี่ยวกับบริษัทออคิด สลิงชอท
ออคิด สลิงชอท เป็นบริษัทในเครือของกลุ่ม ริเวอร์ ออคิด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 เป็นผู้ให้บริการด้านการวัดประเมินพฤติกรรม การอบรมสัมมนา การโค้ชผู้บริหาร และการให้คำปรึกษาให้กับบริษัทชั้นนำมากกว่า 200 บริษัท และเป็นบริษัทเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับรางวัล Excellence in Practice Citation Award ในสาขา Talent Management และ Excellent in Practice Award ในสาขา Executive Coaching จาก American Society for Training and Development (ASTD) เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับว่ามีกระบวนการทำงานที่ง่ายใช้ได้จริง และมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยเพิ่ม ศักยภาพให้กับบุคลากร และเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดให้กับองค์กร