คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) มีมติขยายเวลารับสมัครผู้คัดเลือกเป็นเลขาสพฉ.คนใหม่ พร้อมเปิดรับสมัครอีกครั้งวันที่ 11-15 ก.พ.นี้

พฤหัส ๓๑ มกราคม ๒๐๑๓ ๑๐:๓๗
ภายหลังจากที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้ประกาศรับสมัครบุคคลเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ แทนนพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล ที่หมดวาระในการดำรงตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งภายหลังจากที่ สพฉ.ได้ลงประกาศไปเมื่อวันที่20 ธันวาคม 2555 เพื่อรับสมัครผู้เข้าดำรงตำแหน่งนี้ และได้ทำการเปิดรับสมัครอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7-11 มกราคม 2556 มีผู้ที่สนใจเข้าสมัครคัดเลือก 2 คน ได้แก่ นายภวัต เลิศสุธน ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขชุมชน และอาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุดรธานี

โดยจากการประชุมของคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) เมื่อวันที่ 29 มกราคม ที่ผ่านมา ที่มี นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ได้มีมติให้ขยายเวลาการรับสมัครบุคคลเข้ารับเลือกเป็นเลขาธิการสพฉ. เพิ่มเติมอีก เพื่อให้ผู้สนใจได้รับรู้อย่างทั่วถึง โดยผู้ที่สนใจสามารถขอใบสมัครและยื่นสมัครด้วยตนเองที่กลุ่มงานนิติการ อาคารสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือสามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.emit.go.thตั้งแต่ วันที่ 11-15 ก.พ. พ.ศ.2556 ในวันและเวลาราชการ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร 02-872-1669 จากนั้นคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน หรือคณะอนุกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง จะพิจารณาผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศจากใบสมัคร และจะเชิญผู้สมัครมาแสดงวิสัยทัศน์และสัมภาษณ์ เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์เหมาะสมที่จะเป็นเลขาธิการ สพฉ.ต่อไป ในการนี้จะมีการคัดเลือกตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ. เป็นต้นไป โดยคณะอนุกรรมการคัดเลือกเลขาธิการ สพฉ. จะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกและเสนอผู้ผ่านการคัดเลือกไม่น้อยกว่า 3 คน เว้นแต่จะมีผู้สมัครไม่ถึง 3 คน ให้คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) เป็นผู้คัดเลือกผู้ใดผู้หนึ่งเป็นเลขาธิการ สพฉ.ต่อไป

ด้าน นายแพทย์ จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ หนึ่งในคณะอนุกรรมการคัดเลือกฯ กล่าวว่า คณะกรรมการคัดเลือกจะพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครทั้งหมดโดยยึดตามมาตรตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 ที่ระบุว่า ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป แต่ต้องไม่เกิน 60 ปี ไม่เป็นบุคลวิกลจริต จิตฟั่นเฟือน ไม่เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งศาลให้จำคุก หรือยึดทรัพย์จากการทุจริต ร่ำรวยผิดปกติ ยกเว้นเป็นความผิดโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ต้องไม่เป็นผู้บริหาร พนักงานของรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่มีเงินเดือนประจำ รวมทั้งต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง นักการเมือง ส.ส. ส.ว.ผู้บริหารท้องถิ่น นักการเมืองท้องถิ่น ต้องไม่เคยถูกไล่ออก ปลดจากตำแหน่งเพราะทุจริต โดยบุคคลที่จะได้รับคัดเลือกให้เข้ามาดำรงตำแหน่งเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินจะต้องมีความรอบรู้เกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉิน มีความสามารถสูงในการบริหารจัดการ การวางแผนกลยุทธ์เพื่อนำไปปรับใช้ในการพัฒนาด้านการแพทย์ฉุกเฉินต่อไป รวมทั้งต้องเป็นผู้ที่มีความเสียสละ และพร้อมอุทิศตนในการทำงานได้ตลอดเวลา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ