ก.ไอซีที เดินหน้าเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ ในพื้นที่เสี่ยงภัย

พุธ ๐๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๓ ๑๘:๐๖
นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยในการเป็นประธานพิธีเปิดโครงการ “สร้างองค์ความรู้ด้านระบบเตือนภัยพิบัติของพื้นที่เสี่ยงภัยและสร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชนเพื่อป้องกันและบรรเทาภัย ประจำปี 2556” ณ ตำบลคลองยัน อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี ว่า กระทรวงไอซีที โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ถือว่าเป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ในการ แจ้งเตือนภัย กระจายข่าวความรุนแรงของภัยพิบัติ และการสิ้นสุดของภัยพิบัติผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งมีหน้าที่ให้ องค์ความรู้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน ให้เข้าใจในภัยพิบัติแต่ละชนิดตลอดจนแนวทางการลดการสูญเสีย การหนีภัย การเลี่ยงภัย การป้องกัน และการบรรเทาภัย เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยสามารถเตรียมพร้อมอพยพหลบภัย และช่วยเหลือตัวเองและชุมชนได้ทันท่วงที จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยพิบัติและระบบการเตือนภัย ของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติเพื่อจะได้เป็นแนวทางในการช่วยเหลือประชาชนต่อไป อีกทั้งให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้มีความรู้ ความเข้าใจถึงระบบการแจ้งเตือนภัย เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้มีเวลาเตรียม ความพร้อมเมื่อเผชิญกับภัยพิบัติและช่วยเหลือตัวเองและชุมชนได้

นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านระบบการเตือนภัย การลดความเสี่ยงภัย และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันภัย การปฏิบัติตนเมื่อเกิดภัยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยงภัย และให้ประชาชนเป็นเครือข่ายในการช่วยดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติได้ติดตั้งไว้ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยตามแนว 25 ลุ่มน้ำที่ประสบภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำท่วม น้ำหลาก และดินโคลนถล่มเป็นประจำแทบทุกปี อาทิ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย อำเภอละงู จังหวัดสตูล อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น และอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น ซึ่งโครงการนี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย มีความเข้าใจในระบบการแจ้งเตือนภัยของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โดยเฉพาะการแจ้งผ่านหอเตือนภัย หอกระจายข่าว เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม สถานีถ่ายทอดสัญญาณเตือนภัย เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยในท้องที่ เพื่อสามารถเฝ้าระวัง ป้องกัน ตลอดจนเตรียมการในการอพยพหลบภัย ได้อย่างถูกวิธีและเป็นมาตรฐาน

“พร้อมกันนั้นยังได้มีการฝึกซ้อมปฏิบัติด้านการเตือนภัยและการสื่อสาร ภายใต้โครงการ “ฝึกซ้อมการปฏิบัติด้านการเตือนภัยและการสื่อสารเพื่อเตรียมความพร้อม ประจำปี 2556” โดยเริ่มจากการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมในการฝึกซ้อมให้แก่แกนนำ กรรมการหมู่บ้าน มูลนิธิ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ขณะเดียวกันให้จัดตั้งศูนย์บัญชาการ และจัดเตรียมระบบในการติดต่อสื่อสารระหว่างศูนย์บัญชาการในแต่ละระดับ เพื่อแจ้งภัย การจัดการกับภัยพิบัติ การบรรเทาภัย และการอพยพ หลบภัย หลังจากนั้นจึงดำเนินการฝึกซ้อมเพื่อให้เป็นไปตามแผนเตรียมความพร้อมในการเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งภายหลังการฝึกซ้อมเสร็จแล้วยังจัดให้มีการสรุปผลและประเมินผลโครงการอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนภาคประชาชนให้เข้าใจถึงระบบการเตือนภัย บทบาท หน้าที่ ภารกิจ และสามารถใช้ระบบเครือข่ายสื่อสารหลักและสำรองได้ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ เพื่อลดการเสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติ” นายสมบูรณ์กล่าว

ติดต่อ:

PR.MICT 02-141-6747

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ