การสัมมนา “โครงการกำหนด Positioning และการสร้างเครือข่ายพันธมิตรอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยกับ AEC และภูมิภาคอื่น ๆ ที่สำคัญ”
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญอุตสาหกรรมหนึ่งของโลก เป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตสูงที่สุดเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมสาขาอื่นๆ เนื่องจากมีแรงขับเคลื่อนทางการตลาดในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ แม้ว่าอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะเริ่มต้นเมื่อทศวรรษที่ 50 หรือหลังจากมีการกำเนิดอุตสาหกรรมยานยนต์มาแล้วกว่า 40 ปี ดังนั้นเมื่อเทียบกับอายุของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แล้วนับได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของโลกมากที่สุด ที่กล่าวเช่นนั้นได้ก็เนื่องจากอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีส่วนอย่างยิ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมสาขาหลักอื่นๆ ของโลก ดังจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ หรือ อุตสาหกรรมอื่นๆ ต่างก็ต้องมีชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประกอบอยู่ด้วย
สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นอีก จากการที่อาเซียนจะรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ทำให้อาเซียนจะมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (Single Market and Production Base) นั่นคือ สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และเงินลงทุนเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ซึ่งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีการย้ายฐานการผลิตระหว่างไทยกับอาเซียนมากขึ้น ทำให้ไทยมีการค้าขายกับอาเซียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยปัจจุบันอาเซียนเป็นตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อันดับ 1 ของไทย และไทยก็นำเข้าจากอาเซียนมาเป็นอันดับ 2 รองจากจีน ทำให้ไทยมีมูลค่าการค้ากับอาเซียนคิดเป็น 6.5 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19 ของมูลค่าการค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของไทย แทนประเทศคู่ค้าเดิม ๆ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่นแล้ว
ดังนั้นอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาการกำหนดตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ Positioning ของตนเองใหม่ในการที่ไทยจะเข้าสู่การเป็น AEC รวมถึงภูมิภาคอื่น ๆ ที่สำคัญของโลกด้วย ตลอดจนแนวทางการสร้างเครือข่ายความเป็นพันธมิตรของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยกับ AEC และภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อให้อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยมีทิศทางที่ชัดเจนว่าด้านใดที่ไทยมีความได้เปรียบในการเป็นผู้นำใน AEC/ภูมิภาคอื่น ๆ จะได้มีการดำเนินการเชิงรุกที่จะผลักดันและขับเคลื่อนอย่างเต็มที่ ส่วนด้านใดที่ไทยจะต้องป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จะได้มีการเตรียมพร้อมและเสริมสร้างให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น และส่วนใดที่จะต้องร่วมมือกันกับ AEC ในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ จะได้ดำเนินการสร้างให้เกิดความร่วมมือกันต่อไปให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง
“โครงการกำหนด Positioning และการสร้างเครือข่ายพันธมิตรอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยกับ AEC และภูมิภาคอื่น ๆ ที่สำคัญ” สัมมนาเบื้องต้นวันพุธที่ 30 มกราคม 2556เวลา 08.30 — 12.30 ณ ห้องแกรนด์ C ชั้น 4 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ โดยท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ประธานเปิดงาน , ผศ.ดร.พีระ เจริญพร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,ดร.สุธี ผู้เจริญชนะชัย รองผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และคุณอิทธิชัย ปัทมสิริวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมบรรยาย
กำหนดการสัมมนา
“โครงการกำหนด Positioning และการสร้างเครือข่ายพันธมิตร
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยกับ AEC และภูมิภาคอื่น ๆ ที่สำคัญ”
วันพุธที่ 30 มกราคม 2556 เวลา 08.30 — 12.30 น.
ณ ห้องแกรนด์ C ชั้น 4 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพฯ
08.30 น. — 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมสัมมนาและสื่อมวลชน
09.00 น. — 09.20 น. พิธีเปิดงานสัมมนาโดย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
09.20 น. - 09.50 น. การนำเสนอ “กระบวนการวิธีวิจัยและจัดทำ Positioning สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย”โดย ผศ.ดร.พีระ เจริญพร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
09.50 น. - 10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.15 น. - 12.15 น. การอภิปรายเรื่อง “กลยุทธ์การปรับตัวเข้าสู่โซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้กรอบความร่วมมือเศรษฐกิจภูมิภาค” ผู้ร่วมอภิปราย โดย
- คุณอิทธิชัย ปัทมสิริวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
- ดร.สุธี ผู้เจริญชนะชัย รองผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
- ผู้แทนจากกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและดำเนินการอภิปราย โดย ผศ.ดร.พีระ เจริญพร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
12.15 น. - 12.30 น. ถาม — ตอบ
12.30 น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน