อีกทั้งรูปแบบการให้กู้ยืมนอกระบบเห็นได้ชัดว่าบางทีองค์กรของการกระทำความผิดดังกล่าวพอเป็นกระบวนการเป็นองค์กรอาชญากรรมที่มีกระบวนการสลับซับซ้อนกินพื้นที่เยอะมาก เป็นหน้าที่ของดีเอสไอ ก.ยุติธรรม ที่ต้องเข้าไปดูแล ด้วยมาตรการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มข้น มีมาตรการมารองรับในการที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดหรือเจ้าหนี้ที่ละเมิดกฎหมายได้รับผลที่สมควรกับการกระทำ มีการลงโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญาตามลักษณะความผิด และการนำมาตรการทางภาษีต่าง ๆ เข้ามาช่วย
อย่างไรการช่วยเหลือผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากปัญหาหนี้นอกระบบนั้นไม่เพียงทุกฝ่ายต้องดำเนินการตามหน้าที่อย่างเคร่งครัดและไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องแล้ว ทุกหน่วยต้องให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ของตัวเองด้วยว่าเราควรจะมีปฏิบัติการในเรื่องนี้อย่างไร ขณะเดียวกันควรให้ความรู้กับชาวบ้านทั้งด้านข้อมูลแหล่งทุนของรัฐในพื้นที่และความรู้การกู้ยืมและข้อพึงระวังทางกฎหมาย ชาวบ้านควรจะรู้เรื่องสิทธิหน้าที่ การปกป้องคุ้มครองตัวเอง เช่นการจะทำสัญญาอะไรก็ตามก็ควรรู้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร การให้ความรู้ก็เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำ ซึ่งปัจจุบันกระทรวงยุติธรรม โดยศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้ฯก็ได้ดำเนินการโดยมีวิธีการทำงานด้วยมาตรการเชิงรุกไม่รอให้เกิดปัญหาแล้วประชาชนต้องเดินทางมาร้องเรียนที่ส่วนกลาง แต่เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในพื้นที่ใดก็จะมีทีมเจ้าหน้าที่ของศูนย์ทำงานร่วมกับเจ้าที่ดีเอสไอเดินทางไปในพื้นที่ดำเนินการทั้งการตรวจสอบคดี การช่วยเหลือและการให้ความรู้ไปพร้อมกัน
ผอ.ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้ ก.ยุติธรรม กล่าวด้วยว่า โดยส่วนตัวของประชาชนเองซึ่งเชื่อว่าทุกคนไม่มีใครอยากเป็นหนี้ หนี้ในระบบก็ค่อนข้างเป็นธรรมเพราะมีกฎหมายกำหนดชัดเจน แต่หนี้นอกระบบเป็นความตกลงกันของสองฝ่ายแล้วเกิดปัญหาขึ้นมา อย่างไรก็ตามรัฐก็ต้องเข้าไปดูแล แต่ไม่ต้องการให้เป็นไปขนาดนั้น ชาวบ้านก็ควรมีวินัยทางการเงินของตัวเองและของครอบครัวเพื่อเป็นการป้องกัน การเป็นหนี้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้นเป็นช่วงที่แย่ที่สุดในชีวิต แนวทางการทำงานของศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้ฯจึงมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรมอย่างเต็มที่ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว โดยในปีนี้ ศนธ.ยธ.มีทีมที่จะเข้าไปดูแลตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งทางแพ่งทางอาญาหรือทางอื่นที่เขาต้องการ นอกจากนี้เรื่องความเป็นธรรม เรื่องหนี้นอกระบบ หรือแม้แต่เรื่องอื่น ๆ เป็นเรื่องที่มีหลายหน่วยงานเข้ามามีภารกิจมาทำงานร่วมกัน
“สิ่งที่เราคิดว่าจำเป็นมากคือเราจะต้องมีระบบการสื่อสารที่ไม่จำเป็นต้องให้ประชาชนเดินทางเข้ามา แต่เป็นภาระหน้าที่ของเราที่จะต้องติดตามว่าปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นในพื้นที่ใดเราก็มีทีมลงไปให้การช่วยเหลือได้ทันทีในพื้นที่ เราต้องออกไปในพื้นที่ต่าง ๆ ตามประชาชนกลุ่มเสี่ยง /รัฐวิสาหกิจ/โรงงาน ที่เราคิดว่าถ้าเราช่วยแล้วจะได้ผลที่จะแก้ไขได้เป็นระบบได้”
ผอ.ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้ฯ ก.ยุติธรรม ฝากว่าขอให้ประชาชนอย่าเข้าไปเกี่ยวข้องในสิ่งที่ไม่ถูกกฎหมาย อย่างกรณีหนี้นอกระบบ หากเกิดเรื่องเดือดร้อนในชีวิตค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในครอบครัว อยากให้ไปปรึกษาหารือกับหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอยู่จำนวนมากทั้งหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย ฯลฯ เพื่อที่เรามีแนวทางอย่างไรในการที่จะป้องกันไม่ให้ต้องตกอยู่ในภาวะที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ถ้าหากว่าประสบปัญหาแล้ว ก็สามารถร้องทุกข์ขอคำปรึกษาจากหน่วยงานต่างๆ ดังกล่าว ทางที่ดีที่สุดถ้ายังไม่เกิดปัญหาก็พยายามอย่าให้มีปัญหาเกิดขึ้น เราเข้าใจว่าภาวะในเรื่องรายรับรายจ่ายเป็นเรื่องที่ทุกครอบครัวประสบ แต่อะไรที่ไม่ควรจะเป็นหนี้ได้ก็อย่าเป็นเลย