อุเทนเดือด ตอบโต้จุฬาๆกรณีข้อพิพาทที่ดินทำเลทองคำ พร้อมโชว์หลักฐานสมัย ร.๖

จันทร์ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๓ ๐๙:๔๓
อาจารย์ สมศักดิ์ รัตนเชาว์ ประธานคณะกรรมการพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินอุเทนถวาย แต่งตั้งตามคำสั่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ขอชี้แจงกรณีข้อพิพาทที่ดินระหว่างสถาบันกับจุฬาๆ

เดิมทีโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายได้ก่อกำเนิดขึ้นตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๖ เพื่อผลิตนักเรียนช่างก่อสร้างของคนไทยขึ้นเองเป็นครั้งแรกเรียกว่า นักเรียนเพาะช่างก่อสร้างในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปี พ.ศ.๒๔๖๖ บนพื้นที่กว่า๑,๒๐๐ไร่ ของพระองค์เอง ณ เชิงสะพานอุเทนถวาย แต่โรงเรียนๆได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่๒๙ ตุลาคม ปี พ.ศ.๒๔๗๕ ขณะนั้นได้เริ่มผลิตนักเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย กว่า ๒,๐๐๐คน ในปี พ.ศ.๒๔๘๒ จนกระทั่ง จุฬาๆ เพิ่งจะได้ครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยตราเป็น พ.ร.บ.จุฬาๆพ.ศ.๒๔๘๒ ในสมัยของรัฐบาลหลวงพิบูลสงครามและยังดำรงตำแหน่งอธิการบดีของจุฬาๆในขณะนั้นด้วย ฉะนั้นการที่จุฬาๆได้อ้างถึงสัญญาอุเทนถวายเช่าที่จุฬาๆ บนพื้นที่ ๒๐ไร่ ๓ งาน ๒๙ ตารางวา ในปีพ.ศ.๒๔๗๘ นั้น ทางวิทยาเขตอุเทนถวายยังไม่เคยเห็นสัญญาหลักที่ทำขึ้นระหว่างทั้งสองฝ่ายในปีพ.ศ.๒๔๗๘ เลย และโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายก็ไม่เคยเสียค่าเช่าที่ดินให้แก่หน่วยงานไหนมาก่อนเนื่องจากเป็นโครงการในพระราชดำริ แม้กระทั่งพระคลังข้างที่ ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิมก็ตาม เอกสารจึงขัดแย้งกันเองเพราะในปีดังกล่าวจุฬาๆ ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินแต่อย่างใด เช่นเดียวกับสนามกีฬาแห่งชาติที่จุฬาๆได้อ้างถึงสัญญาเช่าที่กับจุฬาๆ ในปีพ.ศ.๒๔๗๘ เช่นกัน

๔๓ ปีต่อมา จุฬาฯ ได้เริ่มเจรจาอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมด มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๙ และนำพ.ร.บ.โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินๆพ.ศ.๒๔๘๒ มายืนยัน โดยเป็นผู้กำหนดให้โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ต้องเซ็นสัญญาเช่าที่ดินกับจุฬาๆเป็นฉบับแรก ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ และกระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งเปลี่ยนสถานะ จากโรงเรียนมัธยมสายวิชาชีพช่าง เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาในปีเดียวกัน พร้อมกับได้ยกเลิกแผนกรับเหมาก่อสร้างอาคารราชการของโรงเรียนช่างก่อสร้างที่ได้สร้างคุณูปการ มากว่า ๔๐ปี เพื่อก่อสร้างอาคารราชการจำนวนมากในราคาที่ถูกกว่าต่างชาติ และยังใช้เป็นสถานที่ฝึกงานของนักเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายอีกด้วย พร้อมกับมีคำสั่ง ยุบหลักสูตรและ งดรับนักศึกษาลงอย่างต่อเนื่อง งบประมาณเริ่มถูกตัดลง สาเหตุเนื่องจากหมดสัญญาเช่าที่ดิน ต้องเตรียมตัวย้ายออกจากพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานช่างเทคนิคก่อสร้างอย่างรุนแรงอยู่ในขณะนี้

๓๘ ปี ต่อมา ในปี ๒๕๔๗ รักษาการผู้อำนวยการวิทยาเขตอุเทนถวาย จึงมีการทำบันทึกข้อตกลง ฉบับลงวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๗ ตกลงย้ายและส่งมอบพื้นที่คืนให้กับจุฬาฯภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๘เป็นการทำสัญญาของจุฬาๆฝ่ายเดียว โดยอ้างสัญญาเช่าที่ดินที่ทำขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ดังนั้นสัญญาถือเป็นโมฆะ ส่งผลให้เกิดการรวมตัวกันของ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และ ครูอาจารย์ เพื่อเป็นการประท้วงคำสั่งอันมิชอบ เป็นครั้งแรก ที่หน้ากระทรวงศึกษาธิการ จุฬาๆพยายามอ้างเหตุผลความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้ที่ดินผืนนี้เพื่อสร้างหน่วยงานเอกชนหลายหน่วยงาน และได้พยายามเสนอที่ดินผืนใหม่เช่น ต.บางปลา อ.บางพลี.จ.สมุทรปราการ เพื่อให้ย้ายออกอย่างรวดเร็ว โดยเสนองบประมาณที่มาจากหน่วยงานเอกชน แต่ทางวิทยาเขตอุเทนถวายมิได้ตอบสนองต่อข้อเสนอของจุฬาๆแต่อย่างใด

จนในปี พ.ศ.๒๕๕๐ จุฬาๆจึงได้นำเรื่องเข้า คณะกรรมการเพื่อพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กยพ.) คณะกรรมการๆได้ตัดสินให้จุฬาๆชนะคดีโดยทางฝ่ายประชาคมอุเทนถวายไม่ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงหลักฐานของทางวิทยาเขตอุเทนถวายเลย ดังนั้นทางอุเทนถวายมิอาจยอมรับคำตัดสินของคณะกรรมการๆดังกล่าวได้เพราะมิใช่ศาล และต้องการให้พิจารณาผ่านศาลปกครองสูงสุดที่ทำหน้าที่ข้อพิพาทได้ยุติธรรมกว่า

ส่วนการทูลเกล้าถวายฏีกาของวิทยาเขตอุเทนถวาย ๒ครั้งโดยครั้งแรกผ่าน นายกสโมสรนักศึกษาอุเทนถวายและครั้งที่๒ยื่นผ่านประธานคณะกรรมการพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินอุเทนถวายนั้น สรุปว่า สำนักราชเลขาธิการ มิได้นำขึ้นทูลเกล้าถวายฏีกาแต่อย่างใด ทำให้หลักฐานที่แสดงความเป็นโครงการพระราชดำริ ถูกตีกลับ และแจ้งยืนยันตามผลชี้ขาดของคณะกรรมการๆ กยพ. ส่วนการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ.๒๕๕๓ เรื่องนี้เป็นเพียงการเสนอแจ้งให้คณะรัฐมนตรี รับทราบเท่านั้น

จากเหตุการณ์ทั้งหมดส่งผลให้คณะศิษย์เก่าศิษย์ปัจจุบันได้นัดรวมตัวกันในวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖เพื่อแสดงพลังผลกระทบของการไล่ที่นั้นไม่ได้ส่งผลกับอุเทนถวายเพียงแห่งเดียว แต่รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนนับร้อยนับพันแห่งในอาณาเขตขนาด ๑,๒๐๐ไร่ แห่งนี้ การครอบครองสิทธิ์เพียงหน่วยงานเดียว เมื่อระบบทุนนิยมเชิงพาณิชย์แทรกซึมเข้าสู่ระบบการศึกษาแล้วก็ขอไว้อาลัยแด่ความสงบสุขที่เป็นไปได้ยาก

ติดต่อ:

ฝ่ายประชาสัมพันธ์วิทยาเขตอุเทนถวาย 02-2527029 fax 02-252-7580

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ