วีเอ็มแวร์ คาดการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งปี 2556 ในเมืองไทย

จันทร์ ๒๑ มกราคม ๒๐๑๓ ๑๕:๕๙
บทบาทที่เปลี่ยนไปของซีไอโอ แนวคิด Software-Defined Datacenter (ดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์) และโมบายล์คอมพิวติ้ง จะพลิกโฉมหน้าวงการไอทีและธุรกิจ

วีเอ็มแวร์ อิงค์ (NYSE: VMW) ผู้นำระดับโลกในด้านเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นและโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ คาดการณ์ว่าปี 2556 จะเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับองค์กรธุรกิจในประเทศไทย

“บริษัทต่างๆ ตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของระบบประมวลผลคลาวด์คอมพิวติ้งในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รักษาขีดความสามารถด้านการแข่งขัน และขยายโอกาสในการเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น” ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยและอินโดจีนของวีเอ็มแวร์ กล่าว “บริษัทคาดว่าการปรับเปลี่ยนบทบาทของผู้บริหารซีไอโอ, การทำเวอร์ช่วลไลซ์สำหรับแอพพลิเคชั่นสำคัญๆ ทางด้านธุรกิจ, การริเริ่มใช้งานดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ (Software-Defined Datacenter), โมบิลิตี้ และการปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจเอสเอ็มอี ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่จะช่วยผลักดันการเติบโตของเทคโนโลยีคลาวด์ และส่งผลให้ปี 2556 เป็นช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปไอทีและธุรกิจ”

การใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

ในประเทศไทย องค์กรต่างๆ มองว่าการลงทุนในคลาวด์คอมพิวติ้งเป็นหนทางที่จะเพิ่มขีดความสามารถและเสริมสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันในสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีความท้าทายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ตอบแบบสอบถามในไทยเห็นพ้องต้องกันว่าคลาวด์คอมพิวติ้งจะช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (83%) และหากบริษัทของตนไม่ได้ดำเนินโครงการคลาวด์ ก็จะไม่สามารถก้าวตามคู่แข่งได้ทัน (68%)

ดัชนีคลาวด์ของวีเอ็มแวร์ประจำปี 2555 ระบุอย่างชัดเจนถึงความก้าวหน้าและการริเริ่มของการปฏิรูปไอทีในประเทศไทย เพราะคาดว่าเกือบครึ่งหนึ่งของตลาดในเมืองไทยมีแผนที่จะปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ภายใน 18 เดือนข้างหน้า โดยผู้ตอบแบบสอบถามในเมืองไทยระบุเหตุผลสำคัญสำหรับการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง ได้แก่ การเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรไอที (80%), ความสามารถในการปรับปรุงการจัดการไอทีและระบบงานอัตโนมัติ (78%) และความต้องการที่จะเสียค่าใช้จ่ายไอทีตามปริมาณการใช้งานจริงในส่วนงานธุรกิจ (76%) ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดบทสรุปผลการศึกษาได้จาก www.vmware.com/ap/cloudindex

ภารกิจที่เปลี่ยนไปของซีไอโอทำให้ฝ่ายไอทีต้องดำเนินงานในรูปแบบขององค์กรธุรกิจ

บทบาทของผู้บริหารซีไอโอกำลังเปลี่ยนไป ขณะที่บริษัทต่างๆ ต้องการให้ผู้บริหารฝ่ายไอทีผลักดันการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทั้งองค์กร หมายความว่าฝ่ายไอทีไม่สามารถดำเนินงานในลักษณะของศูนย์รวมต้นทุนได้อีกต่อไป ปัจจุบันผู้บริหารฝ่ายไอทีจะต้องใช้แนวคิดของระบบไอทีในรูปแบบบริการ เพื่อเพิ่มผลกำไรของบริษัท โดยอาศัยรูปแบบของบริการที่ใช้ร่วมกัน (shared services) การผนวกรวมระบบแบ็คออฟฟิศเข้าด้วยกันโดยใช้โซลูชั่นคลาวด์ช่วยให้องค์กรมีความคล่องตัวมากขึ้นและสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างเหมาะสมอีกทั้งบุคลากรก็ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถใช้ทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพ

“หนึ่งในเป้าหมายหลักของคลาวด์คอมพิวติ้งก็คือ การจัดหาการบริการตนเอง (self-service) สำหรับผู้ใช้ในองค์กร รวมถึงไอทีในรูปแบบของบริการ (IT-as-a-service) นั่นหมายความว่าฝ่ายไอทีไม่ได้เป็นศูนย์รวมต้นทุนสำหรับบริษัทอีกต่อไป แต่จะต้องหารายได้เข้าสู่หน่วยงานด้วยการ ‘ขาย’ บริการให้แก่ผู้ใช้ในองค์กร ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายไอทีจึงต้องดำเนินงานในรูปแบบขององค์กรธุรกิจ โดยจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับต้นทุนและการคิดค่าใช้จ่ายกับหน่วยงานอื่นๆ ในสายงานธุรกิจอย่างเหมาะสม ควบคู่ไปกับการให้บริการตามระดับที่กำหนด และรักษาคุณภาพการบริการในด้านอื่นๆ อย่างที่ลูกค้าในสายงานธุรกิจซึ่งเป็นผู้ ‘จ่ายเงิน’ คาดหวังไว้” ดร.ชวพล กล่าว

การทำเวอร์ช่วลไลซ์เพิ่มมากขึ้นสำหรับแอพพลิเคชั่นสำคัญๆ ทางด้านธุรกิจ

เวอร์ช่วลไลเซชั่นช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพทางด้านไอที รวมไปถึงความยืดหยุ่น และความพร้อมใช้งาน โดยจะปฏิรูปการให้บริการ ควบคู่ไปกับการลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย การรวมแอพพลิเคชั่นสำคัญๆ ทางด้านธุรกิจ เช่น Microsoft Exchange, SQL Server, SAP และ Oracle จะช่วยให้องค์กรธุรกิจได้รับประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตาม หลายๆ บริษัทยังลังเลที่จะรวมแอพพลิเคชั่นเหล่านี้ไว้ในแผนพัฒนาระบบเวอร์ช่วลไลเซชั่น เพราะยังขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญภายในองค์กรที่จะดูแลการทำเวอร์ช่วลไลซ์ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานสำหรับแอพพลิเคชั่นสำคัญๆ หรือการรับรู้ถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการเหล่านี้

“บริษัทฯ คาดการณ์ว่าลูกค้าในเมืองไทยจะหันมาใช้แพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ปลอดภัย และเปี่ยมด้วยเสถียรภาพของวีเอ็มแวร์ เพื่อปรับใช้และควบคุมดูแลแอพพลิเคชั่นสำคัญๆ ทางด้านธุรกิจที่ผ่านการทำเวอร์ช่วลไลซ์ได้อย่างมั่นใจ ที่จริงแล้ว 71% ของผู้ตอบแบบสอบถามดัชนีคลาวด์ประจำปี 2555 ระบุว่าองค์กรของตนจะพิจารณาการทำเวอร์ช่วลไลซ์สำหรับแอพพลิเคชั่นทางด้านธุรกิจที่มีความสำคัญมากที่สุด 10 อันดับภายในองค์กร” ดร. ชวพล กล่าวเพิ่มเติม

บริษัทต่างๆ สามารถพัฒนาอย่างก้าวกระโดดด้วยดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ (Software-Defined Datacenter)

ปัจจุบัน องค์กรจำเป็นที่จะต้องปรับใช้แนวทางแบบรอบด้านในการวางแผน สร้าง และบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่กำลังก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ของคลาวด์คอมพิวติ้ง เทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านไอที ควบคู่ไปกับการปรับปรุงประสิทธิภาพ ปัจจุบัน หน่วยงานธุรกิจจำเป็นที่จะต้องเข้าถึงทรัพยากรไอทีอย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินโครงการและการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ในทางกลับกัน ฝ่ายไอทีก็จำเป็นที่จะต้องรองรับการดำเนินการดังกล่าว ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

วีเอ็มแวร์เชื่อว่า แนวทางการกำหนดด้วยซอฟต์แวร์ (Software-Defined Datacenter) สำหรับระบบประมวลผลดาต้าเซ็นเตอร์จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดเหล่านี้ และเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดหาบริการดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งหมด

ดร. ชวพล กล่าวว่า “ในดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ (Software-Defined Datacenter) โครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดถูกทำเวอร์ช่วลไลซ์และนำเสนอในรูปแบบบริการ โดยซอฟต์แวร์จะทำหน้าที่ควบคุมดาต้าเซ็นเตอร์ดังกล่าวโดยอัตโนมัติ วิสัยทัศน์ของวีเอ็มแวร์ในเรื่องดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ นำเสนอผ่านทาง VMware vCloud Suite ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการผนวกรวมระบบ การจัดการแบบผสมผสาน และการรักษาความปลอดภัย ทั้งยังช่วยให้ผู้บริหารองค์กรธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวเตอร์เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจอย่างลงตัว”

เดสก์ท็อปเวอร์ช่วลไลเซชั่นขับเคลื่อนโมบิลิตี้ การขยายสำนักงานสาขา และกลยุทธ์การโยกย้ายระบบ Windows

วีเอ็มแวร์คาดการณ์เพิ่มเติมว่า ในปี 2556 องค์กรส่วนใหญ่จะตระหนักว่าการประมวลผลไม่ได้ถูกดำเนินการโดยระบบไคลเอ็นต์หนึ่งเครื่องเหมือนกับพีซีอีกต่อไป แต่งานประมวลผลสำคัญๆ จะถูกดำเนินการในระบบคลาวด์แทน เนื่องจากการสนับสนุน Windows XP กำลังจะสิ้นสุดลงในปี 2556 ดังนั้นบริษัทต่างๆ จะมองหาหนทางที่ง่ายดายกว่าในการอัพเกรดระบบปฏิบัติการ โดยแทบไม่ก่อให้เกิดการหยุดชะงักต่อธุรกิจ

องค์กรต่างๆ จะสามารถลดความซับซ้อนของระบบไอที ด้วยการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรของผู้ใช้ เช่น ระบบเดสก์ท็อป, แอพพลิเคชั่น และข้อมูล จากระบบประมวลผลที่แยกออกจากกัน ไปสู่บริการไอทีที่ได้รับการจัดการในลักษณะรวมศูนย์ ตัวอย่างเช่น VMware View 5.1 พัฒนาต่อยอดจากการเข้าซื้อกิจการ Wanova และการเปิดตัว VMware Mirage การผสานรวม VMware View และ Mirage นับเป็นการจับคู่เทคโนโลยีครั้งแรกในวงการที่จะปฏิวัติตลาดเดสก์ท็อปเวอร์ช่วลไลเซชั่น (VDI) กล่าวคือ ตลาดไม่ได้จำกัดอยู่ที่เวอร์ช่วลเดสก์ท็อปอีกต่อไป โดยประโยชน์จากการจัดการอิมเมจส่วนกลางจะสามารถขยายไปสู่ระบบไคลเอ็นต์ชนิดอื่นๆ ได้มากขึ้น เช่น เดสก์ท็อปแบบฟิสิคอล, เวอร์ช่วล และแบบเชื่อมโยง รวมถึงแลปท็อปที่เชื่อมต่อข้ามเครือข่าย (Mac และพีซี)

องค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก

องค์กรทุกขนาดมีความต้องการหลักๆ ที่ตรงกันสำหรับระบบไอทีที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง การปรับสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานทางด้านไอที และความสามารถในการตอบสนองความต้องการทางธุรกิจอย่างฉับไว

เวอร์ช่วลไลเซชั่นจะได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นในองค์กรธุรกิจเอสเอ็มอีของไทย โดยบริษัทต่างๆ มุ่งเน้นการขยายคุณประโยชน์ของเวอร์ช่วลไลเซชั่น เพื่อเพิ่มความพร้อมใช้งานของระบบไอที รวมถึงการแบ็คอัพและกู้คืนข้อมูล แม้ว่าเวอร์ช่วลไลเซชั่นจะเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญอย่างยิ่ง แต่ก็ไม่ได้เป็นจุดหมายสุดท้าย ที่จริงแล้ว เวอร์ช่วลไลเซชั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้นในการวางรากฐานใหม่ เพื่อรองรับแนวคิดและโอกาสใหม่ๆ สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ด้วยการใช้ประโยชน์จากบริการคลาวด์คอมพิวติ้ง เอสเอ็มอีจะไม่ต้องวุ่นวายกับการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบไอที เพื่อให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลและแอพพลิเคชั่นของบริษัทได้อย่างปลอดภัย

“โซลูชั่นสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีของวีเอ็มแวร์ช่วยรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับองค์กรขนาดใหญ่ โดยช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อนในการติดตั้ง ใช้งาน และคุ้มครองระบบ เหมาะสำหรับองค์กรที่มีทีมบุคลากรฝ่ายไอทีเพียงไม่กี่คน” ดร. ชวพล กล่าว

เกี่ยวกับวีเอ็มแวร์

วีเอ็มแวร์คือผู้นำในด้านโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานเวอร์ชวลไลเซชั่นและคลาวด์ ซึ่งช่วยให้องค์กรธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนในยุคสมัยของเทคโนโลยีคลาวด์ ลูกค้าไว้วางใจในเทคโนโลยีของวีเอ็มแวร์สำหรับการปรับปรุงรูปแบบการสร้าง นำเสนอ และใช้งานทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจงได้อย่างลงตัว วีเอ็มแวร์มีรายได้ 3.77 พันล้านดอลลาร์ในปี 2554 มีลูกค้ากว่า 400,000 ราย และพันธมิตรทางธุรกิจกว่า 55,000 ราย บริษัทฯ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ซิลิคอนวัลเลย์ และมีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.vmware.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

รีเบคคา วอง

ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสัมพันธ์ วีเอ็มแวร์ ภูมิภาคอาเซียน

อีเมล์: [email protected]

โทรศัพท์ +65 6501 2135

ภัทธิรา บุรี / คุณอุทัยวรรณ ชูชื่น

บริษัท พีอาร์ วัน เน็ทเวิร์ค จำกัด

อีเมล์: [email protected], [email protected]

โทรศัพท์ 0-2937-4518-9

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO