‘เปิดเผย’ และ ‘เปิดกว้าง’: หลักการ CSR ยุคการพัฒนาที่ยั่งยืนฉบับ 2.0

ศุกร์ ๐๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๓ ๑๐:๕๖
สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เผยทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556 เข้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนยุค 2.0 เน้นหลักการ ‘เปิดเผย’ และ ‘เปิดกว้าง’ เพื่อตอบโจทย์ความคาดหวังของสังคมอย่างรอบด้าน

สำหรับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development ฉบับ2.0 ฉบับใหม่นี้ ได้พัฒนาขึ้น จากตัวแบบเดิมตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เพื่อลดข้อจำกัดของการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนแบบเดิม ที่ทำแบบแยกส่วน มาเป็นการเน้นให้เกิดผลของการพัฒนาที่มีความเชื่อมโยงระหว่างมิติในทุกระดับ

นายบดินทร์ อูนากูล รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกรรมการ สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) กล่าวในงานแถลง CSR & Sustainability ปี 2556 “Sustainable Development 2.0” ในวันนี้ (31 ม.ค. 2556) ว่า กระแสของการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้ผลักดันให้ทุกภาคส่วนของสังคม หันมาให้ความสนใจการพัฒนาการดำเนินงานที่คำนึงถึงมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างมีความเชื่อมโยงกัน จนกลายเป็นทิศทางหลักของโลก ที่นานาประเทศให้ความเห็นชอบร่วมกันสำหรับใช้เป็นกรอบการพัฒนาทั้งในในระดับองค์กรจนถึงระดับประเทศ

“ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญในการสร้างรากฐานสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาดทุน สังคม และประเทศ จึงได้จัดตั้งสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) เป็นสถาบันหลักในการพัฒนาความรู้และส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อสร้างคุณค่าแก่องค์กร ผู้มีส่วนได้เสียและสังคมอย่างยั่งยืน โดยในปี 2556 นี้ สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ได้กำหนดแผนงานที่สำคัญซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับหลักการ CSR ยุคการพัฒนาที่ยั่งยืน 2.0 กล่าวคือ การส่งเสริมสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนจัดทำรายงานความยั่งยืนของกิจการ (Corporate Sustainability Reporting) ซึ่งในปีที่ผ่านมา สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ได้จัดทำและเผยแพร่คู่มือแนวทางการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนตามหลักการรายงานสากล GRI (Global Reporting Initiatives) ขึ้น และในปี 2556 ได้มีแผนการจัดอบรมสัมมนาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่องทั้งปี เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนสามารถนำหลักการไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

ปัจจุบัน ผู้ลงทุนได้ให้ความสำคัญในการเลือกลงทุนในบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักธรรมาภิบาลมากขึ้น การจัดทำรายงานเปิดเผยข้อมูลตามหลัก GRI จึงทำให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้องเกี่ยวกับกลยุทธ์และการดำเนินงานของบริษัทในเรื่องดังกล่าวประกอบการตัดสินใจลงทุน อีกทั้งการจัดทำรายงานดังกล่าว ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่องค์กรต่าง ๆ สามารถใช้ประเมินตนเอง เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานได้ทราบว่ายังมีกระบวนการทำงานใดที่องค์กรต้องปรับปรุงพัฒนา เพื่อให้บริษัทสามารถบริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ และเติบโตได้อย่างยั่งยืน” นายบดินทร์กล่าว

นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมีแนวคิดในการจัดทำข้อมูลดัชนีความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET Sustainability Index หรือ SET SI) เพื่อใช้เป็นกลไกในการส่งเสริมและปรับแนวการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียน เข้าสู่ทิศทางที่เกื้อหนุนให้เกิดความยั่งยืนของกิจการและการพัฒนาที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น”

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เผยผลการศึกษาทิศทาง CSR & Sustainability ในปีนี้ว่า การขับเคลื่อนเรื่อง CSR ขององค์กรธุรกิจไทย โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนและกิจการขนาดใหญ่ จะได้รับอิทธิพลจากกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน อันเป็นผลจากการประชุม Rio+20 เมื่อกลางปีที่แล้ว ซึ่งได้มีการเสนอให้เปลี่ยนกรอบคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการคำนึงถึงเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากแบบเสาหลัก (pillars) แห่งการพัฒนา มาเป็นมิติ (dimensions) แห่งการพัฒนา นับจากปี ค.ศ. 2015 เป็นต้นไป

หลักการ CSR ของภาคธุรกิจ ที่เกื้อหนุนให้เกิดความยั่งยืนของกิจการและการพัฒนาที่ยั่งยืนยุค 2.0 ที่สำคัญ คือ การ ‘เปิดเผย’ และ ‘เปิดกว้าง’ เพื่อตอบโจทย์ความคาดหวังของสังคมในแบบ 360? คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน โดยหนึ่งในรูปธรรมที่เกิดขึ้น คือ การผลักดันภาคธุรกิจ โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนและกิจการขนาดใหญ่ ให้มีการรายงานข้อมูลความยั่งยืนของกิจการ (Corporate Sustainability Reporting)

นอกจากนี้ ภาคธุรกิจ ยังได้ริเริ่มแนวทางในการประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงชุมชนในระดับฐานราก หรือที่เรียกว่า “ธุรกิจที่ไม่ปิดกั้น” (Inclusive Business) เช่น การสร้างงานแก่คนในท้องถิ่นที่มีรายได้น้อย การมอบโอกาสให้แก่สมาชิกชุมชนในการเป็นผู้ส่งมอบ ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าปลีก ผู้ให้บริการในห่วงโซ่ธุรกิจ และการพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการตามกำลังซื้อของผู้บริโภคในระดับฐานราก ให้สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ด้านนางวรัชญา ศรีมาจันทร์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต ก.ล.ต. จึงสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนดำเนินธุรกิจภายใต้หลัก CSR เพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนตามหลักการที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ภาคเอกชนและธุรกิจอื่นต่อไป รวมทั้งเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนทั่วโลกที่ปัจจุบันมีแนวโน้มให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจภายใต้หลัก CSR มากขึ้น

“เพื่อเป็นการผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนให้ความสำคัญกับ CSR ยิ่งขึ้น ก.ล.ต. อยู่ระหว่างเตรียมออกประกาศเพื่อให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้าน CSR ไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี ส่วนบริษัทที่จะออกและเสนอขายหลักทรัพย์ใหม่ ก็ให้เปิดเผยข้อมูลไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ 69-1) โดยข้อมูลดังกล่าวจะสะท้อนว่าบริษัทมีนโยบายการดำเนินงานที่คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมแล้วหรือไม่ อย่างไร ซึ่งจะเป็นไปตามเอกสารแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (พ.ศ. 2555) ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดทำขึ้น ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลนี้จะทำให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนมากขึ้น ขณะที่บริษัทจดทะเบียนก็จะได้สอบทานตัวเองว่าได้ดำเนินการเรื่อง CSR ตรงกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรแล้วหรือไม่ โดยประกาศนี้คาดว่าจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไป” นางวรัชญา กล่าว

สำหรับรายละเอียดการประมวลแนวโน้ม CSR & Sustainability ปี 2556 สามารถศึกษาได้จากรายงาน “6 ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556: Sustainable Development 2.0” ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสถาบันไทยพัฒน์ สอบถามเพิ่มเติม 0 2930 5227 [email protected] หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.thaipat.org

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม จิวัสสา ติปยานนท์ โทร 0 - 2229 - 2604 - 5

สถาบันไทยพัฒน์ ปิยเลขา ไหล่แท้ โทร 0 - 2930 - 5227

สำนักงาน ก.ล.ต. โทรสาร 0 - 2263 - 6293

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย
๑๕:๓๘ MediaTek เปิดตัว Dimensity 8400 ชิป All Big Core รุ่นแรกสำหรับสมาร์ทโฟนพรีเมียม
๑๕:๕๔ เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย
๑๕:๒๕ สุรพงษ์ ส่งมอบความสุข ขยายเวลาให้บริการสายสีแดง ถึง ตี 2 ในคืนเคานต์ดาวน์ เป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน
๑๕:๐๗ เอ็นไอเอคัด 8 ผู้ประกอบการไทยสายการแพทย์ - สุขภาพ คว้าโอกาสบุกตลาดเยอรมนี - ยุโรป พร้อมโชว์จุดแข็งในงาน Medica 2024 ตอกย้ำไทย
๑๕:๒๖ EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AA ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
๑๕:๕๖ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ แมกซ์ โซลูชัน ส่งมอบความสุขและความอุ่นใจ ต้อนรับเทศกาลปีใหม่แก่สมาชิก Max Card ผ่าน กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
๑๕:๔๘ แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย
๑๕:๓๒ ซีเอ็มเอ็มยู มุ่งผลิตบุคลากรชั้นนำผ่านนวัตกรรมการศึกษาและงานวิจัยระดับโลก พร้อมจุดประกายภาคเศรษฐกิจ - สังคม เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้สู่ พาร์ทเนอร์การเรียนรู้