“โรคติดเชื้อยังคงคุกคามความเป็นอยู่ของประชากรทั่วโลก โรคเหล่านี้ปรากฎและแพร่กระขายอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรทั่วไป เศรษฐกิจ ความมั่นคง และการพัฒนา อย่างไรก็ดี การดำเนินงานของภาคสาธารณสุขเพียงฝ่ายเดียวไม่เพียงพอที่จะรับมือ เพราะโรคที่เกิดใหม่หรือโรคที่ระบาดซ้ำและมีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมานั้น ส่วนมากเป็นโรคที่เกิดมาจากสัตว์ ดังนั้น เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ความเป็นอยู่ของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างยิ่งยวด และจำเป็นต้องอาศัยการแก้ไขที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน สิ่งที่น่ากังวล มิได้เจาะจงเฉพาะสุขภาพมนุษย์ สัตว์และสิ่งอวดล้อม เท่านั้น หากแต่หมายถึงสุขภาพโดยรวมของทุกชีวิตและทุกสรรพสิ่งบนโลก เป็นสุขภาพโดยรวม หัวข้อของการประชุมวิชาการในวันนี้จึงเป็นเรื่องที่ทันสมัยเหมาะกับสภาวะที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน”
การประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปีจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2550 ภายใต้หัวข้อ : "Improving Access to Essential Health Technologies: Focusing on Neglected Diseases, Reaching Neglected Populations ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “ พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย” และ “รางวัลสมเด็จเจ้าๆฟ้ามหิดล” ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระดับสากล รวมทั้งช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับด้านการแพทย์และการสาธารณะสุขแห่งหนึ่งของโลก
“ การประชุมครั้งนี้เท่ากับประเทศไทยได้ทำหน้าที่เป็นเวทีระดับโลก เนื่องจากมีผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และผู้นำด้านสาธารณะสุขระดับโลกทุกภาคส่วนเข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเสนอแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายด้านสุขภาพที่สำคัญระดับโลก ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีของนักวิชาการและผู้นำด้านสาธารณสุขของไทย เพราะเนื่องจากหัวข้อ “รวมพลังต่อต้านโรคติดเชื้อ: ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือ” จัดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก และถือเป็นการรวมตัวครั้งสำคัญของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคติดเชื้อระดับโลก ทั้งนี้เพื่อร่วมผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าของวาระ “ สุขภาพหนึ่งเดียว หรือ One Health” ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช กล่าวถึงความสำคัญของการประชุม ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดการประชุมนานาชาติรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. 2556
นอกจากนี้ภายใต้หัวข้อ “ สุขภาพหนึ่งเดียว หรือ One Health” คณะกรรมการจัดงานยังได้จัดให้มีกิจกรรมพิเศษ คือ “ การประกวดศิลปกรรม” เพื่อเฟ้นหาสุดยอดเยาวชนในระดับประเทศและนานาชาติ ที่สามารถใช้จินตนาการ ประสบการณ์ ความเข้าใจ และความรู้ด้านสุขภาพแบบองค์รวม ถ่ายทอดออกมาเป็นงานศิลปะในรูปของภาพวาดและคลิปวิดีโอ โดยใช้ธีม “ One Health” ทั้งคน สัตว์ และระบบนิเวศน์ เพื่อชิงรางวัลมูลค่ากว่าหนึ่งล้านบาท ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าเด็กไทย เยาวชนไทยสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศระดับโลกมาครองได้ถึง 3 รางวัล
สำหรับโฉมหน้าเยาวชนคนเก่งของไทยประกอบด้วย เด็กหญิงพรรณพัชร คีรีเดช นักเรียนชั้น ป. 4 เจ้าของรางวัลชนะเลิศระดับโลก กลุ่มอายุ 9-13 ปี จากโรงเรียนเผยอิง “ พรรณพัชร ซึ่งมีคุณพ่อเป็นครูสอนศิลปะ ตั้งชื่อภาพของเธอชื่อว่า “ สุขภาพของฉัน” ใช้เทคนิคสีโปสเตอร์ “ หนูได้แรงบันดาลใจมาจากเรื่องของเทคโนโลยี มีคนตัวเล็ก คนตัวใหญ่ ใช้สีน้ำเงินรองพื้นเพื่อสื่อถึงการรักษา หนูชอบความสดของสีโปสเตอร์จึงเลือกใช้สีประเภทนี้” นิชานันท์ นาคไทย เจ้าของรางวัลกในกลุ่มอายุ 14-17 ปี นักเรียนชั้น ม .5 โรงเรียนสวนกุหลาบนนทบุรี ก็เลือกที่จะใช้สีโปสเตอร์เช่นกัน แต่คนละเหตุผลกับน้องพรรณพัชร นิชานันท์เขียนภาพ We the one all for one โดยได้แรงบันดาลใจมาจากการดีแบบองค์รวม “ หนูคิดว่าบ้านเราถ้าทั้งคน สัตว์ และระบบนิเวศน์ดี แบบหนึ่งเดียว เชื่อว่าจะส่งผลให้สุขภาพกายและสุขภาพใจดีตามไปด้วย” เพราะฉะนั้นภาพของเธอจึงออกแนวธรรมชาติ ใช้บ้านสื่อความหมายถึงคน มีน้ำ มีต้นไม้ สะท้อนภาพความสมบูรณ์ในระบบนิเวศน์ ส่วนเจ้าของรางวัลระดับโลก กลุ่มอายุ 18-25 ปี เกียรติศักดิ์ สุกันธา ศิลปินอิสระจากเชียงใหม่ คว้าไป “ ผมตั้งชื่อภาพว่า “ สายใยรัก” เขียนขึ้นเพื่อสื่อถึงความรักของแม่ที่มีต่อลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ใช้สีอะคริลิค เพราะต้องการให้ออกมาในโทนอบอุ่น แนวป๊อปอาร์ตจึงเหมาะสมที่สุด สุดท้ายคือรางวัลประเภทคลิปวิดีโอ นางสาวชัคคนตา เพ็งอุดม คว้ารางวัลนี้ไป “ คลิปวิดีโอของหนูมีความยาว 3 วินาที ใช้เทคนิค เครแอนนิเมชั่น สต็อปโมชั่น ผ่านการปั้นดินน้ำมันให้เป็นอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เทคนิคนี้จะช่วยให้ง่ายต่อความเข้าใจ และสามารถดูได้ทุกเพศทุกวัย เรื่องของสรีระคงเจาะลึกแบบของจริงไม่ได้ เพราะจะออกแนวหน้ากลัว เทคนิคการปั้นจึงสื่อสารได้ดีที่สุดค่ะ”
ส่วนผู้ได้รับรางวัลเจ้าฟ้ามหิดลในปีนี้ ได้แก่ Sir Michael David Rawlings และ Dr. Uche Veronica Amazigo ซึ่งได้รับเกียรติจากนาย เดวิด ร็อคกี้เฟลเลอร์ จูเนียร์ (David Rockefeller, Jr.) ประธานมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ในฐานะองค์ปาฐกของการประชุม เป็นผู้ขึ้นกล่าวชื่นชมความเป็นผู้นำด้านสาธารณสุขของประเทศไทยในระดับนานาชาติและแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับรางวัลเจ้าฟ้ามหิดลในปีนี้ รวมทั้งนำเสนอประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์อย่างยืนยาวมาเกือบร้อยปีกับประเทศไทย และในวาระการฉลองครบรอบ 100 ปีของมูลนิธิฯ ที่ยังคงรักษาอุดมการณ์ของผู้ก่อตั้ง ที่มุ่งให้มูลนิธิรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล ส่งเสริมให้มนุษย์ทั้งโลกมีคุณภาพชีวิตที่ดีแบบองค์รวม