- ม.ค. ๒๕๖๘ แม็คโคร ร่วมหารือ พาณิชย์จังหวัด และปศุสัตว์จังหวัด ยืนยันราคาจำหน่ายเนื้อสุกรเป็นไปตามกลไกตลาด โปร่งใส
- ม.ค. ๒๕๖๘ เกษตรกรหมู ชี้ ASF-โควิด ทำต้นทุนป้องกันโรคขยับ 300 บาท/ตัว โอดราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งซ้ำเติม
- ม.ค. ๒๕๖๘ อุปนายกสมาคมหมู ชี้กินเจ-ฝนชุก กระทบราคาหมูช่วงสั้น ด้านเกษตรกรภาคเหนือเผยคุม PRRS อยู่ กรมปศุสัตว์ย้ำหมูไทยปลอดภัย แนะสังเกตสัญลักษณ์ปศุสัตว์ OK
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยถึงกรณีการปรับเพิ่มราคาหมูเป็นหน้าฟาร์ม มาอยู่ที่กิโลกรัมละ 58-59 บาท ว่า การปรับเพิ่มราคาดังกล่าวได้ดำเนินการไปเมื่อช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาเท่านั้น และเป็นราคาที่ยังคงต่ำกว่าราคาต้นทุนหมูเป็นหน้าฟาร์มในปัจจุบันซึ่งสูงถึงที่กิโลกรัมละ 60-62 บาท จากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับขึ้นทั่วโลก 30-40% จึงขอวอนภาครัฐและผู้บริโภคเห็นใจเกษตรกรผู้เลี้ยงฯที่ต้องบอบช้ำจากภาวะขาดทุนสะสมมาเป็นระยะเวลานาน นายสุรชัย กล่าวว่า ภาวะขาดทุนสาหัสเกิดขึ้นต่อเนื่องมามากกว่า 7 เดือน โดยเฉพาะในเดือนเมษายน - ธันวาคมในปีที่ผ่านมา (2555) เป็นช่วงเวลาที่เกษตรกรผู้เลี้ยงฯต้องขายขาดทุนมาโดยตลอด โดยต้องประสบกับราคาขายที่ตกต่ำถึง 45 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคาต้นทุนในช่วงนั้นอยู่ที่กิโลกรัมละ 57-58 บาท การปรับเพิ่มราคาเพียงเล็กน้อยก็นับเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงฯให้อยู่รอด นอกจากนี้ ผลสืบเนื่องจากภาวะขาดทุนอย่างหนักยังส่งผลด้านความเชื่อมั่นต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงฯ คือ แหล่งเงินทุนอย่างธนาคารต่างๆไม่ปล่อยสินเชื่อให้ ผู้เลี้ยงจึงต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว “การปรับเพิ่มราคาขายหน้าฟาร์มจะเกิดขึ้นเพียงเฉพาะในช่วงเวลาสั้นๆ คือในช่วงเทศกาลต่างๆ เพราะเป็นช่วงที่มีความต้องการบริโภคเนื้อหมูเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น จึงไม่สามารถทำให้ผู้เลี้ยงหลุดพ้นจากภาวะที่เรียกว่าเฉลี่ยทั้งปีแล้วยังประสบกับภาวะขาดทุน ความช่วยเหลือจากการปรับราคาข้างต้นจึงนับเป็นการช่วยต่อลมหายใจเกษตรกรผู้เลี้ยงในช่วงที่ต้องแบกภาระการขาดทุน” นายสุรชัยกล่าว