เอแบคโพลล์สำรวจความคิดเห็นของสาธารณชนต่อ กรณีประสาทเขาพระวิหาร และกฎหมายปรองดอง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ

จันทร์ ๒๘ มกราคม ๒๐๑๓ ๑๓:๕๓
นางสาวปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อ กรณีประสาทเขาพระวิหารและกฎหมายปรองดอง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ชลบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ น่าน นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น กระบี่ นราธิวาส และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,016 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 22 - 26 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 7 พบว่า

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.0 ไม่เชื่อมั่นว่า ความขัดแย้งกรณีประสาทเขาพระวิหารจะจบลงด้วยดี นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.7 คิดว่ากรณีประสาทเขาพระวิหารกลายเป็นเกมทางการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 35.3 ไม่คิดว่าเป็นเกมการเมือง

ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.1 ระบุทางออกของกรณีประสาทเขาพระวิหารควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่ร้อยละ 23.9 ระบุควรนำวิถีทางการเมืองเข้ามาแก้ปัญหา

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.5 ระบุยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับคดีปราสาทเขาพระวิหารที่รัฐบาลให้ข้อมูลแก่ประชาชน แต่ที่น่าพิจารณา คือ เมื่อสอบถามถึงความต้องการของสาธารณชนต่อศาลโลกให้พิจารณาคดีประสาทเขาพระวิหารที่นำไปสู่ความสงบสุขแก่ทั้งสองประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.8 ต้องการ ในขณะที่เพียงร้อยละ 9.2 ที่ไม่ต้องการ

นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.8 ระบุ การที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และพล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา ผู้บัญชาการทหารบกได้พบปะพูดคุยร่วมงานกัน เป็นสัญญาณที่ดีต่อความรักความสามัคคีปรองดองมากกว่า ความพยายามออกกฎหมายปรองดองในรัฐสภา ในขณะที่ร้อยละ 36.2 คิดว่า การออกกฎหมายปรองดองในรัฐสภาย่อมดีกว่า

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.0 เป็นชาย ร้อยละ 51.0 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.7 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 33.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 77.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 17.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 6.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่า ปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 32.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 30.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.8 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 9.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 8.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 4.0 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ