เลขาธิการ สพฐ. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับตำบล “ภูหลวงพัฒนา จังหวัดนครราชสีมา”

อังคาร ๐๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๓ ๑๐:๑๘
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะได้เดินทางลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับตำบล “ภูหลวงพัฒนา จังหวัดนครราชสีมา”ที่โรงเรียนบ้านหลุมเงิน อำเภอปักธงชัย

ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะเดินทางลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับตำบล “ภูหลวงพัฒนา จังหวัดนครราชสีมา” ที่โรงเรียนบ้านหลุมเงิน ตำบลภูหลวง อำเภอปักธงชัย การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นการประชุมรับทราบรายงานสภาพจริงในการบริหารจัดการศึกษา และผลการดำเนินงานของเครือข่ายเรียนร่วมภูหลวงพัฒนา โดยการนำเสนอของ นายพิสิษฐ์ ชดกิ่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 และนายสราวุธ แช่มเมืองปัก ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหลุมเงิน

หลังจากฟังรายงานสรุปผลการดำเนินงานแล้ว เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะได้ประชุมหารือมอบนโยบายแก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั้ง 7 เขต ผู้บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียนในสังกัด และพบปะ ครู ผู้ปกครอง นักเรียน พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมโรงเรียนเครือข่ายเรียนร่วมภูหลวงพัฒนา ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนบ้านหลุมเงิน โรงเรียนบ้านหนองกก โรงเรียนบ้านโนนแดง โรงเรียนหนองนกเขียนสามัคคี และโรงเรียนบ้านหนองกระทุ่ม

"เครือข่ายภูหลวงพัฒนา (Phuluang Model)" คือ นวัตกรรมการบริหารจัดการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ตำบลภูหลวง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ในรูปแบบการเรียนร่วมกันเป็นเครือข่าย โดยคณะครูทั้ง 5 โรงเรียน ในตำบลดังกล่าว ซึ่งได้ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใต้ชื่อโครงการ : พัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กในตำบลภูหลวง "เครือข่ายภูหลวง (Phuluang model)" โดยใช้รูปแบบการเรียนร่วมเป็นเครือข่าย จำนวน 5 โรงเรียน ดังนี้ โรงเรียนบ้านหลุมเงิน โรงเรียนบ้านหนองกก โรงเรียนบ้านโนนแดง โรงเรียนหนองนกเขียนสามัคคี และโรงเรียนบ้านหนองกระทุ่ม

การเดินทางไปเรียนของนักเรียนในแต่ละวัน "เครือข่ายภูหลวงพัฒนา" ได้รับการสนับสนุนรถตู้จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 1 คัน สำหรับรับ-ส่งนักเรียน และรถตู้จากการสนับสนุนของมูลนิธิโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติผ่านดาวเทียมอีก จำนวน 1 คัน รวมมีพาหนะในการดำเนินการตามโครงการดังกล่าวทั้งสิ้น จำนวน 2 คัน และใช้รถตู้ดังกล่าวรับ-ส่งนักเรียนไปเรียนยังศูนย์การเรียนทั้ง 5 แห่ง ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ ภาคเช้าเริ่มตั้งแต่เวลา 06.30 น. ใช้เวลารับส่งรวม 1 ชั่วโมง 40 นาที และได้รับการสนับสนุนพนักงานขับรถตู้โดยสารเพื่อรับ-ส่งนักเรียน จำนวน 1 คน และสนับสนุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิงจาก อบต.ภูหลวง

ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง 5 โรงเรียนได้ดำเนินการร่วมกันในทุกด้าน ได้แก่ การใช้หลักสูตรเดียวกัน การจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนรูปแบบเดียวกันและร่วมกันจัดกิจกรรมวิชาการ นอกจากนี้ทั้ง 5 โรงเรียนพัฒนาครูร่วมกัน เช่น การอบรมครู การไปศึกษาดูงาน การประชุมวิชาการร่วมกันเดือนละ 2 ครั้ง การร่วมกันบริหารงานสนับสนุนอื่นๆ ร่วมกันทั้งงานวิชาการ งานบริหารบุคคล งานบริหารงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป

"ภูหลวงโมเดล" จึงเป็นต้นแบบ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครอง นักเรียน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในตำบลภูหลวง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ในการแก้ไขปัญหาการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำรูปแบบดังกล่าวไปใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับตำบลให้กับโรงเรียนในแต่ละตำบลทั่วประเทศได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ