เปิดการประชุมสัมมนาวิชาการ “การพัฒนาการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1”

พฤหัส ๑๗ มกราคม ๒๐๑๓ ๑๔:๕๙
มูลนิธิศึกษาพัฒน์ ผู้นำพัฒนาศักยภาพ รุกงานด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เชิญกูรูทางการศึกษาในประเทศไทยและต่างประเทศกระตุ้นแนวคิดเสริมสร้างคุณภาพการศึกษาไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิศึกษาพัฒน์ ผู้นำพัฒนาศักยภาพของคนไทยอย่างเป็นองค์รวมมากว่า 15 ปี จัดงานประชุมสัมมนาวิชาการเรื่อง “การพัฒนาการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1” The 1st Thailand Constructionism Symposium (TCS2013) เพื่อเป็นเวทีเผยแพร่ประสบการณ์และองค์ความรู้ของนักปฏิบัติกลุ่มหนึ่ง ที่ได้ร่วมกันทดลอง ริเริ่มค้นหาแนวทางในการใช้ “การเรียนรู้” ในการพัฒนาคุณภาพของคนไทย เชิญกูรูทั้งในและต่างประเทศระดมสมองหาแนวคิดการช่วยพัฒนาองค์ความรู้และเยาวชนไทย โดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา มูลนิธิไทยคม บริษัท ไทยคม จำกัด(มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน)

การสัมมนาในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการรวมตัวของนักวิชาการ นักปฏิบัติการ ที่ศึกษาวิทยาการการเรียนรู้ที่มีชื่อว่า Constructionism หรือการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ซึ่งนำ “เทคโนโลยีการเรียนรู้” มาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของคนไทย โดยเชื่อว่า การให้ “การเรียนรู้” เป็นการ “ให้เบ็ดตกปลา” ที่จะทำให้คนไทยมีความสามารถใน “การเรียนรู้” ด้วยตนเองที่เข้มแข็งเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยได้ริเริ่มพัฒนา “การเรียนรู้” ของคนไทยในบริบทต่างๆ ทั้งในเมืองใหญ่และในพื้นที่ชนบทห่างไกลความเจริญ ทั้งในภาคการศึกษา รวมถึงภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายใช้ “การเรียนรู้” เป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพของคนไทย ให้เป็นผู้มีความสามารถในการเรียนรู้สูง คิดเป็นทำเป็น มีความสามารถในผลิตและแข่งขันได้ในระดับโลก และมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ได้รวดเร็วและปรับตัวได้ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์

การสัมนาครั้งนี้มูลนิธิศึกษาพัฒน์ได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ Paulo Blikstein (ดร. เปาโล บลิกสไตน์) จากมหาวิทยาลัย Stanford ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาห้องปฏิบัติการประดิษฐกรรม (Fabrication Lab) เพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนที่มีราคาถูก David Cavallo (ดร. เดวิด คาวาโล) ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหาร Constructionist Learning ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรทางการศึกษาที่อุทิศการทำงานเพื่อพัฒนา เนื้อหา บริบท และแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาเพื่อให้เด็กและชุมชนสามารถพัฒนาตนได้อย่างเต็มศักยภาพ Carol Sperry (ดร. แครอล สแปรี) ทำงานทางการศึกษาโดยใช้หลักการ Constructionism มากว่า 40 ปี จากมหานคร New York ที่โด่งดังมากในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ในห้องเรียนผ่านทางการใช้ภาษา Logo ในปี 1985 Yoshiro Miyata อาจารย์ประจำภาควิชา Information Media Engineering แห่งมหาวิทยาลัย Chukyo ประเทศญีปุ่น ซึ่งมีความโดดเด่นในการออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้และศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ต่างวัฒนธรรม ซึ่งมีประสพการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบดังกล่าวในโรงเรียน พิพิธภัณฑ์และชุมชนต่างๆ ทั้งในญีปุ่นและต่างประเทศ

การสัมมนาครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล และมีการเปิดตัวโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา กับมูลนิธิศึกษาพัฒน์ และ มหาวิทยาลัยไทย 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาร่วมกันด้วย

นอกจากนี้มูลนิธิศึกษาพัฒน์ได้เปิดตัว FabLab@School ณ ดรุณสิกขาลัย โรงเรียนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการระดับมัธยมครั้งแรกของประเทศไทยที่จะช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์เด็กไทยได้

FabLab@School ภายใต้ชื่อ “DSIL FabLab@School บุนนาค อิศรเสนา ณ อยุธยา” ณ ดรุณสิกขาลัย โรงเรียนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการระดับมัธยมครั้งแรกของประเทศไทยที่ดัดแปลงนำเทคโนโลยี Rapid Prototyping ในการเรียนวิศวกรรมศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัย มาช่วยส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ได้อย่างสร้างสรรค์และมีความปลอดภัยสูง เกิดจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีกับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกันก่อตั้ง เป็นโครงการนวัตกรรมห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาผ่านการประดิษฐ์และการออกแบบสิ่งที่นักเรียนสนใจ นับเป็นนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาใหม่ล่าสุด ที่พลิกโฉมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนโดยมีนักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้อย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนไทยมีโอกาสเปิดโลกการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจและยังช่วยให้นักเรียนสามารถคิดเชื่อมโยงประยุกต์ความรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เข้ากับชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการเรียนรู้ของเด็กไทย ที่จะได้เชื่อมโยงกับเครือข่ายการเรียนรู้ใน FabLab@Schoolร่วมกับเด็กและเยาวชนจากนานาชาติ

ติดต่อ:

มูลนิธิศึกษาพัฒน์ โทร. (662) 470-8400

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ