ในอีกแง่มุมหนึ่ง งานฟุตบอลประเพณีฯ ยังสร้างพื้นที่ให้นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาทำงานร่วมกันฉันพี่น้อง ถึงแม่ว่านิสิตนักศึกษาจากทั้งสองสะถาบันจะมีความแตกต่างกันทางความคิดหรืออุดมการณ์ แต่พวกเขาก็สามารถยอมรับซึ่งความแตกต่างของกันและกันและร่วมแรงร่วมใจทำงานเคียงข้างกันเพื่อประโยชน์อันสูงสุดร่วมกัน อีกทั้งนิสิตนักศึกษายังเป็นกระบอกเสียงที่สะท้อนความเป็นไปทางสังคม ผ่านเรื่องราวในขบวนพาเหรดสะท้อนสังคมและการแปรอักษรบนสแตนด์เชียร์ซึ่งเป็นไฮไลท์ของการบอลโดยเฉพาะ
และกิจกรรมงานบอลยังประกอบด้วยกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์อีกด้วย ซึ่งได้ทำไปในเดือนธันวาคมและเดือนมกราคม เป็นการช่วยเหลือสังคมทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานรับบริจาคเลือดที่มีชื่อว่า เลือดไม่แบ่งสี การไปเลี้ยงอาหารกลางวัน ณ บ้านเด็กอยโอกาส การพาเด็กด้อยโอกาสไปทักศนศึกษาตามที่ต่างๆ และการจัดกิจกรรมปลูกป่าด้วย
อีกทั้งยังมีการแข่งขันดวลแข้งกับฟุตบอลประเพณี ซึ่งปีที่ผ่านมา หรืองานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ครั้งที่ 68 ผู้ที่ชนะเป็นฝ่าย “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ด้วยผลการแข่งขัน 1:0 ซึ่งสามารถรักษาแชมป์ไว้ได้อีกหนึ่งครั้ง หลังจากเมื่อสองปีที่แล้วก็สามารถเอาชนะธรรมศาสตร์ไปได้ 3:1
สำหรับงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ — จุฬา ฯ ครั้งที่ 69 ในปีนี้ จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 ณ สนามศุภชลาศัย ตั้งแต่เวลา 11.30 น. เป็นต้นไป
แล้วไปพบกันในงานนะคะ