บทบาทของแรงงานวิชาชีพ ที่เปลี่ยนแปลงไปในอาเซียน

พฤหัส ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๓ ๑๔:๔๖
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา หรือ ITD ร่วมกับศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะแนวทางการปรับตัวเพื่อรองรับข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ของตลาดแรงงานวิชาชีพต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปใน เขตการค้าเสรีอาเซียน

ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ รองผู้อำนวยการวิชาการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา หรือ ITD เปิดเผยว่า กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะมีการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ได้มีการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangement : MRA) เพื่อรองรับคุณสมบัติแรงงาน ให้สามารถขอขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอาเซียนได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามใน MRA ไปแล้ว 7 วิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บริการบัญชี และการสำรวจ รวมทั้งอีก 1 วิชาชีพ คือ การบริการการท่องเที่ยว นับว่าเป็นการอำนวยความสะดวกในการให้บริการวิชาชีพข้ามพรมแดนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยจะต้องมีการขึ้นทะเบียนวิชาชีพ เพื่อรับรองคุณสมบัติวิชาชีพ อาจต้องมี การทดสอบ ตามมาตรฐานที่แต่ละประเทศกำหนด นอกจากนี้แล้ว ต้องได้รับใบอนุญาตทำงาน จากประเทศที่เข้าไปทำงาน และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของประเทศนั้นๆด้วย ในกรณีของประเทศไทย มีการกำหนดข้อตกลงว่า จะต้องมีประสบการณ์ ไม่ใช่ผู้ที่จบการศึกษาใหม่ เช่น พยาบาลต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 3 ปี แพทย์ ต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี เป็นต้น

“ การจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) นอกจากจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการให้บริการวิชาชีพข้ามพรมแดนระหว่างประเทศแล้ว ทางสถาบันฯ ยังเห็นว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อการจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาค ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และข้อตกลงนี้ยังได้ครอบคลุมถึงคุณภาพการศึกษาของไทย ซึ่งเงื่อนไขการจ้างงานแรงงานต่างชาติ ชี้ให้เห็นว่า ควรแก้ไขจุดอ่อนของแรงงานไทย โดยเฉพาะในเรื่องภาษาอังกฤษและทักษะด้านไอที รวมทั้งคุณลักษณะต่างๆ ที่ภาคธุรกิจต้องการ เช่น มีระเบียบ วินัย มีมนุษยสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม และความทุ่มเทให้กับงาน หากแรงงานไทย มีความพร้อมและสามารถปรับตัวตามเงื่อนไขข้อตกลงต่างๆได้ ย่อมเพิ่มโอกาสและจุดแข็งให้แก่แรงงานไทย ” ดร. วัชรัศมิ์ กล่าว

แม้ว่าการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) จะช่วยผลักดันแรงงานไทยสู่ตลาดแรงงานอาเซียน และเปิดโอกาสให้แรงงานไทยระดับบน แข่งขันได้ในอาเซียน เพื่อนำรายได้เข้าประเทศได้นั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ไม่วาจะเป็น ความพร้อม ในการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงาน ของสมาชิกอาเซียน บางประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดแคลนแรงงานวิชาชีพในสาขาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ หรือปัญหาการเข้ามาแย่งงานแรงงานภายในประเทศของแรงงานต่างชาติ รวมไปถึงเรื่องของความมีสมรรถนะ ความสามารถในการปรับตัว ความยืดหยุ่นในการทำงาน เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ จึงจะจัดว่าเป็นผู้ที่มีความพร้อมต่อ การเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

ดังนั้นสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) จึงได้ร่วมกับศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานสัมมนาเรื่อง “ 7+1 วิชาชีพก้าวไกลนำพาไทยสู่ AEC ” ขึ้น เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ เกี่ยวกับข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ใน 7 วิชาชีพหลัก และกรอบข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ในสาขาการบริการการท่องเที่ยว รวมถึงโอกาสและอุปสรรค์ ตลอดจนแนวทางการปรับตัวของผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมแนะแนวทาง ข้อดี ข้อเสีย และการเตรียมความพร้อมรับการเปิดเสรีแรงงานวิชาชีพในกลุ่มประเทศอาเซียน

ติดต่อ:

ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ โทร. 0-2956-5276-7

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ