ผศ.ดร.พัชรี กล่าวว่า ในการประชุมทางวิชาการครั้งนี้ ผู้ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยจากประเทศต่างๆ ที่มีการเรียนการสอนด้านการศึกษาพิเศษ ยังได้หารือกันถึงเรื่องการสอนเขียนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการสอนเขียน อาทิ ปัจจัยด้านภาษา ได้แก่ ความเข้าใจภาษา การสะกดคำ ลายมือ ไวยากรณ์และรูปประโยค ในส่วนปัจจัยของตัวเด็ก ได้แก่ การกำกับตนเอง การบริหารจัดการเวลา แรงจูงใจ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับภาษา การเรียนรู้คำศัพท์ และความคล่องแคล่ว ปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลยุทธ์ แต่ปัจจุบันสัดส่วนของการสอนเขียนในด้านเนื้อหา กระบวนการ และด้านไวยากรณ์ยังไม่สมดุล ประการสำคัญ ประสิทธิภาพของการสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนมีเพียงร้อยละ 14 สะท้อนให้เห็นว่านักเรียนยังไม่สามารถนำสิ่งที่เรียนไปใช้ในการเขียนได้ ดังนั้น ในการสอนเขียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเขียน และต้องเพิ่มเรื่องการนิเทศครูที่สอนการเขียนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
- พ.ย. ๒๕๖๗ มรภ.สงขลา อบรมให้บริการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
- พ.ย. ๓๓๙๑ สถานทูตอเมริกา ดูงานการศึกษาพิเศษ มรภ.สงขลา เตรียมผนึกความร่วมมือจัดอบรม ครู ร.ร. กลุ่มภาคใต้
- พ.ย. ๒๕๖๗ มรภ.สงขลา คว้ารางวัลบทความระดับดีมาก สัมมนาด้านคนพิการ ทำวิจัยแนวทางจัดการศึกษานอกระบบ ร.ร. สำหรับเด็กหูหนวก