รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดศูนย์เลสิกธรรมศาสตร์นานาชาติแห่งแรกของไทย

จันทร์ ๐๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๓ ๐๙:๔๒
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดศูนย์เลสิกธรรมศาสตร์นานาชาติแห่งแรกของประเทศไทย ในการให้บริการอย่างครบวงจรและเปิดตัวเครื่องเอ็กไซเมอร์เลเซอร์รุ่นใหม่ล่าสุด WaveLight EX 500

รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศ์กิตติรักษ์ หัวหน้าสาขาจักษุ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดเผยว่า โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับวงการจักษุอย่างต่อเนื่อง และทราบถึงผู้ประสบปัญหาทางด้านสายตาสั้น, ยาว, เอียง, โรคกระจกตาเสื่อมที่มองไม่เห็นและต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับอาการเจ็บปวด รวมถึงโรคอันเกิดจากดวงตาอื่นๆ จึงได้พัฒนาศักยภาพของศูนย์เลสิกธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ให้มีความทันสมัย ให้เป็นศูนย์เลสิกนานาชาติแห่งแรกของประเทศไทย ในการให้บริการอย่างครบวงจร โดยศูนย์เลสิกแห่งนี้ สามารถรองรับผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มนิสิต นักศึกษา ในมหาวิทยาลัย หรือนักศึกษานานาชาติ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ,พนักงานและข้าราชการในส่วนงานมหาวิทยาลัยและสถาบันใกล้เคียง รวมถึงผู้ป่วยจากนิคมอุตสาหกรรมใกล้เคียง บริษัทต่างๆ และประชาชนทั่วไปที่อยู่ในโซนภาคกลาง และผู้ป่วยจากต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ขยายขอบเขตการให้บริการในการรักษาโรคตาให้ครอบคลุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในฐานะที่เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยทางการแพทย์

ด้าน อ.นพ.วรนาถ ทัตติยกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หน่วยกระจกตาและเลสิก ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า ศูนย์เลสิกธรรมศาสตร์ นอกจากจะให้บริการรักษาโรคยอดนิยม อาทิ สายตาสั้น ยาว เอียง เหมือนศูนย์เลสิกอื่น ๆ แล้ว ยังให้บริการการรักษาโรคกระจกตาเสื่อมจากสาเหตุต่างๆ ควบคู่กันไป ซึ่งโรคกระจกตาเสื่อม ถือเป็นโรคที่ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานมากในระหว่างรอคิวเปลี่ยนตา แต่หากได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์ชนิดพิเศษนี้แล้ว จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดทรมานระหว่างรอการเปลี่ยนตาได้ในภายหลัง

สำหรับผู้สนใจที่ต้องการปรึกษาปัญหาเรื่องสุขภาพตา สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์เลสิกธรรมศาสตร์ สามารถเข้าศึกษาข้อมูลได้ที่ www.lasikthammasat.com หรือโทรศัพท์ติดต่อ 02-926-9948

ด้านผศ.พญ.วิมลวรรณ ตั้งปกาศิต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหน่วยกระจกตา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า ศูนย์เลสิกธรรมศาสตร์มีจุดเด่นในเรื่องของความทันสมัย โดยเฉพาะการนำเครื่อง WaveLight EX 500 มาใช้ในการรักษาผู้ป่วย โดยเครื่องเอ็กไซเมอร์เลเซอร์นี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ที่สามารถแก้ไขสายตาได้เร็วที่สุดและแม่นยำที่สุด ใช้เวลาเพียง 1.4 วินาทีต่อ 1 Diopter ด้วยความเร็วเลเซอร์ 500 ครั้งต่อวินาที

WaveLight EX 500 ใช้นวัตกรรม การผ่าตัดที่เรียกว่า PerfectPulse Tecnology ในการควบคุมการผ่าตัด โดยใช้วิธีควบคุมเลเซอร์ที่ส่งออกมาให้มีความแม่นยำในการขัดเนื้อกระจกตา โดยใช้ระบบ high-speed eye tracking ในการติดตามการเคลื่อนไหวของดวงตาที่มีความเร็วสูง เพื่อให้ยิงเลเซอร์ไปยังตำแหน่งที่ถูกกำหนดได้อย่างแม่นยำ และมีระบบควบคุมเลเซอร์ที่ส่งออกมาให้มีพลังงานคงที่ ตลอดการรักษาเพื่อผลที่แม่นยำ จึงมีความปลอดภัยสูงตลอดการผ่าตัด

ด้าน รศ.นพ.โกศล คำพิทักษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหน่วยกระจกตา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า การทำเลสิก (LASIK) อาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดการพึ่งพาแว่นสายตา หรือคอนแทคเลนส์ ที่ปัจจุบันมีผู้นิยมมากขึ้น แต่ก่อนที่จะเข้ารับการตรวจประเมินสภาพตาโดยละเอียดเพื่อรักษาเลสิก จะต้องพิจาณา 2 ประการ สำคัญ คือ ต้องพิจารณาว่าตัวเราเองเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการรักษาเลสิกหรือไม่ และประการที่สองอวัยวะตาของเรามีสุขภาพสมบูรณ์ไม่มีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ จึงจำเป็นต้องมีการประเมินสภาพตาเพื่อทำเลสิก ดังนี้

1. ควรงดการใส่คอนแทคเลนส์ เนื่องจากคอนแทคเลนส์สัมผัสโดยตรงกับกระจกตา ซึ่งเมื่อไช้ไปนานๆ อาจทำให้รูปร่างของกระจกตาเปลี่ยนแปลงได้ และจะต้องใช้เวลาในการกลับคืนรูปร่างตามธรรมชาติ คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งจะมีผลต่อกระจกตามากกว่าคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม การวัดสายตาโดยที่ถอดคอนแทคเลนส์มาไม่นานพอ จะได้ค่าการวัดที่ไม่เที่ยงตรงในวันตรวจประเมินสภาพตา จักษุแพทย์จะแนะนำให้ท่านถอดคอนแทคเลนส์ ต่อไปอีกอย่างน้อย 2-3 วัน หรือตามความเหมาะสม และนัดท่านกลับมาตรวจสภาพกระจกตาซ้ำอีกครั้ง

2. ห้ามขับรถหรือยานพาหนะอื่น ๆ ก่อนการตรวจหรือก่อนการผ่าตัด เนื่องจากหนึ่งในขั้นตอนการตรวจประเมินสภาพตาเพื่อรักษาเลสิก จะมีการหยอดยาขยายม่านตา ซึ่งผลของยานี้จะทำให้คนไข้มีอาการมองเห็นไม่ชัดเจน ภาพเบลอ มองใกล้ลำบาก เมื่อใส่แว่นหรือคอนแท็กเลนส์ แต่อาการดังกล่าว จะมีผลเป็นเวลา 4-6 ชั่วโมง ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้คนไข้ขับรถเอง ในช่วงเวลาที่มีอาการ ขอแนะนำให้คนไข้ใช้บริการรถแท๊กซี่ หรือ หาคนขับรถให้ในวันตรวจ

3. การหยุดใช้ยาบางประเภท เช่น ยาแก้สิว Roaccutane, Acnotin หรือ Isotane ควรหยุดยาก่อนวันตรวจประเมินสภาพตา และก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 1 เดือนเต็ม เนื่องจากยาชนิดนี้ส่งผลให้เยื่อบุต่างๆ แห้งกว่าปกติ รวมถึงผิวกระจกตาด้วย

4. การใช้ยารักษาโรคประจำตัวอื่นๆ หากท่านมีการใช้ยารักษาโรคประจำตัวอื่นๆ ใดอยู่ กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบในวันตรวจ โดยเฉพาะยาไทรอยด์ และยานอนหลับ ทุกชนิด แต่ท่านยังคงใช้ยาได้ตามปกติไม่ต้องหยุดยาใดๆ ในวันตรวจ

5.สุภาพสตรีต้องไม่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ หากคลอดบุตรแล้ว ควรมีประจำเดือนมาปกติอย่างน้อย 2 ครั้งติดต่อกัน

6. แพทย์ผู้ตรวจประเมินสภาพตา จะเป็นแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดเลสิก ดังนั้นต้องการระบุแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด กรุณานัดตรวจประเมินสภาพตากับแพทย์ที่ระบุตามใบนัดหมายเท่านั้นและในกรณีวางแผนที่จะทำเลสิก (LASIK) นานเกิน 3 เดือนนับจากวันตรวจประเมินสภาพตา ท่านจะต้องเข้ารับการตรวจประเมินสภาพตาซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการตรวจซ้ำนี้ มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อท่านเอง เนื่องจากในช่วงก่อนการผ่าตัดท่านอาจมีการเปลี่ยนแปลงของสายตา หรืออาจมีโรคตาเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการตรวจซ้ำจะเป็นการยืนยันความสมบูรณ์ของสภาพตาว่าพร้อมที่เข้ารับการรักษาเลสิก

7. เวลาที่ใช้ในการตรวจประเมินสภาพตาโดยละเอียดเพื่อรักษาเลสิกใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ